อัฟกานิสถาน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีงานสถาปัตยกรรมอันสวยสดงดงาม ท่ามกลางภูมิประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทะเลทรายและที่ราบสูง แถมยังไม่มีส่วนใดของประเทศติดกับทะเล จึงทำให้งานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะมีภาพพื้นหลังเป็นภูเขาและทะเลทราย จะมีพื้นที่สีเขียวติดมาบ้างเล็กน้อย

และในเรื่องของดีไซน์ที่มีการปรับเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบตามช่วงเวลาต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่ กรีก, เปอร์เซีย, อินเดีย และยุโรปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา

แต่การจะเข้าออก ‘อัฟกานิสถาน’ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะมีปัญหาเรื่องสงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ทีมงาน BuilderNews จึงอยากจะพาทุกท่านชมงานสวย ๆ สถาปัตยกรรมงาม ๆ ที่ไม่ต้องไปไกลและเสี่ยงอันตรายถึงอัฟกัน

 

ป้อมปราการเฮรัต

ป้อมปราการเฮรัต สร้างขึ้น 330 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ป้อมแห่งนี้ถูกทำลายและสร้างใหม่หลายต่อหลายครั้งตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ป้อมปราการแห่งนี้มีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 70 เมตร สร้างขึ้นด้วยอิฐเผา มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมหอคอยรอบทิศทาง 13 แห่งด้วยกัน ป้อมปราการเฮรัตได้รับการปรับปรุงใหม่ครั้งใหญ่ในช่วงปี ค.ศ. 2006 ถึง 2011

The Qala Ikhtyaruddin (Citadel) in Herat, Afghanistan on Sunday, June 19, 2011. (S.K.Vemmer/Department of State)

 

หอคอยสุเหร่าจาม

หอคอยสุเหร่าจามสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1190 ติดกับแม่น้ำฮาริ หอคอยแห่งนี้ทำจากอิฐอบเป็นหลัก สลับด้วยปูนปั้นและกระเบื้องเพื่อสร้างลวดลายเรขาคณิตขึ้นมา โดยรอบหอคอยประดับด้วยตัวอักษรประดิษฐ์คูฟิกและนักชี และนำโองการจากอัลกุรอานมาประดับด้วย ตัวหอคอยมีความสูง 65 เมตร ตั้งอยู่บนฐาน 8 เหลี่ยม จุดประสงค์ของการสร้างนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่า ‘เพื่อรำลึกถึงชัยชนะของราชวงศ์ Ghurid เหนือ Prithviraj Chauhan’

ด้วยความเป็นห่วงว่าหอคอยจะถล่มลงมา UNESCO จึงยกให้หอคอยสุเหร่าจาม เป็นมรดกโลกที่อยู่ในอันตรายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002

 

ศาลเจ้าควาจาอับดุลลอฮ์

ศาลเจ้าควาจาอับดุลลอฮ์เป็นที่ฝังศพของนักบุญควาจา อับดุลลาห์ อันซารี สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1428 เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบทิมูริด ซุ้มทางเข้าหลักเป็นแบบกึ่งโดมทรงห้าเหลี่ยมขนาดใหญ่ประดับด้วยกระเบื้องโมเสกสลับสับเปลี่ยน ผนังอีวานถูกเก็บไว้ในสภาพเกือบสมบูรณ์ วัสดุส่วนใหญ่ทำจากอิฐเคลือบด้วยเทอร์ควอยซ์ ‘สไตล์บานาย’ นับว่าเป็นสถานที่เก่าแก่อีกแห่งที่ยังคงสภาพดั้งเดิมได้อย่างสมบูรณ์

Image 10 – Khwaja Abdulla Shrine © archnet.org

 

มัสยิดใหญ่แห่งเฮรัต

Friday Mosque © tripadviser.com

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘มัสยิดจุมมะห์’ สร้างขึ้นโดย Ghurids ภายใต้การปกครองของสุลต่าน Ghiyath al-Din Muhammad Ghori ผู้ซึ่งวางรากฐานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1200 และเสร็จสิ้นในช่วงศตวรรษที่ 15 ตัวมัสยิดถูกวางผังแบบอิวานดั้งเดิม ล้อมกรอบด้วยกำแพงสามด้านและมีลานตรงกลาง ภายนอกและภายในตกแต่งด้วยอิฐสีชมพูยึดด้วยปูนปลาสเตอร์ตัดด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินที่มีลวดลายพืชพรรณและดอกไม้ ในปี ค.ศ. 2012 พ่อค้าชาวอัฟกานิสถานราว ๆ 50 คนสัญญาว่าจะมอบเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกองทุนในการปรับปรุงมัสยิด

Image 13 – Friday Mosque © flicker.com
Image 14 – Friday Mosque © flicker.com

 

มัสยิดบลู

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ศาลเจ้า Hazrat Ali’ สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 15 ร่ายล้อมไปด้วยความวุ่นวายของเมืองมะซารีชะรีฟ มัสยิดออกแบบมาในโทนสีฟ้า กระเบื้องที่ปูด้านล่างให้ความรู้สึกเหมือนมัสยิดแห่งนี้กำลังลอยอยู่เหนือน้ำ ด้านงานสถาปัตยกรรมออกแบบสไตล์เปอร์เซีย ประดับด้วยกระเบื้องโมเสกโพลีโครมอย่างประณีต

Image 15 – Blue Mosque © Embassy Of Islamic Republic of Afghanistan
Image 17 – Blue Mosque © Pinterest

 

สวน Babur

Bagh-e-Babur © orientalarchitecture.com

สวนแห่งนี้เป็นอุทยานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในเมืองคาบูล มีขนาดใหญ่ถึง 115,000 ตารางเมตร ได้รับการพัฒนาขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 1528 ในอดีตเคยเป็นที่พำนักแห่งสุดท้ายของจักรพรรดิโมกุลแห่งบาบูร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1933 ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่สาธารณะมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ ว่ากันว่ามัสยิดหินอ่อนสีขาวที่ตั้งอยู่ด้านในเป็นที่ฝังศพของจักรพรรดิบาบูร์

DaNi(HR.R)

 

สุสาน Ahmad Shah Durrani

Image 22 – Ahmed Shah Durrani Mausoleum © twitter

สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นราว ๆ ศตวรรษที่ 19 รายล้อมไปด้วยสุสานอื่น ๆ มากมาย เป็นหลุมฝังศพของ Ahmed Shah Durrani ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ Durrani ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ก่อตั้งรัฐอัฟกานิสถานสมัยใหม่ สุสานมีโครงสร้างทรง 8 เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอิสลามโบราณ หลังคาโดมด้านบนปูด้วยกระเบื้องสีเขียวอมฟ้าและมีแร่มินาร์อยู่รอบ ๆ สุสานแห่งนี้

 

สุสาน Timur Shah Durrani

Taimur Shah Durrani Mausoleum © ttnotes.com

สุสานของ Timur Shah Durrani ลูกชายของ Ahmed Shah Durrani นับเป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งใจกลางกรุงคาบูล สร้างขึ้นราว ๆ ศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ 8 เหลี่ยมเหมือนกัน แตกต่างกันที่สุสานของลูกชายนั้น จะไม่ได้ประดับหรือตกแต่งด้วยสีสันเท่าไหร่นัก หลังคาโดมด้านบนจึงประดับด้วยกระเบื้องสีเงินเท่านั้น

Image 24 – Taimur Shah Durrani Mausoleum © ismailimail.com

 

มัสยิด Shah-Do Shamshira

Shah do shamshira © flickr

มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงคาบูล สร้างขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 1920 ในรัชสมัยของอามานุลเลาะห์ข่าน โดยชื่อมัสยิดนั้นตั้งตามแม่ทัพอาหรับที่ต่อสู้ในสงครามช่วงศตวรรษที่ 7 สำหรับงานสถาปัตยกรรมค่อนข้างแปลกสำหรับสถาปัตยกรรมทางศาสนาอิสลาม เพราะใช้ปูนปั้นสไตล์อิตาลีสีเหลืองที่ตัวโครงสร้างตัดกับสีฟ้าบริเวณหลังคา ซึ่งหลายคนเรียกสไตล์นี้ว่า ‘อัฟกันบาโรก’

Image 28 – Shah do shamshira © flickr

 

พระราชวังดารุลอามาน

สถานที่สุดท้ายคือพระราชวังดารุลอามาน หรืออีกชื่อเรียกคือ ‘ที่พำนักแห่งสันติ’ ตั้งอยู่ในเมืองคาบูล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1927 โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศษ A. Godard และ M. Godard พร้อมด้วยทีมวิศวกรชาวเยอรมนี Walter Harten ที่รังสรรค์พระราชวังแห่งนี้ออกมาในสไตล์นีโอคลาสสิกแบบยุโรป พระราชวังมีลักษณะอาคารรูปตัว U มีทั้งหมด 3 ชั้น 150 ห้อง ภายในตกแต่งสไตล์ยุโรปด้วยหินอ่อนเป็นส่วนใหญ่ หลังจากได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากสงครามและสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 2019 พระราชวังแห่งนี้ก็ได้ออกแบบเพื่อเป็นที่พักรับรองของแขกระดับสูง และในปี ค.ศ. 2020 ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นโรงพยาบาลชั่วโครงพร้อมเตียง 200 เตียง เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศ

Image 31 – Darul Aman Palace © PJ Photography

 

ที่มา:
ป้อมปราการเฮรัต
https://archnet.org/sites/3939
https://www.atlasobscura.com/places/blue-mosque-afghanistan
หอคอยสุเหร่าจาม
https://en.wikipedia.org/wiki/Shrine_of_Khwaja_Abd_Allah
https://archnet.org/sites/6410
ศาลเจ้าควาจาอับดุลลอฮ์
https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Mosque_of_Herat
https://archnet.org/authorities/3698/sites/3931
มัสยิดใหญ่แห่งเฮรัต
https://www.orientalarchitecture.com/sid/846/afghanistan/kabul/shah-do-shamshira-mosque
https://www.beautifulmosque.com/shah-do-shamshira-mosque-in-kabul-afghanistan
https://en.wikipedia.org/wiki/Shah-Do_Shamshira_Mosque
https://www.gpsmycity.com/attractions/shah-do-shamshira-mosque-54626.html
https://www.lonelyplanet.com/afghanistan/kabul/attractions/shah-e-doh-shamshira-mosque/a/poi-sig/451053/355754
มัสยิดบลู
https://en.wikipedia.org/wiki/Gardens_of_Babur
https://whc.unesco.org/en/tentativelists/5469/
https://www.orientalarchitecture.com/sid/845/afghanistan/kabul/bagh-e-babur-garden
https://archnet.org/sites/3940/media_contents/89334
สวน Babur
https://en.wikipedia.org/wiki/Herat_Citadel
https://archnet.org/sites/6834
สุสาน Ahmad Shah Durrani
https://en.wikipedia.org/wiki/Darul_Aman_Palace
สุสาน Timur Shah Durrani
https://en.wikipedia.org/wiki/Minaret_of_Jam
https://whc.unesco.org/en/list/211/
https://archnet.org/sites/3928
มัสยิด Shah-Do Shamshira
https://en.wikipedia.org/wiki/Tomb_of_Timur_Shah_Durrani
https://archnet.org/sites/5326
https://www.gpsmycity.com/attractions/timur-shah-mausoleum-54625.html
พระราชวังดารุลอามาน
https://archnet.org/sites/5787/media_contents/46261
https://en.wikipedia.org/wiki/Tomb_of_Ahmad_Shah_Durrani

Previous articleเจาะลึก! ท่อพีวีซี เอสซีจี รุ่น Green Premium
ดีอย่างไร? ทำไมถึงควรเลือกใช้?
Next article‘Anstalten’ เรือนจำในกรีนแลนด์ ผ่านการดีไซน์ภายใต้คอนเซ็ปต์มนุษยธรรม เพื่อเยียวยาจิตใจ
ผู้ต้องขัง
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ