“ความไม่เพอร์เฟคอาจก่อให้เกิดผลงานที่สวยงามอย่างที่ใครคาดไม่ถึง”

ในอดีตผลงานศิลปะหลาย ๆ ชิ้นที่โด่งดังก็เกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ ย้อนไปช่วงยุคเรอเนซองส์ ราว ๆ ปี 1400 ความรุ่งเรืองทางศิลปะพุ่งแรงถึงขีดสุด ตระกูลคนมีฐานะจะมีจิตรกรประจำไว้เพื่อวาดรูปตามสั่ง แต่ความเฟื่องฟูได้พัฒนาสู่ความฟุ่มเฟื่อย จนวันหนึ่งเมื่อถึงจุดอิ่มตัว ศิลปินเริ่มหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อทำให้ศิลปะไปไกลกว่าการวาดรูป และจุดกำเนิดของความไม่เพอร์เฟคทางศิลปะได้ก่อกำเนิดขึ้น

Claude Monet (โคลด โมเนท์) ผู้นำลัทธิ Impressionism Art เขาวาดภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วเพื่อเก็บภาพความประทับใจนั้น โดยไม่สนใจถึงความเพอร์เฟค สวยงาม หรือความสมจริง แต่เน้นไปที่อารมณ์และความรู้สึก แค่เขาวาดภาพสระบัว แต่ละช่วงเวลา ก็ให้ความรู้สึกที่ต่างกันแล้ว

 

Henri Matisse (อองรี มาติส) ศิลปินที่มีผลงานสะดุดตามาก ๆ เปิดโลกของศิลปะด้วยการใช้สีสดที่ตัดกัน ด้วยคู่สีที่ตรงกันข้าม เช่น เขียว-แดง น้ำเงิน-ส้ม ผลงานของเขายังเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้กับศิลปินในยุคนี้ ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันที่โดดเด่น ไม่เน้นโครงสร้างของความถูกต้อง แต่เน้นไปที่อารมณ์ของภาพที่จะสื่อออกมามากกว่า

 

หรือศิลปินชื่อคุ้นหูอย่าง Pablo Picasso (ปาโบล ปิกัสโซ) ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ในผลงานที่เป็นนามธรรม ที่ไม่มีความเพอร์เฟคใด ๆ ในภาพ แถมยังตีความได้ยากมาก ๆ ในบางชิ้น กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินหลายต่อหลายคนในยุคปัจจุบัน

จากศิลปินที่ยกมา จะเห็นว่า ความไม่เพอร์เฟคอาจจะเป็นผลงานที่ดูแล้วไม่สวยงาม ยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไหร่นัก เพราะผู้คนยังคงชินอยู่กับอะไรแบบเดิม ๆ และไม่ชอบในการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นัก อาจจะด้วยความไม่พร้อมหรือปัจจัยใด ๆ ก็ตาม จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่กระแสนี้กลายเป็นที่นิยม ความสวยงามของศิลปะ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

เช่นเดียวกับ Hilla Shamia ดีไซน์เนอร์สาวจากเมือง เทล อาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่รับแนวคิด “ความไม่เพอร์เฟคทางศิลปะ” มาเต็ม ๆ ด้วยการทดลองผสมผสานระหว่างไม้ธรรมชาติเข้ากับอลูมิเนียม จนออกมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ลูกผสม ที่ดูแล้วไม่เพอร์เฟค แต่กลับสวยงามอย่างลงตัว

ทีมออกแบบใช้อลูมิเนียมเป็นขาตั้งของเฟอร์นิเจอร์ทั้งเก้าอี้และโต๊ะ หลังจากนั้นค่อยนำไม้ลายธรรมชาติเข้ามาทำเป็นท็อป ความไม่ลงตัวเกิด ความไม่เพอร์เฟค เกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจ แต่ผลลัพธ์คือความสวยงามที่แตกต่าง ไม่ใช้แค่ขาอลูมิเนียมอย่างเดียวเท่านั้น Shamia ยังมีการติดตั้งขาลายไม้ ซึ่งตัดกับลายอลูมิเนียมได้อย่างเข้ากัน

“เราทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบหลายครั้งมาก จนเราพบความแท้จริง แล้วความสวยงามไม่ได้เกิดจากความสมบูรณ์แต่อย่างเดียว หากดัดแปลงเติมแต่งให้มันดูบิดเบี้ยว ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ก็สวยงามไปอีกแบบเหมือนกัน” Shamia กล่าวถึงคอลเลกชันของตัวเอง

 

ดีไซน์เก้าอี้จาก HATTERN สตูดิโอโปรดักส์ ดีไซน์จากเกาหลีใต้ ได้ออกแบบเก้าอี้ไม้ชื่อว่า Zero Per Stool ความพิเศษคือ เก้าอี้นี้ไม่ได้ทำจากไม้ทั้งหมด แต่มีการใช้เรซิ่นเสริมเข้าไปด้วย ทำให้ลวดลายไม้เปลี่ยนไป กลายเป็นเก้าอี้ไม้ที่มีดีเทลของ เรซิ่นสอดแทรกอยู่ ความงดงามเกิดจากการแทรกแซงของวัตถุที่แตกต่างกัน เก้าอี้ตัวนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าเก้าอี้ตัวอื่น ๆ ในวัสดุเดียวกัน

 

แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Hi-end อย่าง Mobilia Flexy Living ที่มีดีไซน์ของเฟอร์นิเจอร์ที่ผสมผสานกันระหว่างหลาย ๆ วัสดุ โดยที่เราสามารถปรับเปลี่ยนวัสดุได้ หลากหลายแบบ ตัวอย่างเช่น TOXIC CHAIR ที่ใช้วัสดุขาเป็นอลูมิเนียมตัดกับพื้นเบาะสีดำ ผนักพิงของเก้าอี้ใช้เป็นตาข่าย ดีไซน์ดูแปลกตา แต่ก็เรียบหรูเข้ากันอย่างไม่น่าเชื่อ

หากใครสนใจผลิตภัณฑ์จาก Mobilia Flexy Living สามารถเข้าไปดูผลงานได้ที่ Facebook: Mobilia Flexy Living Instagram: mobiliaflexyliving เว็บไซต์ http://www.mobiliaflexyliving.com/web/ ได้เลย

ทั้งงานศิลปะและงานออกแบบ แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟคอะไรมากมาย เพราะไม่ความไม่เพอร์เฟค ย่อมมีอารมณ์และความสวยงามด้วยตัวของมันเอง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่า จะมองงานชิ้นนั้น หรือสิ่ง ๆ นั้น ไปในแง่มุมใด

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.thisiscolossal.com/2020/05/hilla-shamia-wood-aluminum-furniture/

https://www.thisiscolossal.com/2017/02/zero-per-stool/

https://tonkit360.com/21339

http://www.mobiliaflexyliving.com/web/

Previous articleวางขายแล้วในไทย! โคมไฟอัจฉริยะ Dyson Lightcycle™ เทคโนโลยี Heat Pipe
คงคุณภาพแสงยาวนานถึง 60 ปี
Next articleสายเขียวถูกใจสิ่งนี้! “TERRAPLANTER” กระถางต้นไม้แนวใหม่
รดน้ำเพียงแค่ครั้งเดียวก็เพียงพอ
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ