สิ้นปีใกล้เข้ามาแล้ว อีกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันนี้เราจึงพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Top 10 สถาปัตยกรรมในด้านของพิพิธภัณฑ์และศูนย์วัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดและเป็นโปรเจกต์ที่ดีที่สุดจากทั่วทุกมุมโลก จากพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยที่อุทิศให้แก่สัตว์ที่เป็นที่จดจำไปจนถึงสถาปัตยกรรมโครงสร้างก้นหอยในสวิสเซอร์แลนด์ อย่ามัวรอเวลา จะมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมกันเลย!

Elephant Museum in Thailand by Bangkok Project Studio

“พิพิธภัณฑ์ช้าง” ตัวพิพิธภัณฑ์ถูกสร้างจากอิฐแดง โดยมีลักษณะเป็นตัวอาคารที่ซับซ้อนขนาดใหญ่เพื่อเป็นฟังก์ชันเปิดพื้นที่สำหรับช้าง นอกจากนี้ตัวโครงสร้างยังประกอบกันด้วยผนังแนวโค้งที่ดูยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบอย่างงดงาม ภายใต้ธีม “การสอนให้ได้เรียนรู้ว่าผู้คนและสัตว์อาศัยอยู่ร่วมกันได้ด้วยความรัก (coexist with love)”

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39088

Jingdezhen Imperial Kiln Museum by Studio Zhu Pei

สตูดิโอ Zhu Pei ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln ในพื้นที่ประวัติศาสตร์จิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เมืองหลวงเครื่องปั้นดินเผา” ของโลก ภูมิภาคนี้ซึ่งเคยผลิตและส่งออกเครื่องปั้นดินเผามานานกว่า 1,700 ปี ตอนนี้เป็นที่รู้จักด้วยลักษณะเฉพาะด้วยรูปแบบของเตาเผาโบราณที่ปรักหักพัง 

ท่ามกลางซากปรักหักพังของหลักฐานทางราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง สตูดิโอได้สร้างพิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln ตามแนวถนนของเมืองโบราณจิ่งเต๋อเจิ้น โปรเจกต์นี้ทำให้ผู้เยี่ยมชมจากอุทยาน Imperial Kiln ที่มีป่าเป็นหลังคาสีเขียวซึ่งไหลลงสู่ห้องโถงเปิดของพิพิธภัณฑ์

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39172

Musée Atelier Audemars Piguet by Bjarke Ingels Group (BIG)

Audemars Piguet บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสุดหรูแห่งสวิตเซอร์แลนด์ได้ประกาศเปิดตัว “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” แห่งใหม่ของบริษัท โดยการออกแบบของ Bjarke Ingels Group (BIG) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นการนำประวัติศาสตร์และนวัตกรรมมารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน โดยโครงสร้างเกลียวที่สร้างจากกระจกทำให้ผู้เยี่ยมชมได้ดื่มด่ำกับคอลเลกชันนาฬิกาและเวิร์กชอปภายในตึกนั้นไปพร้อม ๆ กัน

Ingels และทีมของเขาออกแบบพาวิเลียนกระจกทรงเกลียวเพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งของตึกเก่าของบริษัท ซึ่งเป็นที่ที่ Jules Louis Audemars และ Edward Auguste Piguet ใช้เป็นสถานที่ทำงานในปี 1875 ซึ่งโครงสร้างเกลียวกระจกมีลักษณะคล้ายผุดขึ้นมาจากพื้น รับกับภูมิทัศน์โดยรอบของหุบเขาที่ห่างไกลในภูเขา Jura

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39151

He Art Museum in China by Tadao Ando

He Art Museum (HEM) ถูกออกแบบโดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นนามว่า Tadao Ando มันตั้งอยู่ที่ Shunde จังหวัด Guangdong ของจีน โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชื่อมาจากผู้ก่อตั้ง “He Jianfeng” ซึ่งคำว่า “He” ในภาษาจีนมีความหมายหลายอย่าง ได้แก่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสมดุล โชคชะตา และการรวมกัน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนแล้วแต่สะท้อนการออกแบบและความมีเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ของสถาปัตยกรรมแห่งนี้

การออกแบบภายในถูกออกแบบโดยใช้ “บันไดเกลียวคู่” ซึ่งสามารถเดินขึ้นไปสู่ชั้นทั้ง 4 ของตึก และอาบไปด้วยแสงแดดจากสกายไลท์ด้านบน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของหลิงหนานที่นิยมใช้หลังคาที่เปิดให้เห็นแสงภายนอก โดยแสงจากด้านบนส่องลงมาในแบบแปลนและพื้นที่จัดแสดงทำให้เกิดช่องว่างที่เชื่อมต่อกับโลกภายนอก

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39191

Zhang Yan Cultural Museum by Horizontal Design

พิพิธภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมนี้เกิดจากการรีโนเวทชุดโครงสร้างเดิมของหมู่บ้านจีนโบราณ Zhang Yan ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Chonggu (เมืองทางตะวันตกของเซี่ยงไฮ้) ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวโดยการออกแบบของ Horizontal Design โดยที่มีห้องโถงเป็นพื้นที่จัดแสดง 3 ห้อง จัดเป็นพื้นที่แยกส่วนกันรอบ ๆ บ่อน้ำ 

และมีคอนเซปต์การออกแบบตั้งแต่ “ร่วมสมัย” ไปถึง “แบบดั้งเดิม” จนกระทั่งไปถึง “อนาคต” ด้วยการพยายามรักษารูปลักษณ์ตึกเดิมให้ได้มากที่สุดผนวกเข้ากับสิ่งปลูกสร้างใหม่ได้อย่างลงตัว ท้ายที่สุดจึงได้สถาปัตยกรรมที่เพิ่มความร่วมสมัยเข้าไปในขณะที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39338

Kinder Building at The Museum of Fine Arts, Houston by Steven Holl Architects

ตึก “Nancy and Rich Kinder” ที่ the Museum of Fine Arts, Houston (MFAH) ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตึกนี้เป็นส่วนสุดท้ายของแคมปัสที่มีการขยายตัวและการปรับปรุงที่ยาวนานของสถาบันในเทกซัส โดยใช้เป็นแหล่งแสดงคอลเลกชันงานศิลปะร่วมสมัยนานาชาติจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีทั้งงานละตินอเมริกาและศิลปะลาติน ภาพถ่าย ภาพพิมพ์และภาพวาด มัณฑนศิลป์ งานคราฟต์ และงานออกแบบ

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39458

Kadokawa Culture Museum in Japan by Kengo Kuma and Associates

พิพิธภัณฑ์ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเสาหินนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ห่างจากตะวันตกของใจกลางโตเกียวออกไป 30 กิโลเมตร โดยพิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาขนาดใหญ่ คือ “เมือง Tokorozawa Sakura” โดยที่ยังมีโรงแรมที่เน้นธีม Anime ของญี่ปุ่น ร้านหนังสือ และพาวิเลียนภายในที่เต็มไปด้วยการจัดอีเวนต์มากมาย นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าของตนเองอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39422

Baitasi Hutong Gallery in Beijing by DnA Design and Architecture

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตึก 2 ชั้นเก่า “Beijing Hutong” ถูกเปลี่ยนเป็นแกลลอรีศิลปะร่วมสมัยในย่าน Baitasi โดยการออกแบบของ DnA Design and Architecture ซึ่งตึกนี้ตั้งอยู่ใกล้กับวัดเก่าอายุ 700 ปีซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่านนั้น โดยโปรเจกต์นี้ประกอบไปด้วยย่านที่อยู่อาศัยของศิลปิน และจัดนิทรรศการชุมชนที่ช่วยสนองความต้องการของเหล่านักสร้างสรรค์ที่อาศัยหรือทำงานในละแวกใกล้เคียง

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39508

Depot Boijmans van Beuningen in Rotterdam by MVRDV

“Boijmans Van Beuningen” คือ คลังเก็บชิ้นงานศิลปะที่เปิดสู่สาธารณะแห่งแรกของโลก โดยมีดีไซน์เป็นตึกทรงโค้ง 3 ชั้นที่มีชั้นดาดฟ้าเป็นสวน และมีฟาซาดเป็นกระจกทั้งตึก ตั้งอยู่ในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

ตึกมีความสูง 39.5 เมตร ถูกสร้างโดย MVRDV เพื่อจะให้เป็นพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ ซึ่งนอกจากจะมีขนาดที่ใหญ่แล้ว ตึกนี้ยังช่วยลด ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม “คล้ายถ้วย” ของตัวตึก และพื้นผิวภายนอกที่สะท้อนบริบทโดยรอบซึ่งสร้างจากแผ่นกระจก 1,664 แผ่น เต็มขนาดพื้นที่ทั้งหมด 6,609 ตารางเมตร ทำให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมรอบข้าง และแฝงตัวไปกับพื้นที่รอบ ๆ อย่างลงตัว

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39546

Bourse de Commerce Museum in Paris by Tadao Ando

Bourse de Commerce ตั้งอยู่กลางเขตปกครองแรกของปารีส โดยมีแปลนเป็นรูปทรงกลมซึ่งมีหอกลมตั้งอยู่ตรงกลางของตึกอีกที โดยตึกคอนกรีตนี้มีผนังสูงถึง 9 เมตรด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เมตร และมีช่อง 4 ช่องทำให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาในพื้นที่ได้ “หอนี้จะสร้างรูปร่างให้กับพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางใต้โดม และครอบคลุมหอประชุมและส่วนห้องโถงใต้พื้นดิน” Ando อธิบายไว้ในตอนที่โปรเจกต์นี้ได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณะ

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.buildernews.in.th/archdesign-cate/39562

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.designboom.com/architecture/top-10-museums-cultural-venues-11-30-2020/?fbclid=IwAR2R3pkiuuYIa-X-bjUlfghZ0dfOavO6lAlcfJ5CmcOQdWAwx1Gbtsbagqg

Previous article“The Smile” ที่พักอาศัยภายใต้ฟาซาดขนาดยักษ์แห่งนิวยอร์ก
Next articleปีใหม่ทั้งที ต้องดีกว่าเดิม! New Year Resolutions 22 ข้อฉบับสถาปนิก
Porntiwa
สาวรัฐศาสตร์หน้าใส หัวใจรักการเขียน ผู้ผันตัวจากสายการเมือง มุ่งหน้าสู่สถาปัตยกรรมเต็มตัว