กระทรวงพลังงาน โดยสำนักนโยบายและแผนพลังงานร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทยเดินหน้าพัฒนาโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart – Cities Clean Energy) และได้ทำการคัดเลือก 7 แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพร้อมเผยโฉมโมเดลและรายละเอียดของทั้ง 7 โครงการในงาน Smart – Cities Clean Energy@6th TGBI Expo 2017 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนเข้าร่วมโครงการออกแบบและพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบและโครงสร้างของเมือง ทั้งนี้มีทั้งหมด 7 โครงการที่ผ่านการพิจรณาจากคณะกรรมการฯ ได้แก่ โครงการ นิด้า: มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, มช.(เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน, ขอนแก่น Smart City (ระยะที่1): ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง, และโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง โดยรายละเอียดที่จะนำมาจัดแสดงประกอบไปด้วย ผังการใช้พื้นที่ แผนผังโครงการ การจัดวางอาคาร และแผ่นผังต่าง ๆ เช่น อาคารภูมิสถาปัตย์ ระบบสาธารณูปโภค ระบบผลิต ส่ง และจ่ายพลังงาน ระบบเครื่องกล และไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบกักเก็บน้ำฝน ระบบอัจฉริยะ เป็นต้น
โดยทั้ง 7 โครงการจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปเริ่มจาก โครงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต: ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้ทำการปรับปรุงผังแม่บท ศูนย์รังสิตระยะยาว พ.ศ. 2577 (ธรรมศาสตร์ 100ปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพด้านการขาดศูนย์กลางชุมชม และการสื่ออัตลักษณ์ของธรรมศาสตร์ พร้อมกับเตรียมปรับระบบพื้นที่ทั้งหมดให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบันจนถึงในอนาคต ผู้บรหารและประชาคมธรรมศาสตร์จึงมีแนวคิดในการสร้างศูนย์รังสิตให้เป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนเพื่อรับใช้ประชาชนและผู้อยู่มีความสุข” โดยมี 5 แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ได้แก่การเป็นศูนย์ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยแห่งความสุข ศูนย์กลางบ่มเพาะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งเน้นไปที่การปรับโครงหลักให้เหมาะสม โดยแบ่งเป็นพื้นที่สัญจร พื้นที่เปิดโล่งสีเขียว แกนเอกลักษณ์ จุดรวมกิจกรรม และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็น “เมืองธรรมศาตร์” ที่เชื่อมโยง 3 องค์ประกอบเข้าด้วยกันอันได้แก่ ศูนย์ธรรมศาตร์บริการที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์และได้รับการปรับให้เป็น “ศูนย์ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” มีการใช้งานที่เอื้อต่อประชาชนอย่างเต็มที่ทั้งบริการรักษาพยาบาล ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และร้านค้าต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยที่คลอบคลุมพื้นที่ส่วนการศึกษาและส่วนพักอาศัยตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการปรับให้มีการใช้งานที่ครบถ้วน สะดวกสะบบาย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะกับสภาพการเดินเท้า จักรยานและระบบขนส่งมวลชน ก่อให้เกิดเป็ฯ “ศูนย์รวม” ทั้งด้านกิจกรรม การแลกแปลี่ยน เรียนรู้ และการสร้างสุนทรียภาพในการใช้ชีวิต รวมทั้งส่งเสริมการใข้ตลาดวิชาและถนนยูงทองเพื่อสร้างการเชื่อมโยงทางกายภาพกับสถาบันเพื่อนบ้านอย่าง สวทช. และ A.I.T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิด “ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัย” อย่างแท้จริง และสุดท้ายคือสวนธรรมศาสตร์สาธารณะ ซึ่งองค์ประกอบของทั้งศูนย์บริการประชาชนและพื้นที่การเรียนรู้จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย “สวนธรรมศาสตร์สาธารณะ” ได้แก่ พื้นที่นันทนาการ กีฬา และวัฒนธรรม และพื้นที่ส่วนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ โดยยึดแนวทางการจัดการพื้นที่เสียวภายในศูนย์รังสิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดเป็นโครงข่ายสีเขียว (Green Network) ที่เชื่อมโยงคนทุกกลุ่มและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล
นิด้า: มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
NIDA หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐที่เปิดสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา และ NIDA มุ่งเน้นที่จะเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะในพื้นที่เพียง 44 ไร่ จึงได้สร้าง “Smart Compact City” ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป เช่น Smart Energy ชาวนิด้าใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ส่งเข้า Smart Grid ที่มีระบบแบตเตอร์รี่ช่วยหล่อเลี้ยง และระบบจัดการพลังงานอัตโนมัติและการใช้พลังงานธรรมชาติที่ช่วยลดการปล่อย CO2 ลงได้กว่า 66% Smart Mobility นิด้ามุ่งหมายที่จะสร้าง Intermodal Transportation Hub โดยการเชื่อมโยงทางเดินเท้า ทางจักรยาน และรถไฟฟ้าในอนาคต นอกจากนี้ยังมีรถ Shuttle Bus พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งมีระบบสื่อสารระยะไกล พลังงานต่ำหรือ LoRa-Wan เชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะเข้าสู่ Data Analytic Center เพื่อประมวลผลข้อมูลสำหรับการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองในทุกมิติ ต่อมาจะเป็น Smart Community จะมีข้อความส่งไปยัง Wrist Band ส่วนตัวของชาวนิด้าเพื่อตรวจสอบกิจกรรมที่ต้องทำ สถานะสุขภาพ และการนัดหมายแพทย์ผ่าน Smart Device อีกทั้งยังมี Smart Board ที่ Sky Bridge ตามจุดสำคัญต่าง ๆ เป็นการรายงานข้อมูลวิชาการให้กับชาวนิด้า หลังพัฒนา Smart Campus จะมี Smart Environment ที่ก่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวเพิ่มอีก 7% ขยะจะถูก Recycle เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ให้ต้นไม้และนำไปทำเป็น Bio Gas และขยะจะลดลงเรื่อย ๆ ภายในระยะเวลา 3 – 5 ปี และ Smart Building นอกจากอาคารเขียวของ TREES แล้วนิด้าจะมี Net Zero Energy Building อีก 8 อาคารรวมอาคารหอประชุมด้วยเช่นกัน ยังมีส่วนของ Smart Governance ที่นอกจากจะแสดงอัตราการใช้พลังงานจาก Smart Control System แล้ว ยังทราบข้อมูลปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์และสถิติต่าง ๆ ของสถาบันผ่าน Smart Dashboard ซึ่งให้ความสำคัญต่อ Open Data ผู้ที่มีส่วนร่วมจะได้เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างสะดวก สุดท้ายนี้คือ Smart Innovation นิด้าจะพัฒนา Machine Learning และ Big Data Analytics เพื่อร่วมสนับสนุนในการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการอัจฉริยะต่าง ๆ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงสรุปได้ว่า NIDA Smart Compact City สามารถเป็นต้นแบบเมืองแห่งอนาคตเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน
เมืองจุฬาอัจฉริยะ
พื้นที่แห่งนี้อยู่ติดกับสถาบันการศึกษาด้วยขนาดพื้นที่ 291 ไร่ จากที่ดินทั้งหมด 1,153 ไร่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีบริเวณสวนหลวง-สามย่านที่จะกลายเป็นพื้นที่ตัวอย่างของ “เมืองอัจฉริยะ” ในบริบทของพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองหลวงที่จะส่งผลทางด้านบวกต่อคนเป็นจำนวนมากในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งในทุกมิติอัจฉริยะของการจัดการพลังงาน การสัญจร ชุมชน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ อาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการเมืองและการสร้างนวัตกรรมเมือง นอกจากนี้ “เมืองจุฬาอัจฉริยะ” ยังมีบทบาทในการชี้นำ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคม ที่สำคัญคือที่นี่ยังเป็นเมืองอัจฉริยะในเขตพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีนโยบายการพัฒนาและบริหารจัดการควบคู่ไปกับสถาบันการศึกษาอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้พลวัตของการถ่ายทอดความู้เชิงวิชาการสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคมผ่านการพัฒนาพื้นที่เป็นไปได้อย่างมั่นคง แน่นอน และเป็นรูปธรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด
เมืองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมสูง มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่สีเขียวมากกว่ามาตราฐานกำหนด จึงมีวัตถุประสงค์หลักในการลดผลกระทบและลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมต่อเมืองข้างเคียง และมุ่งเน้นการเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะพลังงานสะอาดให้กับเมืองข้างเคียง ทั้งนี้เมืองมหาวิทยาลัยแบ่งภาพรวมของโครงการออกเป็นส่วน ได้แก่ ภาพรวมประโยชน์ทางพลังงาน ภาพรงมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ภาพรวมผลประโยชน์ต่อชุมชน โดยที่เมืองสามารถสร้างผลประโยชน์ทางพลังงานสุทธิได้จากการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์และชีวมวลได้ถึงร้อยละของปริมาณการใช้พลังงานของเมือง เนที่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมสงผลต่อชุมชนทั้งในเมือง หมู่บ้าน และชุมชนข้างเคียงที่จะได้รับประโยชน์จากการพื้นที่สีเขียว และมีความสะดวกสบายในการสัญจรเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังส่งผลในทางเศรษฐศาสตร์โดยการลดต้นทุนในการใช้พลังงาน โดยเฉพาะไฟฟ้าของเมืองโดยรวมซึ่งทำให้มีปริมาณของไฟฟ้า (Electricity Supply) เพิ่มมากขึ้น ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี่ที่สนับสนุนเมืองอัจฉริยะยังเป็นการสร้างนวัตกรรมและสามารถส่งต่อองค์ความรู้สู่ภาคธุรกิจ (Knowledge Transfer) โดยรอบได้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มการลงทุนและสร้างรายได้ในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ของเมืองโดยรอบ
ขอนแก่น Smart City (ระยะที่1) ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง
จังหวัดของแก่นถูกกำหนดให้เป็นเมืองสำคัญและเป็นเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในด้านการศึกษา การค้าและบริการ การเงิน การแพทย์อุตสาหกรรม คมนาคม และโลจิสติกส์ นอกจากนี้เมืองขอนแก่นยังมีศักยภาพด้านการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามระเบียบเศรษฐกิจ (EWEC) เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง 5 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ลาว ไทย และพม่า โดยมีจังหวัดขอนแก่นเป็นจุดผ่านสำคัญของโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงนานาประเทศดังกล่าวซึ่งจะเป็นการเข้าถึงตลาดต่างประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและการบริการของไทย ปัจจุบันนี้เมืองขอนแก่นได้กำหนดให้เป็น MICE CITY ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนสภาพคล่องมากขึ้น ด้วยเศรษฐกิจและรายได้ของชาวเมืองขอนแก่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พื้นที่เมืองขอนแก่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน อาทิ ปัญหาจราจร ปัญหาการจัดการขยะ การลดลงของพื้นที่สีเขียว เป็นต้น ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีการบริหารเชิงพื้นที่และบริหารการจัดรูปแบบของความเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Smart City) ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่นมีองค์ประกอบแห่งความสำเร็จหลายประการที่สามารถนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์มานำร่งปรับใช้กับเมืองได้ ในการพัฒนาเมืองสู่สากลสร้างสังคมแห่งความสุขได้นั้นทางเทศบาลนครขอนแก่นกับบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จึงเกิดเป็นแนวคิดพัฒนาแบบโครงข่ายระบบสาธารณะ 5 เส้นทาง Mobility Drives City เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา TOD และการฟื้นฟูย่านใจกลางเมืองปัจจุบัน CBD สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นของเมืองขอนแก่น Smart City (ระยะที่1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ระบบบางเบาสายเหนือ-ใต้ ต้นแบบมรเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่นพร้อมกับพัฒนาโครงการสร้างเมืองและการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อการสร้างโครงสร้างเมืองอย่างทันสมัยและยั่งยืน
เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง
เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง ออกแบบเป็นเมืองใหม่ในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ว่างเปล่าซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ ดังนั้นวิศัยทรรศที่สำคัญของเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉางก็คือการเตรียมเมืองให้ดีพร้อมอย่างชาญฉลาดสำหรับการปลี่ยนแปลงความต้องการของพลเมือง สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ และนำเอาเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ในการทำงานร่วมกันกับชุมชน พลเมือง และผู้มาเยือน ให้ดีที่สุดในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ การเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะบ้างฉาง อีกทั้งยังมีการผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจากระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมและติดตั้งระบบการจัดเก็ยพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid Solar-Wind Power with battery system) ลดการใช้พลังงานให้ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้มีอาคารสมดุลพลังงาน (Net Zero Energy Building) และบริการรถไฟฟ้าสาธารณะให้กับคนทุกกลุ่ม พร้อมทั้งมี Free Wifi ความเร็วสูงให้ใช้ในย่านธุรกิจและท่องเที่ยวในเมือง และควบคุมการจราจรด้วยนวัตกรรม OCR: Optical Character Recognition ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเมืองได้อีกด้วย นอกจากนี้เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉางจะมีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกอบรมวิชาชีพตามอัธยาศัย และการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย Social Network, Application, และ Web Portal การออกแบบและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษาระบบนิเวศให้สมดุลกับการดำรงอยู่ของเมืองให้เป็นเมืองหใม่เชิงนิเทศ (eco new town) อีกทั้งยังมีถังขยะอัจฉริยะที่เก็บข้อมูลปริมาณขยะและความถี่ในการรวบรวมขยะ และใช้เทคโนโลยีการจัดการและเก็บกลับคืนทรัพยากรจากแหล่งธุรกิจ และที่พักอาศัย ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของเมืองใหม่อัจฉริยะคือจะเนเมืองที่ดีพร้อมได้แก่คุณภาพของพลเมืองที่มีคุณธรรมการศึกษาและมีความรุ้ มีวัฒนธรรมอันดีงาม
วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน
Whizdom101 New Community Hub of Bangkok เป็นโครงการ Mixused project ที่พัฒนาอยู่บนเนื้อที่ 43 ไร่ โดยมีความประสงค์ที่จะพัฒนาโครงการให้เป็นมากกว่าสิ่งปลูกสร้างเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง Mixed-use Urban Neighborhood ภายใต้แนวความคิด “The Great Good Place” ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และที่ทำกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ทั้งนี้โครงการ Whitzdom101 มีพื้นที่สีเขียวในโครงการ 30% ของที่ดินทั้งหมด โดยมุ่งหวังจะคืนพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน ซึ่งจะจัดเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับบุคคลภายนอกโครงการ และชุมชนโดยรอบ เพื่อสามารถเข้ามาพักผ่อนทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น E-Library ห้องสมุดสาธาระณะ ลู่วิ่งและจักรยานลอยฟ้าบนอาคาร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ตู้ล็อกเกอร์ ห้องอาบน้ำ ที่เปิดให้บริการบุคคลทั่วไป และยังตอบสนองความต้องการของชีวิตคนเมืองและชุมชนโดยรอบด้วยแนวคิดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เป็น Innovation Lifestyle Retail โดยมีร้านค้ากว่า 200 ร้าน และมีพื้นที่ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โครงการ Whizdom101 เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงานทั้งด้าน Passive และ Active เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่น้อยที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ในโครงการทั้งส่วนสำนักงาน ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดจะอยู่บนโครงข่ายดิจิตอลแพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้ที่แห่งนี้มีการเชื่อมต่อประสานแบบเครือข่ายไร้รอยต่อ โดยพื้นที่ทั้งหมดจะสามารถเชื่อม Wifi ที่มีความเร็วสูงสุดได้ฟรีทำให้ทุกคนได้มีอิสรภาพในโลกดิจิตอลแบบไร้ขีดจำกัด Whizdom101 จะเป็นสังคมดิจิตอลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในประเทศไทยซึ่งผสมผสานพื้นที่สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ร้านค้าปลีก และพื้นที่ส่วนรวมที่ตอบสนองการใช้ชีวิตแบบไร้รอยต่อบนดิจิตอลแพล็ตฟอร์ม