วันนี้เป็นวันเริ่มต้นของงาน Refugee Week ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ตระหนักถึงผู้คนที่ต้องพลัดถิ่นทั้งจากความขัดแย้งและภัยภิบัติทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็มีโปรเจ็กต์ดี ๆ ที่ให้ทุกคนได้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ลี้ภัยในประเทศต่าง ๆ

Refugee Week ในสหราชอาณาจักรได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 เป็นวิธีต่อสู้กับสื่อเชิงลบของผู้ลี้ภัยถูกกฎหมายและผู้ลี้ภัยทั่วไป อีกทั้งยังเล็งเห็นว่าเป็นอีเว้นท์ที่จัดขึ้นทั่วโลก มีจุดประสงค์ในการสร้างความสมานฉันท์และสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชน งานวิกฤติผู้ลี้ภัยในปีนี้กลายมาเป็นหัวข้อที่สำคัญมากขึ้นสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบเมื่อเหตุการณ์เริ่มเลวร้ายลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา งานนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันลี้ภัยโลก ในวันที่ 20 มิถุนายน
และนี่คือผลงานอุปกรณ์ลี้ภัยที่ดีที่สุดที่เราจะมานำเสนอในวันนี้

Better Shelter โดย IKEA
ถึงแม้จะมีคำวิจารณ์มาว่ามันล้าหลังแล้ว แต่หลุมหลบภัยนี้ก็ได้ถูกนำมาพัฒนาใหม่โดย มูลนิธิการกุศลของ IKEA นำของใช้จำเป็นสำหรับผู้ลี้ภัยมาใส่ไว้ในหลุมหลบภัยดีไซน์ทั่วไป ซึ่งทำให้หลุมหลบภัยนี้ชนะการประกวดการออกแบบในงาน the Design Museum ในปี 2016

ธงสำหรับผู้ลี้ภัยแห่ง Rio 2016 Olympics
ธงอันนี้มาจากจินตนาการของ Yara ศิลปินและผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่ตอนนี้อาศัยอยู่ใน Amsterdam สำหรับทีมผู้ลี้ภัยแห่ง the Rio 2016 Olympics เธอใช้สีดำและสีส้มเพื่อเป็นตัวแทนของเสื้อชูชีพสำหรับผู้ลี้ภัยที่กำลังเผชิญอันตรายจากการข้ามน้ำข้ามทะเล

Bag2Work โดย Didi Aaslund และ Floor Nagler
Didi Aaslund และ Floor Nagler นักออกแบบชาวดัชท์ได้ทำงานร่วมกับผู้ลี้ภัยในการสร้างกระเป๋าสะพายหลังที่ทำจากเสื้อชูชีพและเรือที่ใช้งานไม่ได้แล้ว กระเป๋าใบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บตุนของใช้อเนกประสงค์ BAG2WORK มีขนาด 21 ลิตรทำจากเรือเรือชูชีพขนาด 1 ตารางเมตรและสายรัดเสื้อชูชีพ 4 เส้น คาดไว้สำหรับปิดกระเป๋า

De Voorkamer โดย Pim van der Mijl
โปรเจ็กต์ De Voorkamer ของ Pim van der Mijl ที่มีความหมายว่า ‘ห้องนั่งเล่น’ ได่รับการออกแบบให้เป็นของใช้ประจำบ้านสำหรับผู้ลี้ภัยและชาวบ้าน มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยได้เข้ามารวมกลุ่มสร้างความกลมเกลียวกันระหว่างผู้ลี้ภัยต่างถิ่น

In Limbo Embassy โดย Manon van Hoeckel
โปรเจ็กต์ของ Van Hoeckel ต้องการนำเสนอสถานฑูตโทรศัพท์สำหรับคนไร้สัญชาติ ที่นี่ ผู้ลี้ภัยจะทำหน้าที่เป็นฑูตช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ลี้ภัยด้วยกันเอง และวิธีที่ผู้ลี้ภัยเสนอมาก็ค่อนข้างมีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน โปรเจ็กต์นี้ทำขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนมีความแตกต่างที่สามารถช่วยเหลือกันเองได้ ดีกว่ามานั่งแก้ปัญหาไปทีละนิดทีละหน่อย

Universal Unconditional โดย Stefania Vulpi
Stefania Vulpi อีกหนึ่งนักออกแบบที่จบการศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ได้สร้างสรรค์ระบบความคิดเห็นออนไลน์ที่ให้กลุ่มเครือขายบุคคลได้ร่วมแบ่งปันสัญชาติกันแบบชั่วคราว ได้รับแรงผลักดันมาจากการที่เธอต้องเผชิญกับความยากลำบากจากวิกฤติการลี้ภัยต่อเนื่องที่ประเทศ Europe เธอจึงออกแบบแพลตฟอร์มดิจิตัลที่ผู้คนสามารถเข้าไปสร้างโปรไฟล์ของตัวเอง และขอแลกเปลี่ยนหรือยืมสถานะพลเมืองของบุคคลอื่นได้

SURI shelter โดย Suricatta Systems
Shelter Unit for Rapid Installation (SURI) เดิมแล้วถูกออกแบบมาเพื่อเป็นที่หลบภัยสำหรับแผ่นดินไหว แต่ตอนหลังได้ถูกนำมาปรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความขัดแย้งใน Middle East และ Saharan Africa ซึ่งง่ายต่อการขนย้ายและการรวมตัวของผู้ลี้ภัย

SOS Save Our Souls โดย Achilleas Souras
Achilleas Souras ศิลปินผู้มีอายุเพียง 16 ปี ใช้เสื้อชูชีพพังแล้วกว่าร้อยตัวที่สะสมมาจากชายฝั่ง Lesbos มาประกอบกันจนมีลักษณะเป็นรูปเอสกิโมเพื่อทำการติดตั้ง SOS Save Our Souls ให้กับบริษัท Moroso ที่งาน Milan design week “ผู้ลี้ภัย คนไร้บ้าน และผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นจะไม่ถูกเพิกเฉยอีกต่อไป” กล่าวโดย Souras ซึ่งคาดหวังให้ผลงานของเขาสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้

Makers Unite
Makers Unite ที่ชนะการแข่งขัน Refugee Challenge ในงาน What Design Can Do เมื่อปีที่แล้วเป็นความคิดริเริ่มที่ทำให้นักออกแบบท้องถิ่นและผู้ที่เคยผ่านการลี้ภัยมาก่อนได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานที่ทำจากเสื้อชูชีพในชายฝั่ง Greek “จุดมุ่งหมายของ Makers Unite คือเพื่อให้ผู้คนได้เจรจาและเปิดโอกาศให้พวกเขาได้ทำความเข้าใจวุฒิภาวะของคนอื่น ๆ”

F Lotus โดย Ai Weiwei
Ai Weiwei ได้สร้างสัญลักษณ์ที่รูปร่างคล้ายกับดอกบัวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ตระหนักถึงวิกฤติลี้ภัยในซีเรียมากขึ้น และชื่อของมันคือ F Lotus ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Belvedere ใน Vienna ดอกบัวรูปวงแหวนมีทั้งหมด 201 ชิ้นจัดเป็นรูปตัวอักษร F และแต่ละวงแหวนจะใช้เสื้อชูชีพ 5 ตัว เสื้อชูชีพเหล่านี้เป็นเสื้อที่ใช้งานไม่ได้แล้วของผู้ลี้ภัยในซีเรีย

Source: dezeen

Previous articleญี่ปุ่น เตรียมส่งหุ่นยนต์ สำรวจเตาปฏิกรณ์ฟุกุชิมะ
Next articleเทคโนโลยีสุดล้ำ ‘shimon’ หุ่นยนต์ดนตรีควบคุมง่ายทั้งยังใช้งานร่วมกับมนุษย์ได้อีกด้วย