สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศปิดซอยจุฬาฯ 5 เพื่อก่อสร้าง อุทยานและถนนจุฬาฯ 100 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุยายน 2559 เป็นต้นไป คาดแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีจุฬาฯ
จุฬาฯ ผุดโครงการยักษ์ “อุทยานและถนนจุฬาฯ100 ปี” บนพื้นที่ 30+21 ไร่ บริเวณจุฬาฯซอย 9 จรดถนนบรรทัดทอง ภายใต้แนวคิด “สืบสานความสง่างาม สอดประสานองค์ความรู้ สรรสร้างสู่ความยั่งยืน” เพื่อให้เป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ขนาดใหญ่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย
ภายในอุทยาน มีการปลูกพืชพรรณพื้นถิ่นหลากหลายชนิด ด้วยแนวคิด “ป่าในเมือง” มีอาคารอเนกประสงค์ สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรม พร้อมพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยห้องเรียนรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ชุมน้ำประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ และนันทนาการ จัดสร้างสวนซึมน้ำ และพื้นที่แก้มลิง บริเวณทางเข้าอุทยาน นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนจุฬาฯซอย 5 ตลอดแนว ตั้งแต่ถนนพระราม 4 จรดถนนพระราม 1 ให้เป็นถนนสีเขียว พร้อมปรับความกว้างถนน 30 เมตร รวมพื้นที่ถนนดังกล่าวอีก 21 ไร่ อย่างไรก็ดี คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีจุฬาฯ
โครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และถนนจุฬาฯ 100 ปี
ที่ตั้ง: บริเวณสวนหลวง-สามย่าน
ขนาด: สวนสาธารณะ ประมาณ 28 ไร่ เขตทางสาธารณะ 30 เมตร เชื่อมระหว่างถนนพระราม 1 – พระราม 4
วัตถุประสงค์:
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” อันเป็นแนวทางการพัฒนาที่ดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสังคมส่วนรวม
แนวคิด:
การจัดการพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดให้เป็น “ที่โล่งว่าง” ต่อเนื่องกับแนวแดนหลักสีเขียว (แกนตะวันตก-ตะวันออก) ในเขตการศึกษา และเชื่อมถนนพระราม 1 – พระราม 4 ผ่านทางเขตทาง จุฬาฯ 100 ปี สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ พื้นที่มหาวิทยาลัยกับชุมชน
การดำเนินงาน:
การประกวดแนวคิดการออกแบบ ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 การพัฒนาแบบรายละเอียด และจัดทำแบบก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในปี พ.ศ. 2560
ส่วนประกอบโครงการ:
1. อุทยานจุฬา 100 ปี ขนาด 28 ไร่ สวนสาธารณะระดับ Community Park
2. ถนนจุฬา 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5) เชื่อมถนนพระราม 1 – พระราม 4 เขตทางกว้าง 30 เมตร ยาว 1.35 กิโลเมตร ประกอบด้วย:
– ทางเดินเท้า ทางจักรยาน ทางรถยนต์
– แนวปลูกต้นไม้ พื้นที่รับน้ำ (Rain Garden)
3. อาคารอเนกประสงค์ สำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรม พื้นที่ประมาณ 9,000 ตารางเมตร อาคารจอดรถ 200 คัน
แนวคิดหลักในการออกแบบ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี
– ตามรอยพระราชปณิธาณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม
– การเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ
– มีความยืดหยุ่นสูง ต่อการใช้งานของกลุ่มคนขนาดต่าง ๆ
– เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามผังแม่บทของมหาวิทยาลัย จากเขตการศึกษา ขยายสู่ฝั่งตะวันตก
– ใช้พืชพรรณพื้นถิ่น ปลูกแบบธรรมชาติ ในแนวคิด “ป่าในเมือง” (Urban Forestry)
– ต้นแบบสวนสาธารณะ ในฐานะพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง เพื่อพื้นที่น้ำซึมดิน
แนวคิดการออกแบบที่ว่าง และรูปทรง
– การเติบโตของกิ่งรากจามจุรี ในการแผ่ขยายพื้นที่ ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่นกับการใช้งาน ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท
– เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศของเมือง (Urban Greem Infrastructure) ในระดับชุมชน ด้วยโครงข่ายระบบถนน และพื้นที่สีเขียวขนาดต่าง ๆ
แนวคิดการออกแบบ ถนนจุฬาฯ 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5)
– ต้นแบบถนนสีเขียว ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่มหลากชนิด ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมเมือง
– การออกแบบภูมิทัศน์ถนน ที่ช่วยในการซึมน้ำ-หน่วงน้ำ เมื่อฝนตก
– รูปแบบถนน ที่ส่งเสริมให้รถขับช้า (Slow Traffic) เอื้อต่อการเดินเท้า ขี่จักรยาน และการใช้รถโดยสารขนส่งมวลชน (Mass Transit)
แนวคิดการออกแบบ อาคารอเนกประสงค์:
– สะท้อน “การพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม” ด้วยลักษณะอาคาร ที่สอดประสาน เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ภูมิทัศน์
– สถาปัตยกรรม เปรียบเสมือนซุ้มประตู (Gate Way) จากกระบวนทัศน์ทางธรรมชาติวิทยา
– เป็นที่หมายตา (Landmark) ให้กับอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และมหาวิทยาลัย ทางฝั่งตะวันตก