โปรเจ็กต์ก่อสร้างโรงเรียน P’Yan เป็นความคิดริเริ่มจากนักเรียนอาสาสมัครต่างชาติที่ได้ออกเงินทุน วางแผน และจัดสร้างตึกเรียนให้กับโรงเรียน p’yan daung ที่อำเภอแม่สอด ในประเทศไทย อาณาบริเวณแม่สอดถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่งลี้ภัยของผู้อพยพที่หลบหนีจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในถิ่นกำเนิดของพวกเขา ทั้งนี้โรงเรียน p’yan daung ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่าเป็นแหล่งที่พักพิงและสถานศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ที่อพยพมา และได้รับการสนับสนุนโดยความช่วยเหลือแบบไร้พรมแดน มันจึงกลายเป็นถิ่นพักพิงระยะยาว แต่จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงเรียนบริเวณใกล้เคียงถูกปิดตัวลง โรงเรียน p’yan daung จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะนำมาใช้ในห้องเรียน
และถึงแม้จะได้รับข้อมูลมาจากผู้ชำนาญด้านวัสดุ การทำเงื่อนไขต่าง ๆ และการจัดหากิจวัตภายในโรงเรียนแล้ว แต่การวางแผนของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการของ Anhalt University ประเทศเยอรมนีก็ยังติดปัญหาอยู่หลายด้าน เช่นอาสาสมัครบางคนที่ทำงานร่วมกับ Agora-Architects จำเป็นต้องออกแบบทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้มากพอเกี่ยวกับสภาพแวดจริงในสถานที่นั้น อย่างไรก็ตามแผนการออกแบบที่วางไว้ก็ยังไม่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชุมชน และสภาพแวดล้อม เนื่องจากการสื่อสารทางไกลกับตัวแทนของโรงเรียนบริเวณโดยรอบยังค่อนข้างที่จะซับซ้อนอยู่ ทีมนักออกแบบจึงตัดสินใจพิจารณาแนวคิดใหม่ที่จะทำให้เกิดความคล่องตัว และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเสียงตอบรับและความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่มาจากผู้ใช้ในอนาคต
การออกแบบครั้งแรกเป็นเหมือนพื้นฐานที่รอการปรับปรุงเพิ่มเติมและการเสริมสร้างไอเดียใหม่ ๆ โดยชุมชนโรงเรียนระแวกนั้น ในช่วงที่ทำการนำเสนอ ทีมออกแบบได้แนะนำตัวพวกเขาและอธิบายข้อเสนอแนะให้กับคนในชุมชน และในขณะที่พวกเขาพูดคุยกับคุณครูที่ดูแลโรงเรียนและช่างก่อสร้างท้องถิ่นเกี่ยวกับแผนงานครั้งนี้อยู่นั้น พวกเด็กนักเรียนเองก็ได้จัดตั้งทีมสำหรับทำการออกแบบตึกเรียนใหม่ตามจินตนาการของพวกโดยใช้ดินเหนียวมาทำเป็นโมเดลจำลองขนาดเล็ก นอกจากจะได้รับความช่วยเหลือจากนักเรียนจิตอาสาต่างชาติแล้ว ยังได้รับการช่วยเหลือโดยชาวบ้านในแม่สอดอีกด้วย ในด้านของอาสาสมัครเองก็ไม่ใช่แค่ได้รับข้อเสนอแนะและข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ทำความรู้จักกับคุณครูและนักเรียนที่อยู่ระแวกนั้นด้วยเช่นกันซึ่งนั่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำโปรเจ็กต์ครั้งนี้
เมื่อพิจารณาสังคมในท้องถิ่นทั้งสภาพแวดล้อมและสภาพวัฒนธรรมแล้ว ทีมนักออกจึงเลือกใช้แค่เพียงอุปกรณ์ที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ดินเหนียว ไม้ไผ่ และไม้มือสองในการสร้างห้องเรียนราคาประหยัดรวมไปถึงพื้นที่ด้านนอกที่สามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 60 คน เมื่อลองคำนึงถึงข้อดีของการใช้ดินเหนียวดูแล้ว มันช่วยในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและระบายอากาศผ่านช่องระหว่างกำแพงได้ ซึ่งตัวอาคารสามารถปรับให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ได้ถึงแม้ว่าภายนอกจะมีความร้อนถึง 40 องศาก็ตาม การก่อสร้างครั้งนี้ประกอบไปด้วย อิฐโคลนตากแห้ง และปูนปาสเตอร์สามชั้นผสมกับแป้งมันสำปะหลังที่ช่วยเสริมคุณภาพในการยึดเกาะ และเพิ่มคุณสมบติต้านทานน้ำได้เป็นอย่างดี
Source: designboom