วันนี้เราขยับมาอีกหนึ่งย่านแห่งการสร้างสรรค์อย่าง อารีย์ – ประดิพัทธ์ ที่ได้นำกิจกรรม MOOD HOPPING กิจกรรมที่จะพาคุณไปสำรวจอารมณ์ที่เราต่างไม่อยากจัดการด้วย ผ่านกิจกรรมที่ใคร ๆ ก็คุ้นเคยอย่าง Cafe Hopping ในย่านนี้

MOOD HOPPING เป็นโปรเจคที่ Faiyen Design Studio ริเริ่ม ด้วยความสนใจที่มีต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต และความมุ่งหวังให้งานออกแบบช่วยสื่อสารที่มีผลกับคุณภาพชีวิตทางใจที่ดีขึ้นต่อผู้คน รู้จัก Faiyen Design Studio ให้ดีขึ้น

แต่เนื่องจากตัวผู้เขียนไม่ใช่เซียนกาแฟเท่าไหร่นัก จึงขอนำทุกท่านไปค้นหานิทรรศการที่เกี่ยวกับนวัตกรรมกันดีกว่า แต่จะเกริ่นไว้เบื้องต้นหากใครอยากจะตะลุย MOOD HOPPING ก็ย่อมได้

กิจกรรม MOOD HOPPING จะประกอบด้วย คาเฟ่ทั้งหมด 15 แห่ง แบ่งเป็น 5 อารมณ์ได้แก่ โกรธ, อิจฉา, กังวล, เศร้า และรู้สึกผิด โดยแต่ละร้านจะให้เครื่องดื่มตามอารมณ์ของร้านนั้น ๆ โดยที่มีจุด Information Spot ที่ร้าน Feelingbar Ari ค่อยให้คำแนะนำและเป็น Point หลักในการเดินทางได้เป็นอย่างดี

เมื่อมาถึง การเดินสำรวจย่านแห่งนี้ดูจะเป็นอะไรที่ยากลำบากเสียเหลือเกิน ผู้เขียนจึงได้ Register ในเว็บ http://www.moodhopping.com/ เพื่อเช่าจักรยานจากร้าน tokyobike มาปั่นสำรวจย่านนี้กัน

ที่ผู้เขียนได้เข้าไปทดลองสั่งคือร้าน “Porcupine Café” ซึ่งเป็นร้านที่ให้อารมณ์ รู้สึกผิด (แต่ผู้เขียนไม่ได้มีความรู้สึกผิดแต่อย่างใด เพียงเพราะร้านนี้อยู่ใกล้กับจุด Information Spot) ได้รับเครื่องดื่มที่มีคาแรคเตอร์น่าสนใจอย่าง Strawberry Feels

“ทุกคนย่อมต้องเคยรู้สึกเสียใจจากการตัดสินใจผิดพลาด ไม่ว่านานแค่ไหน ความรู้สึกนั้นยังคงฝังอยู่ในจิตใจสักแห่ง หากเป็นรสชาติ ก็เหมือนกับสตรอเบอรี่หอมหวานที่ซ่อนกายอยู่ในกาแฟดำ น้ำสีดำที่คุ้นเคย จิบแรกก็เหมือนกาแฟทั่วไป แต่ยิ่งจิบไป รสชาติของสตรอเบอรี่ยิ่งชัดเจนขึ้น ก็เหมือนกับทุกวันธรรมดา ที่ความรู้สึกผิด ค่อย ๆ เผยตัวออกมาทีละนิด เพียงแค่เราดื่มมัน”

เป็นการดื่มกาแฟที่สัมผัสได้ถึงบทกวีที่แทรกซ่อนภายใต้ขวดกาแฟสวยหรูตัวนี้ ต้องยอมรับว่าคอนเซ็ปต์ดีมาก ๆ แต่หากจะให้ผู้เขียนตะลุยทั้งวันเพื่อดื่มให้ครบ 15 ร้าน คงจะไม่ไหวเสียกระมัง

ถัดมาผู้เขียนได้ปั่นจักรยานต่อมาที่โครงการพาไท ณ ร้าน P9 พหลโยธินซอย 9 ซึ่งเป็นที่ที่รวมเอานวัตกรรมดีไซน์รวมถึงการ Talk ของเหล่าผู้ที่อยู่ในวงการนั้น ๆ ภายใต้แนวคิด “สานคิด จิตพัฒนา ไทยก้าวหน้า อย่างยั่งยืน” (ตาราง Talk สามารถดูจากในตารางด้านล่างได้เลย)

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ผู้เขียนชอบมาก ๆ คือเรื่องของนวัตกรรม Smart Building, Smart Governance, Smart Innovation รวมถึงโครงการ Green Bangkok 2030 ที่เจ๋งมาก ๆ อย่างไรผู้เขียนจะรวบรวมข้อมูลไว้ให้อ่านกันอีกบทความ

สถานที่สุดท้ายที่ควรมาในวันเสาร์และอาทิตย์อย่างยิ่งคือที่ 33 Space ซอย ประดิพัทธ์ 17 ที่จัดนิทรรศการหลัก เป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมย่านอารีย์-ประดิพัทธ์สู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อทุกคน โดยกลุ่มนักออกแบบ นักวิจัยในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) ได้รวมตัวกันในนามกลุ่ม Tinkering Pot แต่วันที่ผู้เขียนไป ค่อนข้างจะมีกิจกรรมน้อย จึงไม่ได้เขียนอย่างเต็มที่เท่าไหร่นัก

คำแนะนำจากผู้เขียน

  • แนะนำให้มากับเพื่อน ๆ และมาช่วงวันเสาร์หรืออาทิตย์จะดีที่สุด เพราะมีกิจกรรมเยอะมาก
  • ควรไป Register ให้เพื่อเช่าจักรยาน เพราะสำคัญมากเป็นส่วนช่วยให้เราเดินทางอย่างสนุก
  • ควรวางแผนให้ดี เพราะบางร้านเปิดเย็น บางร้านก็เปิดตั้งแต่เช้า
  • แม้การวางแผนที่ดีอาจจะผิดแผนก็ได้ ฉะนั้น เผื่อใจสำหรับการผิดหวังไว้ด้วย
  • การดื่มกาแฟวันละ 3-4 แก้วอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ
  • ชาร์จแบตฯ มือถือให้เต็มหรือไม่ก็พกแบตฯ สำรองไว้ด้วย
  • เตรียมหมวกและหน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 ไว้เพื่อสุขภาพ
Previous articleคืนลมหายใจให้คนเมือง ‘หลุมหลบภัยทางอากาศ’ พาวิลเลียนสู้ฝุ่นด้วยธรรมชาติ
ในงาน BANGKOK DESIGN WEEK 2020
Next articleเรียนรู้ปัญหาสังคม ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ไปกับงานอินสตอลเลชัน “Phāla (ผล) Floral installation and tea experience.” ในงาน Bangkok Design Week 2020
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ