ทุกวันนี้ปัญหามลพิษทางอากาศกลายเป็นปัญหาใหญ่ในบางประเทศ ส่งผลให้นักออกแบบเริ่มนำนวัตกรรมที่ช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศ มาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบอาคาร เช่น ฟาซาดอาคาร Photocatalytic โดยบริษัทออกแบบ Nemesi ที่ได้นำมาจัดแสดงในงาน Expo Milano ปี 2015 ซึ่งมีคุณสมบัติในการดักจับมลภาวะในอากาศ เมื่อมีแสงไฟตกกระทบ รวมไปถึง Breathe Brick ก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมเช่นกัน ที่จะช่วยกำจัดฝุ่นละอองในอากาศ ก่อนจะปล่อยเข้าสู่อาคาร ซึ่งนอกจากจะทำให้อากาศภายในอาคารบริสุทธิ์แล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยดีตามไปด้วย

Breathe Brick ได้แรงบันดาลใจมาจากหลักการทำงานของเครื่องดูดฝุ่น คิดค้นขึ้นโดย Carmen Trudell ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสถาปัตยกรรม Poly San Luis Obispo และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Both Landscape and Architecture ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายอากาศของอาคาร ด้วยการใช้อิฐที่ทำมาจากคอนกรีตพรุนซีแพค (Porous Concrete) มาก่อเป็นผนังด้านหน้าอาคารหนา 2 ชั้น เพิ่มความสมบูรณ์แบบด้วยฉนวนกันความร้อนชั้นใน จุดเด่นคือส่วนกลางด้านในของอิฐ ที่นักออกแบบได้ติดตั้งระบบไซโคลนดักฝุ่น ที่มีการแยกอนุภาคฝุ่นละอองออกจากอากาศ ไปไว้ในถังพักที่ฐานของผนัง (อากาศและฝุ่นที่ไหลเข้าสู่ไซโคลนจะถูกทำให้เกิดการหมุนวนเหมือนกับการหมุนของพายุไซโคลน ซึ่งแบ่งการหมุนวนออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอก เป็นการหมุนวนของอากาศที่มีทิศทางม้วนลงด้านล่างตามผนังไซโคลน ซึ่งจะพัดพาเอาฝุ่นหยาบออกมาด้วย ส่วนการหมุนวนชั้นใน เป็นการหมุนวนที่เกิดขึ้นที่ด้านล่างของไซโคลนโดยมีทิศทางม้วนขึ้นด้านบนตามแนวศูนย์กลางไซโคลน ซึ่งจะพัดพาฝุ่นละเอียดออกจากไซโคลนไปพร้อมกับอากาศได้ : nederman)Breathe Brick

ส่วนประกอบสำคัญสองส่วน ได้แก่ คอนกรีตอิฐ และคอปเปลอร์พลาสติก (ข้อต่อที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล) ทั้งสองมีส่วนช่วยในการจัดเรียงอิฐและเปิดทางให้อากาศจากภายนอกเข้าสู่รูโหว่ในตัวอิฐ ตัวอิฐคอนกรีตเองจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม (faceted) เมื่อเรียงตัวกันจะเกิดช่องว่างซึ่งทำให้อากาศผ่านเข้าในระบบได้โดยตรง และยังมีช่องว่างอีกส่วนสำหรับใส่โครงสร้างที่เป็นเหล็กด้วย

 

13

Breathe Brick สามารถทำงานได้ดีกับทั้งระบบกลไกและระบบระบายอากาศ ซึ่งจะคอยส่งอากาศที่ผ่านการกรองแล้วไปยัง Wall Plenum ซึ่งถือว่าอากาศบริสุทธิ์แล้ว สามารถปล่อยเข้าไปภายในอาคารได้ ผ่านอุปกรณ์เครื่องกล หรือผ่านช่องลมเล็ก ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบแบบพาสซีฟ เช่น การระบายอากาศแบบใช้ปล่อง (stack ventilation)

14

14.4

ในการทดสอบ Windtunnel tests พบว่า ระบบสามารถกรองอนุภาคเล็ก ๆ ได้ 30% เช่น มลพิษทางอากาศ และกรองอนุภาคขนาดใหญ่ เช่น ฝุ่น ได้ถึง 100% ซึ่งทาง Trudell หวังที่จะให้อิฐยุคใหม่นี้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดระดับมลพิษในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และมักก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมา เนื่องจากกฏระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่ค่อยเข้มงวดนัก

15 16

 

Source: archdailybooks.google

Previous articleงานเสวนาสถาปัตยกรรม “STILL PROGRESS”
Next articleโฮมโปรทุ่มโปรโมชั่น “Kitchen & More ครบเครื่องทุกเรื่องครัว” เปลี่ยนครัวได้ตามใจ
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม