อาคาร CPF บางน้ำเปรี้ยว คือศูนย์กลางกระจายสินค้าที่ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารเขียวระดับ LEED-Gold และ TREES-Certify ภายในโครงการมีห้องแช่เย็นใช้สำหรับเก็บวัตถุดิบประเภทอาหาร ผักและผลไม้ สามารถทำความเย็นได้ที่ระดับ -25°C และ -5°C โดยในขบวนการทำความเย็นนี้ถูกออกแบบให้สามารถใช้สารทำความเย็น NH3 หรือแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในหัวข้อพลังงาน ได้มีการจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม eQUEST ที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการพลังงานภายในอาคาร จากการจำลองโครงการสามารถประหยัดการใช้พลังงานอยู่ที่ 24.8% เทียบกับการใช้พลังงานขั้นต่ำ การประหยัดการใช้พลังงานสำหรับโครงการนี้ เป็นผลลัพธ์เนื่องมาจากการเลือกวัสดุกรอบอาคาร ร่วมกับระบบประกอบอาคารที่มีประสิทธิภาพสูงดังนี้

• เลือกใช้ NH3 Air-Cooled Chiller และระบายความร้อนด้วย Evaporative Cooling Tower สำหรับห้องแช่เย็น
• เลือกใช้ระบบติดตามและควบคุมการทำงานของระบบแช่เย็นด้วย SCADA
• เลือกใช้ระบบทำความเย็นแบบ Variable Refrigerant Flow สำหรับอาคารสำนักงาน
• เลือกใช้หลอดไฟ LED 100% แทนหลอด Fluorescent
• มีการบุ PU form ที่ระบบผนงั หลงั คา และใช้กระจก Low-E เพื่อลดการนำพาความร้อนเข้าสู่อาคาร
• มีการทำความเย็นและลดความชื้นให้กับอากาศภายนอกที่นำเข้าสู่พื้นที่ทำงานในอาคารแช่เย็น ด้วยระบบ Pre-cooled Air Handling Unit
• มีการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างอากาศภายนอกและอากาศที่ถูกดูดทิ้งในอาคารสำนักงาน เพื่อนำความเย็นกลับมาใช้ใหม่ ด้วยพัดลมระบายอากาศแบบ Energy Recovery Ventilator

02

เมื่อโครงการได้รับการออกแบบและก่อสร้างเสร็จสิ้น ได้มีการทดสอบและปรับแต่งระบบประกอบอาคารต่างๆ อย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ก่อนที่จะมีการเปิดใช้งานอาคารอย่างเป็นทางการ ซึ่งระบบต่างๆ ที่ได้รับการทดสอบนั้นประกอบด้วย
• ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
• ระบบแช่เย็น
• ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง
• ระบบติดตามและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร

และเมื่อเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการแล้ว ได้มีการดำเนินการตรวจวัดและพิสูจน์การใช้พลังงานตามแผนการที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อติดตามผลลัพธ์ตามแต่ละประเภทการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการร่วมดำเนินการระหว่างเจ้าของโครงการ และผู้เชี่ยวชาญจากการปรับแต่งระบบ ผลลัพธ์การใช้พลังงานทั้งหมดจะถูกนำมาปรับแต่งการตั้งค่าในโปรแกรมการจำลองพลังงาน ซึ่งผลการจำลองพลังงานมีความแม่นยำยิ่งขึ้นตลอดอายุการใช้งานอาคาร ขบวนการทั้งหมดนี้ตั้งแต่การออกแบบจนกระทั่งเปิดใช้งานอาคาร สามารถยืนยันการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี และเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านการบริหารต้นทุนทางด้านพลังงานและภาพลักษณ์ต่อเจ้าของโครงการ

03
นิตยสาร Builder Vol.35 SEPTEMBER 2016

Previous articleเมกะโปรเจ็กต์ในจังหวัดเชียงใหม่ โอกาสในวันนี้และวันหน้า อุปสงค์เพิ่มอีก 2 เท่า
Next articleใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วยบ้านต้นไม้กระจกรูปแบบใหม่ ที่ดูคล้ายกับนำต้นไม้มาใส่ไว้ในบ้าน
ผศ.ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์
LEED AP, TREES FA นักเขียนประจำนิตยสาร Builder อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียว และเกณฑ์การประเมิน LEED