สหรัฐอเมริกาใช้ขวดน้ำกว่าปีหนึ่งกว่า 8.6 พันล้านขวด แต่มีเพียง 1 ใน 5 ของทั้งหมดที่สามารถนำมารีไซเคิลได้
โชคดีที่ตอนนี้ นักศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้คิดค้นวิธีที่จะแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเปลี่ยนขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งให้กลายเป็นคอนกรีตทนน้ำ และด้วยวิธีนี้ ทำให้ในอนาคตขวดพลาสติกจะถูกใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุที่ทำให้อาคารหรือสิ่งก่อสร้างแข็งแรงยิ่งขึ้น
จากรายงานการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ Waste Management , นักศึกษาจาก MIT ค้นพบวิธีการสร้างคอนกรีตที่แข็งแรงกว่าคอนกรีตทั่วไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยการนำพลาสติกที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วไปฉายด้วยรังสีแกมมาเพื่อให้เปลี่ยนเป็นผง จากนั้นก็ผสมเข้ากับคอนกรีต ด้วยวิธีการนี้สามารถป้องกันไม่ให้ขวดน้ำพลาสติกต้องจบลงด้วยการเป็นขยะ ไมเคิล ชอร์ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์และวิศวกรรมศาสตร์ ของ MIT ได้กล่าวว่า “มีพลาสติกจำนวนมหาศาลที่จบลงที่การเป็นขยะในแต่ละปี เทคโนโลยีของเราจะนำพลาสติกเหล่านั้นออกจากกองขยะและนำมาผสมเข้ากับคอนกรีต นอกจากจะทำให้เราใช้ซีเมนต์น้อยกว่าเดิมในการสร้างคอนกรีต ซึ่งหมายความว่าเราจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง และทำให้คอนกรีตที่ได้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น”
แคโรไลน์ แชเฟอร์ และ ไมเคิล ออร์เตก้า นักศึกษาจาก MIT ได้ค้นพบความเป็นไปได้ที่จะรวมเอาพลาสติกเข้ากับคอนกรีตนี้ในชั้นเรียนวิชาโครงการออกแบบระบบนิวเคลียร์ ซึ่งในอนาคตทีมวิจัยมีความตั้งใจจะทดลองกับพลาสติกชนิดอื่นๆ ด้วยรังสีแกมม่าแบบอื่นๆ ด้วย เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของคอนกรีตที่ได้
“กระบวนการสร้างคอนกรีตปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจก คิดเป็น 4.5 เปอร์เซ็นต์ของโลก หากเราลดเพียง 1.5 จากทั้งหมด นั่นคือคุณสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 0.0675 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด นั่นก็ทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว” ไมเคิล ชอร์ต กล่าว
ที่มา : inhabitat