ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2520 (ชื่อเล่น : เมฆ) สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2543 สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาการวางผังเมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2547 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท พัฒน โปรเฟสชันแนล จำกัด และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวมทั้งอาจารย์พิเศษ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ระดับวุฒิสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลัก และ ระดับสามัญสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง
จุดเริ่มต้นของสายงานออกแบบ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เริ่มต้นเป็นสถาปนิกในภาคเอกชนที่ บริษัท เกเบิ้ล อาร์คิเทค จำกัด ระหว่างปี พ.ศ.2544-2545 ต่อมาได้ศึกษาต่อปริญญาโทด้านการวางผังเมือง และผันตัวไปเป็นสถาปนิกในภาครัฐที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2558-2560 ต่อมาหลังจากเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิก และมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับระบบการขออนุญาตก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ ก.ท.ม. ในการเซ็ทแบบที่มีความแม่นยำในการขออนุญาตก่อสร้าง จนเกิดความมั่นใจได้ออกมาเปิดบริษัทออกแบบในชื่อ ‘บริษัท พัฒน โปรเฟสชันแนล จำกัด’ (Pattana Professional Co., Ltd.) ร่วมกับทีมงานเจ้าหน้าที่ ก.ท.ม. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 รับออกแบบอาคารทุกประเภทเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ต่อมาหลังจากบริษัทอยู่ตัวได้ศึกษาต่อปริญญาเอกเพื่อเพิ่มมิติในการทำงานทางด้าน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และผันตัวเองไปให้ความรู้ และประสบการณ์กับสถาปนิกรุ่นใหม่ ยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นักสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ยังคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้ง นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ และสถาปนิกผังเมืองรุ่นใหม่ ยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานออกแบบของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ ที่ผู้ประกอบการทุกระดับรู้จักกันดีจำนวนหนึ่ง ประเภทคอนโดมิเนียม อาทิ เจ ดับบลิว คอนโด แอด ดอนเมือง (สรงประภา) เดอะ ราฟเฟิล คอนโดมิเนียม (ลาดพร้าว 42/1) เดอะ คลาสซี่ คอนโดมิเนียม (รัชดาภิเษก 19) บล็อค 44 คอนโดมิเนียม (พหลโยธิน 44) พลัส คอนโดมิเนียม (กะทู้, ภูเก็ต) บูกิตตา แอร์พอร์ท คอนโดมิเนียม (สาคู, ภูเก็ต) เดอะ แลนด์สเคป คอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง) และ เดอะ แลนด์สเคป เอ็กเซ็กคูทีฟคอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง) เดอะ แคช คอนโดมิเนียม (ลำลูกกา-คลองสอง) ประเภทเซอร์วิสอพาร์ทเม้นสำหรับชาวต่างชาติ อาทิ ซีวี ทเวลฟ์ เดอะ เรสซิเดนซ์ (สุขุมวิท 53) แบมบู ฟอร์เรสท์ อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 52) เดอะ ทริปเปิ้ลโอ๊ค อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 33) บิ๊กทรี เรสซิเด้นซ์ (บางพลีนิเวศน์) ประเภทอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวไทย อาทิ เดอะพราว เรสซิเดนซ์ (ลาดพร้าว 18) บางนา 21 เรสซิเดนซ์ (บางนาตราด 19 แยก 18) พีเบอร์รี่เพลส อพาร์ทเม้นท์ (ลาดพร้าว 1 แยก 10) ร่มโพธิ์เพลส อพาร์ทเม้นท์ (จรัญสนิทวงศ์ 57 แยก 3-7-2) ประเภทหอพักนักศึกษา อาทิ เดอะสตาร์ อพาร์ทเม้นท์ (เมืองเอก) ประเภทอาคารเรียน อาทิ โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา (สาธุประดิษฐ์) โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรปราการ (แพรกษา, สมุทรปราการ) โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุราษฎร์ธานี (กาญจนดิษฐ์, สุราษฎร์ธานี) โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ แห่งที่ 2 (โพธิ์เก้าต้น, ลพบุรี) ประเภทสำนักงาน อาทิ สำนักงาน บริษัท ลาฟา จำกัด (อินทามระ 3) สำนักงาน บริษัท ทรีท็อป เคมิคัล แอนด์ ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเภทโรงงาน อาทิ โรงงาน บริษัท โทปาส บี.เค.เค. จำกัด (อ้อมน้อย) โรงงาน บริษัท ยามาโต๊ะ อีสเทิร์น จำกัด (นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2, ชลบุรี) โรงงานบริษัท โคเอ อินดัสเทรียล เดเคอร์ จำกัด (คลองหลวง, ปทุมธานี) ประเภทหอประชุม อาทิ หอประชุมแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา (นครสวรรค์) ประเภทตลาด อาทิ ตลาดแครายพลาซ่า (แคราย, สมุทรสาคร) ประเภทบ้านแถว อาทิ เดอะวอเตอร์เฮด ทาวน์โฮม (ดอนเมือง) เดอะแลนด์สเคป ทาวน์โฮม (แสงจันทร์, ระยอง) บูกิตตา ทาวน์โฮม (สาคู, ภูเก็ต) ประเภทบ้านพักอาศัย อาทิ บ้านพักอาศัย นพ.พิทยา จันทรกมล (พระราม 3) บ้านพักอาศัย ดร.โกศล ทรัพย์ประเสริฐ (สุขุมวิท 60/1) และอื่นๆ
แนวคิดในการออกแบบของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ คือ ‘ออกแบบอาคารในพื้นที่จำกัดให้มีศักยภาพสูงสุด’ แปลความได้เป็น ‘ออกแบบอาคารในพื้นที่จำกัดให้มีพื้นที่ขายสูงสุด’ และ ‘ออกแบบอาคารในพื้นที่จำกัดให้มีความสูงของอาคารสูงสุด’ รวมทั้ง การออกแบบอาคาร ใน ก.ท.ม. มีข้อจำกัดทางกฎหมาย จาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาก ในความกว้างถนนซึ่งเป็นตัวสำคัญในการกำหนดความสูงของอาคาร ข้อจำกัดของสีผังเมือง จาก พ.ร.บ.ผังเมือง ที่เป็นข้อจำกัดในการออกแบบประเภทอาคารต่างๆ รวมทั้งข้อจำกัดของประเภทสิ่งปลูกสร้าง และความสูง จาก พร.บ.จัดสรรที่ดิน ที่มีข้อบังคับในการออกแบบ ‘การออกแบบให้รู้ลึกในกฎหมายชั้นสูง และเทคนิคพิเศษ เอาชนะข้อจำกัดทางกฎหมายพื้นฐานให้ได้จำนวนชั้นที่มากกว่า และจำนวนพื้นที่ขายมากกว่าการออกแบบปกติเป็นสิ่งที่ถนัด และเป็นจุดขายของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์’
งานชิ้นแรกของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ ในการออกแบบขออนุญาตก่อสร้าง คือ การออกแบบโรงงาน ค.ส.ล. โครงเหล็ก 1 ชั้น ของ บริษัท โคเอ อินดัสเทรียล เดเคอร์ จำกัด พื้นที่ 962.00 ตารางเมตร ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับเทศบาลเมืองท่าโขลง เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นออกแบบ และเขียนแบบจากการประมวลความรู้ที่ได้รับหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเต็มงานด้วยตนเองครั้งแรกกับงานออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) ที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์พื้นฐานเขียนแบบพื้นฐานมาจากการทำงานสถาปนิกภาคเอกชนก่อนศึกษาต่อปริญญาโท การแลกเปลี่ยนความรู้กับวิศวกรโครงสร้าง และงานระบบด้วยตนเองครั้งแรก ประสานกับคำแนะนำของเพื่อนสถาปนิกที่มีประสบการณ์ที่พบเจอขณะเรียนปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และช่างเขียนแบบโรงงานมืออาชีพที่เพื่อนที่เรียนปริญญาโทด้วยกันแนะนำให้รู้จัก ซึ่งงานนี้เป็นผลงานที่อยู่ในความทรงจำ และเป็นงานที่ได้ฝึกประสบการณ์ออกแบบ และเชียนแบบด้วยตนเองครบวงจรทั้งการรเขียนแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมสุขาภิบาล ครั้งแรกด้วยสองมือ ในระยะเวลาบีบรัด 1 สัปดาห์ เพื่อรองรับเครื่องจักรเคลือบลายวัสดุที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศที่มีระยะเวลาจำกัด ผลงานนี้เป็นซึ่งผลงานนี้เป็นผลงานชิ้นหนึ่งในการใช้เลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิกของ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ กับสภาสถาปนิก ขอขอบคุณท่านเจ้าของโครงการที่ให้โอกาสครั้งนั้นเป็นอย่างสูง
ที่ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ พึ่งให้ความเห็นเนื่องเรื่องการออกแบบในเรื่องวัสดุ ดีไซน์ หรือสิ่งที่จะช่วยไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของ Covid-19 หลังจากผ่านไปหลายเดือน เนื่องจากต้องการเปรียบเทียบสถานการณ์การใช้ชีวิตของคนช่วงก่อนเปิดภาคการศึกษาที่มีการ Lock Down อย่างเข้มข้น และหลังเปิดภาคการศึกษาช่วงคลาย Lock Down การสอนนักศึกษาสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบันที่ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ รับผิดชอบทั้งอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ ต้องเปลี่ยนจากการสอน Offline เป็นการสอน Online ครบวงจรทั้งหมด รวมทั้งการสอบวัดผล ทำให้ต้องมีการลงวินโดว์ใหม่ ลงโปรปแกรมสำหรับสอน Online และจัดห้องทำงานเป็น Studio เพื่อการสอน และการประชุมพูดคุยกับลูกค้าในงานวิชาชีพ มีการจัดแสง 3 จุดแบบการถ่ายภาพยนต์ Key Light, Fill Light และ Back Light เพื่อให้การ Work From Home ให้ศักยภาพสูงสุด การออกแบบห้องสำนักงานควรมีผนัง Background กว้างๆ ไม่มีสิ่งของขวางวัสดุพื้นผิวใควรเป็นสีสว่างเพื่อประหยัดไฟฟ้าจากการใช้ดวงโคมส่องสว่างเวลาถ่ายทำ หรือหากมีดีไซน์ควรมีมุมห้องที่หลากหลายไม่มีสิ่งของที่รกในห้อง สิ่งของที่ไมจำเป็นควรทิ้งให้หมด ตามคำนิยม “ฮาวทูทิ้ง” เพื่อเปลี่ยนมุมในการถ่ายวีดีโอเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ การออกแบบห้องทำงานในช่วง Covid-19 ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อควรออกแบบสตูดิโอให้เป็นส่วนตัวยากต่อการเข้าถึง และมี Buffer Area ข่วงก่อนเข้าถึงห้องควรมีพื้นที่ให้เปลี่ยนเสื้อผ้า และทำความสะอาดร่างกายจากภายนอกให้เข้าสู่ภายในห้องทำงาน ในห้องทำงานจากเดิมต้องเปลี่ยนเป็นห้องถ่ายวีดีโอที่ทำงาน ที่สามารถด้วยตัวคนเดียวจากรีโมท ขาตั้งกล้อง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงานพื้นฐาน เมื่อทำงานแล้วเสร็จ ก็ปิดส่วนทำงานมีส่วน Buffer Area เพื่อทำความสะอาดก่อนเข้าสุ่ห้องนอน จะเห็นได้ว่าการใช้ชีวิตมนุษย์ในยุค Covid-19 จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก
ในแง่เศรษฐกิจวันนี้ยอมรับว่า ยุครุ่งเรืองของอาชีพสถาปัตยกรรม ด้านการออกแบบอพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม และอาคารสาธารณะทุกประเภทภาคเอกชนเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ที่กระผมทำต่อเนื่องมา 20 ปี และเปิดบริษัทมา 12 ปี อาจจะต้องปรับเปลี่ยนทิศทางในการจัดแสดงผลงาน และเข้าถึงผู้ประกอบการ แต่การทำงานในวิถีเดิมกับพันธมิตรในการแสดงผลงานออกบูธ ใน ‘งานสภาสถาปนิก’ 20’ (ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT) ยังคงเดิม ในส่วนความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการเอกชนช่วง Covid-19 ระบาดหนักครึ่งปีแรกของ ปี พ.ศ.2563 ทางเราก็เข้าใจในผลกระทบ และเข้าใจความหนักหน่วงที่ท่านผู้ประกอบการได้รับ หากท่านผู้ประกอบการปรับตัวได้ เห็นศักยภาพในที่ดิน มีไอเดียร์ใหม่ๆ และพร้อมลงทุน ทางเรายินดีบริการเต็มศักยภาพในการออกแบบอาคารเพื่อให้อาคารของท่านมีศักยภาพสูงสุดสอดคล้องกับยุค New Normal ปัจจุบันทางบริษัทพยายามปรับตัวไปรับงานราชการมากขึ้นเพื่อชดเชยผลกระทบจากงานภาคเอกชนทั้งงานออกแบบสถาปัตยกรรมทุกแขนง และงานควบคุมงานก่อสร้าง สนใจติดต่อ 086 610 5282
ในอนาคตการออกแบบหอพักและฟังก์ชันต่างๆ จะมีการปรับเปลี่ยนออกแบบภายในห้องให้โล่งมีเพลน Background สำหรับถ่ายวีดีโอ เพื่อการสอน Online ประชุม Online และ Live สด ในห้องควรมีเฟอร์นิเจอร์น้อยแต่มีศักยภาพสูงไม่เกะกะรกตาเพื่อความสะดวกในการถ่ายวีดีโอ มีการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อการจัดแสงในส่วนทำงานให้เหมาะกับการถ่ายวีดีโอ และมีมุมที่จัดแสงไว้สำหรับถ่ายวีดีโอในหลากหลายมุมเพื่อให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งตำแหน่งดวงโคมในจุดที่ถ่ายวีดีโอควรสามารถควรสามรถปรับ (Adjust) และย้ายได้ (Moveable) ระบบปรับอากาศทั้งระบบ Split Type ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีระบบฟอกอากาศที่สามารถกรองไวรัสโควิดได้ และระบบ Central Air ควรติดตั้งระบบฟอกอากาศที่สามารถกรองไวรัสโควิดได้ เพื่อฟอกอากาศที่ถูกนำกลับจาก Grill Return ก่อนถูกดูดกลับเข้าสู่ AHU การพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ควรมีการพ่นตามโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำรงชีวิตในห้องพักจะแตกต่างจากห้องพักยุคก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจนหากไวรัสนี้ยังอยู่กับพวกเรา
- เดอะ ราฟเฟิล คอนโดมิเนียม (ลาดพร้าว 42/1)
- ซีวีทเวลฟ์ เดอะเรสซิเดนซ์ (สุขุมวิท 53)
- แบมบู ฟอร์เรสท์ อพาร์ทเมนท์ (สุขุมวิท 52)
- เดอะพราว เรสซิเดนซ์ (ลาดพร้าว 18)
- เดอะคลาสซี่ คอนโดมิเนียม (รัชดาภิเษก 19)
- บางนา 21 เรสซิเดนซ์ (บางนาตราด 19 แยก 18)
- เดอะแลนด์สเคป คอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง)
- เดอะแลนด์สเคป คอนโดมิเนียม (แสงจันทร์, ระยอง)
- พลัส คอนโดมิเนียม (กะทู้, ภูเก็ต)
- บูกิตตา แอร์พอร์ท คอนโดมิเนียม (สาคู, ภูเก็ต)
- บิ๊กทรี เรสซิเดนซ์ (บางพลีนิเวศน์)
- พีเบอร์รี่เพลส อพาร์ทเม้นท์ (ลาดพร้าว 1 แยก 10)
- เดอะทริปเปิ้ลโอ๊ค อพาร์ทเม้นท์ (สุขุมวิท 33)
- สำนักงาน บริษัท ลาฟา จำกัด (อินทามระ 3)
- สำนักงาน บริษัท ทรีท็อป เคมิคัล แอนด์ ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (บรมราชชนนี)
- หอประชุมแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา (นครสวรรค์)