หน้าฝน “น้ำท่วม” หน้าร้อน “น้ำแล้ง” นี่คือประเทศไทย รวมทั้งเมืองใหญ่สุด เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ “ดอน” เมือง น้ำท่วม “หนอง” งูเห่า น้ำไม่ท่วมชายเมืองกรุงเทพฯ ของเมืองหลวง ซึ่งเป็น Mega City ท่านเชื่อหรือไม่ว่าไม่มีน้ำประปาและหน้าร้อนน้ำแล้ง

ยิ่งภาคใต้ “ฝน 8 แดด 4 เดือน” นี่คือประเทศไทยน้ำเป็นทรัพยากรมีค่ายิ่ง ผลิตไฟก็ได้ เกษตรกรรมก็ได้ (เราเป็นเมืองเกษตรกรรมต้องมีน้ำตลอดปี) ในเมืองคนก็ต้องบริโภคอุตสาหกรรมก็ต้องใช้น้ำ แต่ทุกรัฐบาลมองข้ามความสำคัญเรื่องน้ำ ในปัจจุบันก็เน้นเรื่อง Logistic การขนส่งคมนาคม ซึ่งก็จำเป็นและเป็นโครงการ Back Bone แต่น้ำคือ “สายโลหิต”บางประเทศเขามีวาระแห่งชาติกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยระบบคมนาคม เราเองก็น่าจะมีวาระแห่งชาติ “กระต้นุ เศรษฐกิจด้วยระบบน้ำ” ตอนน้ำท่วมบ้าง โดยรัฐบาลชุดที่ผ่านมาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็มีโครงการลงทุน “จัดระบบน้ำ” แต่พอน้ำไม่ท่วมก็ลืม ตามแบบฉบับคนไทย

มาดูภาพรวมของน้ำทั่วโลกกัน นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาว่าน้ำมีมากที่สุดคือในอากาศ ในบรรยากาศเป็นความชื้น ที่กลั่นกรองการระเหยความร้อนของโลกแล้วตกมาเป็นฝนสร้างชีวิตทุกชีวิต รองลงมาคือน้ำทะเล ต่อมาคือน้ำใต้ดิน และน้อยที่สุดคือน้ำผิวดินซึ่งมวลมนุษย์ก็รู้จักแต่น้ำผิวดินที่แย่งกันใช้ ใช้แล้วก็ทิ้งทะเล รวมทั้งปล่อยน้ำดีลงทะเลกันเป็นว่าเล่น

กลับมาดูน้ำของประเทศไทยกันบ้าง ในปีนี้น้ำจะแล้งมากๆ โดยที่เรายังใช้แนวคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ แก้ปัญหาน้ำแล้ง เรามีกรมชลประทาน มีกระทรวงทรัพยากรแห่งชาติ มีกรมเจ้าท่า ที่ได้แต่จะรอฝนให้ตกอย่างเดียว แต่เก็บน้ำไม่เป็น เก็บไม่ได้ น่าสงสารประเทศไทยมาก ทีที่จริงน้ำต้องเป็นวาระอันดับแรกของชาติ สำคัญกว่า Mass Transit หรือ Logistic ทั้งระบบอีก เพราะสามารถใช้ทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างชีวิตให้ชาติได้ และเป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเชื้อสายยิว ได้พัฒนา Innovation ที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นทะเลทรายแห้งแล้งเขาพัฒนาเอา “ความชื้นในอากาศ” ตอนกลางคืนมากลั่นเป็นน้ำ ใช้ Solar ประกอบเทคโนโลยี เหมือนแอร์บ้านเราที่กลั่นความชื้นออกมาเป็นหยดน้ำ ส่วนประเทศอเมริกาก็ใช้เทคโนโลยีไปทำน้ำให้ทหารนำไปใช้ที่ Middle East และมีขายอยู่ในตลาดแล้ว

เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ผู้เขียนได้ไปงานอสังหาฯ ที่ภูเก็ต ก็มีนักธุรกิจต่างชาตินำระบบนี้มาขายให้กับโรงแรมตามเกาะต่างๆ โดยระบบนี้แยกออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ระบบใหญ่เป็น Container ผลิตน้ำดื่มได้ทั้งหมู่บ้าน ลากจูงได้ ต่อเชื่อมเป็นยูนิตได้ ใช้ได้ทั้งไฟและ Solar ผลิตได้เป็น 10,000 ลิตร, ระบบกลางสามารถผลิตน้ำดื่มได้ 120-5,000 ลิตรต่อวัน เหมาะสำหรับใช้ในโรงแรมชุมชนขนาดเล็กแถบชายแดน กรุงเทพฯและชุมชนชนบท และระบบเล็กที่ผลิตเหมือนน้ำดื่มได้วันละ 28 ลิตรต่อวัน และเอาไปกรอกฆ่าเชื้อโรคดื่มได้ สะอาดตามมาตรฐาน WHO ซึ่งผู้เขียนได้ทดลองซื้อระบบเล็กมาให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จฬุาฯ และสำนักผู้ว่า ฯ กทม. ได้ทดลองใช้กันก็ถือว่าดีเยี่ยมแต่ผู้ขายขาดการบริการหลังการขายนับว่าน่าเสียดายมาก

ก็ขอฝากให้นักพัฒนาให้มองหาเทคโนโลยีมาช่วยเสริมการขุดบ่อบาดาล ช่วยเสริมโครงการของพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ผลิตฝนเทียมขึ้นก็มาจากคอนเซ็ปต์น้ำและความชื้นในอากาศซึ่งมีมากสุด โดยพระองค์ทรงมุ่งให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุดส่วนภาคเมืองและภาคอุตสาหกรรมก็ต้องช่วยตัวเองบ้างทั้งด้านพลังงานและน้ำใช้โดยเทคโนโลยีการทำน้ำจากอากาศน่าจะนำมาใช้ในเมืองได้ หรือใช้ร่วมกับ Solar ก็จะดีและขอฝากถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร และ กทม. ให้คิดนอกกรอบด้วยมิใช่รอแต่น้ำฝนหรือน้ำใต้ดิน อย่างเช่นจะทำน้ำจากทะเลก็บ่นว่าแพงกัน ซึ่งแน่นอนว่าน้ำสะอาดก็ควรจะแพงกว่าน้ำฝนหรือน้ำเหล้าอยู่แล้ว

กรุงเทพมหานคร ในฐานะเมืองใหญ่ก็ควรจะมีวาระแห่งน้ำ มิใช่มีแค่สำนักระบายน้ำที่คิดแต่จะระบายน้ำทิ้งทะเลท่าเดียว Recycle น้ำก็ไม่ทำ และพอฝนตกน้ำก็ท่วมทุกปีก็ขอฝากว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ด้วยนะครับว่า Mass Transit ดี ระบบรางดี ก็ขอให้คิดถึงระบบน้ำด้วย ช่วยยกระดับความสำคัญขึ้นมาด้วยนะครับ

นิตยสาร Builder Vol.32 JUNE 2016

Previous articleพลิกโฉมวงการเครื่องพิมพ์รุ่นเก่า ด้วยเครื่องปริ้น Paper ขนาดพกพา
พร้อมฟังก์ชั่นครบครัน
Next article“Twinpalms Residences MontAzure” โปรเจ็คอสังหาฯหมื่นล้าน ริมทะเลภูเก็ต
รศ.มานพ พงศทัศ
ที่ปรึกษานิตยสาร Builder อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย