ที่งาน Beijing Design Week 2015 ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท Laboratory for Creative Design (LCD) ออกแบบและก่อสร้าง Pavilion ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ที่มีความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรม ทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนจาก กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด ด้วยว่า เป็นโครงสร้างที่ทำจากเทคโนโลยี 3D Printing ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

Pavilion ดังกล่าว ชื่อว่า ‘Vulcan’ เป็นภาษาละติน แปลว่า ‘ภูเขาไฟ’ โครงสร้างของ Pavilion เป็นโครงตาข่ายสีขาวถักร้อยไขว้กันไปมา ด้วยองค์ประกอบของชิ้นงานพิมพ์ 3มิติ ที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไปกว่า 1,086 ชิ้น ก่อเกิดเป็น Pavilion ขนาดใหญ่ ความยาว 8.08 เมตร สูง 2.88 เมตร โครงสร้าง Vulcan เป็นทรงโค้ง คล้ายกับกลุ่มเถ้าควันรูปดอกเห็ด ที่พวยพุ่งออกมาจากปากปล่อง ขณะเกิดการปะทุของภูเขาไฟ

ทั้งนี้ Vulcan จัดแสดงอยู่ในส่วนของ Parkview Green ที่งาน Beijing Design Week 2015 โดยโครงสร้างสีขาวสว่างของ Pavilion สร้างความสะดุดตาแก่ผู้ชมงานยิ่งนัก สำหรับการก่อสร้าง ใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ ขนาดใหญ่จำนวน 20 เครื่อง พิมพ์องค์ประกอบทั้งหมด ในเวลา 30 วัน และใช้เวลาอีก 12 วัน ในการประกอบให้เป็น Pavilion โดยแรงงาน 15 คน

ด้าน Yu Lei และ Xu Feng สถาปนิกจาก LCD ระบุว่า “Vulcan เป็นตัวแทนของความเป็นจริงที่ว่า สถาปนิกสมัยใหม่ สามารถนำเสนอคอนเซ็ปต์ และไอเดีย ให้สามารถก่อสร้างสำเร็จได้จริง จากการออกแบบและผลิตด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งการพัฒนาและความก้าวหน้านี้ จะช่วยลดเส้นแบ่งระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะให้น้อยลง”

Project Info

Design & Fabrication: LCD (laboratory for creative design)
Design Team: Yu Lei, Feng Xu, Liu Zhongyuan, Xiao Sai, Guo Wenqiang
Sponsored by: Beijing Design Week, ACSC, Parkviewgreen

vulcan-largest-3d-printed-architectural-pavilion-bjdw-beijing-design-week-designboom-20vulcan-largest-3d-printed-architectural-pavilion-bjdw-beijing-design-week-designboom-21VULCAN-largest-3D-printed-architectural-pavilion-BJDW-beijing-design-week-designboom-22vulcan-largest-3d-printed-architectural-pavilion-bjdw-beijing-design-week-designboom-23vulcan-largest-3d-printed-architectural-pavilion-bjdw-beijing-design-week-designboom-08

Source: Designboom
All Images by Laboratory for Creative Design
Previous articleHawaii กับแนวคิดในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากมหาสมุทร
Next articleสารเคลือบผิววัสดุทำจากกระจก ช่วยลดความร้อนภายในอาคารได้
กิตติยา เธียรนันทน์
บรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส วิชาโทการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำสำนักข่าวหลักในประเทศ 2 แห่ง ปัจจุบันผันมาเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าววงการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม