ในโลกตะวันออก บ้านเราคงเห็นเทศกาลคริสต์มาสเป็นเทศกาลประจำปีเพื่อความรื่นเริง จะจริงจังก็ได้ ไม่จริงจังก็ไม่เป็นไร เพราะเสพกลิ่นอายเฉย ๆ แต่สำหรับต่างประเทศ ไม่น่าเชื่อว่าหนึ่งในมิชชั่นที่นักออกแบบต้องทำคือการสร้าง “ต้นคริสต์มาส” แห่งจินตนาการที่หลายคนคาดไม่ถึง เพื่อวางในที่สาธารณะ

สำหรับผลงานต้นคริสต์มาสสุดเก๋ชิ้นนี้ ที่เรามองแวบแรกอาจจะงง ๆ ถ้ายังไม่มีของประดับเป็นของ Yinka Ilori ที่ออกแบบให้กับโรงแรม  London’s Sanderson กรุงลอนดอน อาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี 1950 โดยงัดความสามารถเด่น ๆ ของเขาเรื่องการออกแบบด้วยกราฟิกและสีสันมาใช้ในผลงาน

ความสูงระดับ 2.5 เมตร (แน่นอนว่าเทียมหัวของพวกเราแน่นอน) ที่ตั้งอยู่บริเวณล็อบบี้โรงแรมฝั่งตะวันตกใช้ฟอร์มของเรขาคณิตที่แตกต่างกันถึง 5 แบบมาผสมผสานเป็นชั้น ๆ เพื่อสร้างเป็นต้นไม้ประจำเทศกาล โดยคำนึงถึงการวางของขวัญหลากสีที่ห่อและจะนำมาวางใต้ต้น

แต่ถ้าแค่ต่างสีคงธรรมดาเกินไปสำหรับเขา ดังนั้นแต่ละส่วนจึงใช้เทคนิคสร้างให้เกิดรูปแบบสามมิติ แสดงสีที่แตกต่างกันในแต่ละชิ้นจากวัสดุการติดตั้งที่แตกต่างกัน ทั้งไม้แปรรูปและแผ่นไม้อัด

เห็นฐานทึบแบบนี้ แต่ความจริงมันสร้างด้วยโครงสร้างแบบเปิดให้แสงลอดผ่านด้านใน ดังนั้น โครงสร้างที่ตั้งใจประดิษฐ์มาอย่างพิถีพิถันจึงโชว์เงาที่เกิดจากแสงภาพในด้วย ถึงแม้จะดูแปลกตาแต่ถ้าเทียบกับบริบทรอบข้างต้นคริสต์มาสต้นนี้ก็จัดว่ากลมกลืนและให้ความรู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด น่าสนใจทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า จากที่เราบอกไว้ตอนต้นว่ามิชชั่นการออกแบบต้นคริสต์มาสเป็นสิ่งหนึ่งที่นักออกแบบต้องออกมาอวดไอเดีย บางคนอาจจะยังมองไม่ออกว่านักออกแบบต่างประเทศเขาทำเรื่องนี้กันมาจนเป็นธรรมเนียมและสำคัญขนาดนั้นจริงเหรอ เราจึงขอยืนยันด้วยภาพต้นคริสต์มาสจากนักออกแบบคนอื่น ๆ ในปีต่าง ๆ ย้อนหลังให้ดูกัน ใครชอบผลงานไหนก็ลองไปติดตามผลงานอื่น ๆ นอกจากต้นคริสต์มาสของนักออกแบบเหล่านี้กันได้

2016 : Christmas tree by Jørn Utzon

ปี 2016 พาวิลเลียนต้นคริสต์มาสของ Jørn Utzon ในประเทศเดนมาร์ก ชิ้นนี้ก็เรียกได้ว่าแปลกตาจนซานต้าดูไม่ออกเหมือนกัน ใช้วิธีสร้างฟอร์มเหมือนเส้นกริดที่เป็นไอคอนิกการออกแบบสไตล์เดนมาร์กนำมาขัดกันเพื่อสร้างฟอร์ม เพิ่มความพิเศษด้วยแสงสว่างจากไฟสี

2017 : Christmas tree by Lasvit and Yabu Pushelberg

ปี 2017 ต้นคริสต์มาสแก้วเรืองแสงของ Lasvit และ Yabu Pushelberg ในล็อบบี้โรงแรม Hong Kong‘s Upper House ถ้ามองใกล้ ๆ จะเห็นข้อต่อที่ทำขึ้นจากแก้วชิ้นแล้วชิ้นเล่านำมาขึ้นโครง ออกแบบมาอย่างวิจิตรทีเดียว

สังเกตได้ว่าดีไซเนอร์แต่ละปีจะใช้เทคนิคส่วนตัวที่ต่างกัน และสิ่งที่ทำให้ไอเดียของพวกเขาต่างกันเข้าไปอีกคือการเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันเพื่อนำเสนอไอเดียของตัวเองด้วย

จริง ๆ ถ้าให้เทียบกับประติมากรรมในบ้านเรา รูปแบบการออกแบบแบบนี้อาจจะทำให้เรานึกถึงเทศกาลแห่เทียนหรือประเพณีขนทรายเข้าวัดที่ศิลปินมาแสดงรูปลักษณ์แปลกตาจากวัสดุทั้ง 2 ประเภท ซึ่งมักจะมีอะไรมาให้เราเห็นตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ แต่สำหรับการเปลี่ยนวัสดุและเปลี่ยนฟอร์มเพื่อสร้างชิ้นงาน เราเองก็ยังคิดไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง ชาว BuiderNews ล่ะพอจะเห็นอะไรมาในบ้านเราแล้วมีลักษณะความคิดสร้างสรรค์แบบนี้บ้าง ถ้ามีก็มาคอมเมนต์แบ่งปันกันได้นะ

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

  1. https://www.dezeen.com/2019/12/15/yinka-ilori-christmas-tree-sanderson-london/
  2. https://www.dezeen.com/2016/12/08/som-skidmore-owings-merrill-alternative-christmas-tree-pavilion-jorn-utzon-center-aalborg/
  3. https://www.dezeen.com/2017/11/26/yabu-pushelberg-christmas-tree-lasvit-illuminated-glass-installations/
Previous articleชมการรีโนเวทปั๊มน้ำมันสุดสร้างสรรค์ที่เชียงใหม่
กับฟาซาดจากกระเบื้องเซรามิกเคลือบมุก
Next article“SCG Eco Choice” ชวนเลือกเพื่อโลก ไปกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
และการบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม