สถาปนิกชาวอินเดีย Anupama Kundoo ออกแบบ บ้านต้านทานแผ่นดินไหวจากวัสดุเฟอร์โรซีเมนต์ นำมาจัดแสดงครั้งแรกในนิทรรศการศิลปะนานาชาติ เวนิสเบียนนาเลย์ (Biennale di Venezia) 2016 ณ พื้นที่จัดแสดงผลงานบริเวณอาร์เซนาเล่ (Arsenale)

ศิลปิน Kundoo ออกแบบบ้านราคาไม่แพง ในราคาที่ทุกคนเอื้อมถึง ในชื่อว่า Full Fill Home โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวบ้านยากจนในพื้นที่ชนบท ประเทศอินเดีย เน้นคอนเซ็ปต์ ECO Friendly เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญของบ้านต้นทุนต่ำ อยู่ที่การเลือกใช้วัสดุเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นวัสดุก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งอาศัยโครงของลวดตาข่ายเป็นวัสดุหลัก ทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงและทนทาน ต้านทานแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่ง สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ทำเฟอร์โรซีเมนต์ ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ ลวดตาข่าย และเหล็กโครง ซึ่งเป็นวัสดุที่หาซื้อได้ทั่วไป มีราคาถูก ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดค่าใช้จ่าย

บ้านต้านทานแผ่นดินไหวจากเฟอร์โรซีเมนต์

ความยืดหยุ่น เป็นปัจจัยหลักของการออกแบบบ้านต้านทานแผ่นดินไหวหลังนี้ ดังนั้นการก่อสร้างจึงเลือกใช้ระบบ
โมดูลาร์ คือการสร้างบ้านโดยใช้วัสดุสำเร็จรูปมาประกอบเข้าด้วยกัน และใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กเฟอร์โรซีเมนต์แบบกลวง จึงคล้ายกับการต่อเลโก้ ที่ขึ้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้หลากหลายขนาด หลากหลายรูปร่าง ไม่ว่าจะเป็นกำแพงบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งระยะเวลาในการสร้างก็รวดเร็วทันใจ เพียง 6 วันเท่านั้น และหากจะรื้อถอน ก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงวันเดียว

บ้านต้านทานแผ่นดินไหวจากเฟอร์โรซีเมนต์

นอกจากนี้ วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ในการสร้าง ได้มาจากวัสดุเหลือใช้ของการจัดแสดง German Pavilion ในนิทรรศการเวนิสเบียนนาเลย์เมื่อปีก่อน และครั้งนี้เมื่อเสร็จสิ้นเทศกาล บ้าน Full Fill Home จะนำไปบริจาคให้คนไร้บ้าน ในย่าน มาร์เกรา ต่อไป

บ้านต้านทานแผ่นดินไหวจากเฟอร์โรซีเมนต์

Source: Inhabitat

Previous articleอลังการงานสร้างส่วนขยายไบเทค
ซุปเปอร์ ทรัส 108 เมตร สุดท้าทาย
Next articleTake a Nap at the Airport
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม