Taxi Fabric Project โปรเจคต่อเนื่องจากศิลปินอินเดียหลายท่าน มีขึ้นครั้งแรกในปี 2015 เหล่าดีไซเนอร์ร่วมมือกันสร้างระบบขนส่งสาธารณะอย่าง แท็กซี่อินเดีย ให้ดูสวย เด่น สะดุดตาด้วยสีสันสุดร้อนแรง ลวดลายสุดสร้างสรรค์ ซึ่งในครั้งนี้ เป็นโปรเจคต่อเนื่องจากปีก่อน มีการวาดภาพตกแต่งทั้งในบริเวณต่าง ๆ ภายในรถตุ๊กตุ๊ก และแท็กซี่ด้วยลวดลายสุดแปลก และสะดุดตา

แท็กซี่นับว่าเป็นหนึ่งในระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกสบายที่สุดในอินเดีย และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวอินเดีย คล้ายจะเป็นธรรมเนียมที่ว่า คนขับรถจะภูมิใจมากหากการบริการของเขาสามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน พวกเขากลับไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องความสวยงามหรือการตกแต่งรถซักเท่าไร

แท็กซี่อินเดีย

Tasavvur’ โดยดีไซเนอร์ Nasheet Shadani
Image: Sanket Avlani และ Siddharth Samant

โดยทีมดีไซเนอร์ กล่าวว่า “คนอินเดีย มักจะมองว่าการตกแต่งหรือการดีไซน์ เป็นแค่เรื่องที่เรียนกันในโรงเรียนเท่านั้น จึงไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ซึ่งเกิดจากการที่คนรุ่นก่อน ๆ ไม่เข้าใจ และไม่เห็นความสำคัญ ไม่ได้มองว่าการดีไซน์ที่ดีส่งผลกระทบที่ดีอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น โปรเจคออกแบบในแต่ละโปรเจค ยังเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพและความสามารถ แต่การจะเปลี่ยนมุมมองของคนอินเดียให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องนั้นเป็นไปได้ยาก” ซึ่งโปรเจคนี้นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์ได้แสดงความสามารถของตนบอกเล่าเรื่องราวผ่านผลงาน

แท็กซี่อินเดีย

ศิลปินได้แรงบันดาลใจมาจากมุมมองและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
Image: Sanket Avlani และ Siddharth Samant

ผลงานล่าสุดนี้มีชื่อว่า ‘Tasavvur’ ออกแบบโดยดีไซเนอร์ Nasheet Shadani ซึ่งเขาสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นโดยนำแรงบันดาลใจมาจากมุมมองและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น วัฒนธรรมเดลี, จักรวรรดิโมกุล, บอลลีวูด ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน รวมไปถึงศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ โดยหนึ่งในแรงบันดาลใจของเขามาจากผลงานในสมัยเด็กที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นภาพแนวเดียวกับศิลปะของแวนโก๊ะ

การตกแต่งรถตุ๊กตุ๊กเป็นการตกแต่งแบบเน้นสีสัน แสดงภาพดวงดาวรอบ ๆ สุสาน Humayun ซึ่งคำว่า ‘Tasavvur’ ในภาษาอูรดู หมายถึง จินตนาการ Shadani ใช้เทคนิคทางด้านศิลปะในการถ่ายทอดความเป็นเมืองเดลีเก่า

แท็กซี่อินเดียผลงานได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมเดลี, จักรวรรดิโมกุล, บอลลีวูด และศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์
Image: Sanket Avlani และ Siddharth Samant

แท็กซี่อินเดีย

การตกแต่งภายในเน้นสีสันสดใส
Image: Sanket Avlani และ Siddharth Samant

แท็กซี่อินเดีย

รายละเอียดการตกแต่งของ Tasavvur’ 
Image: Sanket Avlani และ Siddharth Samant

ผลงานการตกแต่งอีกหนึ่งชิ้น มีชื่อว่า ‘The Good, The Bad and The Beautiful’ โดย ดีไซเนอร์ Namrata Vijay Gosavi ที่วาดภาพเล่าเรื่องราวของตัวละครในซีรีส์อินเดีย

Gosavi กล่าวว่า “ผมเกิดและโตที่เมืองนี้ และเดินทางโดยแท็กซี่ทุกวัน ผมเห็นแท็กซี่มาตั้งแต่เด็ก บอลลีวูดเนี่ยแหละเหมาะที่สุดที่จะใช้เป็นไอคอนของอินเดีย เพราะบอลลีวูดมีความหมายหลากหลาย หมายถึงฮีโร่ก็ได้ หมายถึงคนชั่วก็ได้ โดยชื่อ ‘The Good, The Bad and The Beautiful’ มีความหมายถึง ฮีโร่ คนชั่ว และ นางเอก ในภาพยนตร์”

แท็กซี่อินเดีย

‘The Good, The Bad and The Beautiful’ โดยดีไซเนอร์ Namrata Vijay Gosavi

แท็กซี่อินเดีย

‘The Good, The Bad and The Beautiful’ เล่าเรื่องราวของตัวละครในซีรีส์อินเดีย

แท็กซี่อินเดียภาพของฮีโร่ คนชั่ว และ นางเอกที่นำมาใช้เป็นธีมในการตกแต่ง

ต่อมา เป็นผลงานการร่วมมือกันของดีไซเนอร์ Kanika Parab และ Neka Kamath ออกแบบแท็กซี่แฝดขึ้นที่มุมไบ ในชื่อ ‘Just Missed Love Story’ โดยเล่าเรื่องราวของเด็กผู้ชายและผู้หญิงที่แอบมองและตกหลุมรักกันขณะโดยสารรถแท็กซี่ที่ขับสวนกัน ซึ่ง Kanika Parab เป็นคนคิดพล็อตเรื่องนี้ขึ้น และได้ Neka Kamat มาเขียนเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาเทวนาครีนั้น เป็นฝีมือของ Sushant Kadam

แท็กซี่อินเดีย

 ‘Just Missed Love Story’ ผลงานการร่วมมือกันของดีไซเนอร์ Kanika Parab และ Neka Kamath

แท็กซี่อินเดียถ่ายทอดเรื่องราวและรายละเอียดบนหลังคารถ

แท็กซี่อินเดีย

รายละเอียดต่าง ๆ บนหลังคา

แท็กซี่อินเดียดีไซเนอร์เลือกถ่ายทอดเรื่องราวความรักลงในรถแท็กซี่

แท็กซี่อินเดีย

มีการตกแต่งโดยใช้คำพูด อย่าง ‘almost’ และ ‘you&me’

แท็กซี่อินเดีย

ผู้โดยสารสามารถอ่านเรื่องราวที่ดีไซเนอร์ตั้งใจถ่ายทอดขณะโดยสารรถแท็กซี่

Source: designboom

Previous articleNike ขยายคลังสินค้าใหม่ ภายใต้แนวคิดการจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบยั่งยืน
ด้วยวิธีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Next articleทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย VS เศรษฐกิจ ครึ่งปี 59
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม