สวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับไฟหลาย ๆ อย่าง ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วทั้งเรื่องของดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งาน แต่ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งสวิตช์ไฟและปลั๊กไฟเหล่านั้นจะถูกออกแบบให้มีดีไซน์ที่สวยงามเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่ง กลมกลืนไปกับบ้านเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง อีกทั้งฟังก์ชันการใช้งานที่อำนวยความสะดวกสบายมากขึ้นเกินหน้าที่ดั้งเดิมของมัน

คุณศุภวัฒน์ ประพัฒน์พรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เอซ ไล้ท์ติ้ง จำกัด

ด้วยแนวคิดนี้ทำให้ “คุณศุภวัฒน์ ประพัฒน์พรกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัท เอซ ไล้ท์ติ้ง จำกัด ได้ออกแบบและนำเข้าสวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ รวมถึงหลอดไฟต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

เพราะต้องการความแตกต่าง จึงเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพและดีไซน์สุดเก๋

จนถึงตอนนี้บริษัท ACE LIGHTING เปิดมาประมาณ 5 ปีแล้ว โดยเริ่มจากเราอยากได้สวิตช์หรือปลั๊กไฟที่แตกต่างจากของที่มีในตลาด สนใจเพราะทำเกี่ยวกับการออกแบบภายในและภายนอกอาคารอยู่แล้ว มีวันหนึ่งได้ทำบ้านให้ลูกค้าและได้เห็นสวิตช์คนละแบบกับที่ใช้ในไทย มองว่าในไทยไม่มีอะไรที่หน้าตาแตกต่างกันเลย จึงเริ่มหาแหล่ง อีกทั้งต้องการนำส่วนนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ไม่ใช่แค่ฟังก์ชันสำหรับเปิดปิดอย่างเดียว จึงเกิดมาเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ กับการฉีกดีไซน์แบบเดิม

“ความสะดวกสบายและความปลอดภัย” คือหัวใจหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Switch touch screen ของเราใช้แล้วปลอดภัยจากไฟดูด ถึงตัวจะเปียกน้ำไปกดเปิดสวิตช์มันก็จะไม่ดูดคุณ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับดีไซน์ที่ดูแล้วแตกต่างจากสวิตช์ไฟทั่วไป ซึ่งเป็นคนไทยดีไซน์เอง ออกแบบเองหมดเลย ดูผลิตภัณฑ์ว่าตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไร ดูเรื่องอายุการใช้งาน ความสว่าง ความประหยัด สามารถเปลี่ยนได้เอง

  • LED Panel

มีทั้งแบบสี่เหลี่ยมและทรงกลม หล่อขึ้นจากพลาสติก ABS ทั้งชิ้น ซึ่งตามตลาดทั่วไปบ้างจะใช้อลูมิเนียมซิงก์ ซึ่งข้อได้เปรียบของ ABS คือ แข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา ปลอดภัยเวลาติดตั้ง มีแสงสว่างตั้งแต่ 3000k – 6500k และมีตัวยกขอบเพื่อเสริมดีไซน์สำหรับตอบโจทย์ในทุก ๆ ด้าน

  • ปลั๊กไฟ

มีทั้งแบบ Double Socket Plug, ช่องสำหรับเสียบ USB, Double Socket Universal, ช่องเสียบสายโทรศัพท์, สาย LAN, และช่องต่อสายทีวี มีทั้ง 5E และ Cat 6 ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพลาสติก ABS เป็นส่วนประกอบ เพิ่มความคงทน และแข็งแรง โดยโครงสร้างรอบ ๆ เป็นกระจกนิรภัยหรือ Tempered Glass

  • สวิตช์

ผิวหน้าสัมผัสใช้กระจก Tempered เพื่อความสวยงามและปลอดภัย ทำความสะอาดง่าย ส่วนด้านในที่เป็นเคสสำหรับใส่ชิปหรือบอร์ดจะเป็น ABS ทั้งชิ้น เพื่อลดการเป็นสื่อนำไฟ เพิ่มความปลอดภัย

 

Quick Knowledge

Part I: พลาสติก ABS คืออะไร?

เอบีเอส (ABS) เป็นชื่อย่อของ อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (acrylonitrile-butadiene-styrene) เทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ไดร์เป่าผม ตัวต่อเลโก้ (lego) เป็นต้น

  • แข็งและเหนียว สามารถคงสภาพรูปร่างได้ดี
  • ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี
  • ทนต่อแรงเสียดสี ความร้อน สารเคมีได้ดีกว่าพลาสติกธรรมดาทั่วไป
  • เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้า

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.inno2u.com/article/13/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81-abs-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

 

Part II: กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) คืออะไร?

คือ กระจกชนิดหนึ่งที่ถูกแปรรูปจากแผ่นกระจกธรรมดาให้เป็นกระจกประเภทนิรภัย กรรมวิธีคือการนำกระจกธรรมดาไปอบด้วยความร้อนประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วทำให้เย็นลงทันทีด้วยการเป่าลม ซึ่งผิวนอกของกระจกจะแข็งเร็วกว่ากระจกด้านใน และก่อให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลที่แตกต่างกัน

  • มีความแข็งแรงกว่ากระจกทั่วไปประมาณ 4-5 เท่า ทำให้รับแรงกระแทก กด บีบ ได้ดี
  • ทนความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส
  • ทนความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150 องศาเซลเซียส
  • เมื่อแตก กระจกจะแตกตัวเป็นเม็ดข้าวโพด ซึ่งอันตรายน้อยกว่ากระจกปกติที่แตกเป็นปากฉลาม

อ้างอิงข้อมูลจาก https://armalutech.com/knowledge_1/

 

ผลิตภัณฑ์เพื่อ Home Automation: นวัตกรรมแบบ All in one สุดว้าวและสวิสช์ไฟซีรีส์ใหม่ที่จะปล่อยในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built เป็นที่แรก

การพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับหลากหลายสถาบันทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงานล่าสุดมีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมาช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับสวิตช์ เกิดเป็น Home Automation ซึ่งสามารถทำให้สั่งงานสวิตช์ ปลั๊ก หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้ด้วยมือถือ เป็นแอปพลิเคชันของคนไทย ใช้ภาษาไทย มีการพัฒนาให้เข้ากับระบบโดยเฉพาะ ไม่ใช่แอปฯ ที่เซ็ตมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีรีโมท ทำให้ไม่จำเป็นต้องลุกไปเปิด-ปิดไฟ และอาจมีการฝังทุกฟังก์ชันลงไปในปลั๊กโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์แยก ซึ่งคาดว่าน่าจะเปิดตัวได้ในงานนี้

New Series: MATTE Series

สวิทช์ไฟที่มีความแตกต่างเรื่องของการดีไซน์ สีสันที่สวยงาม และสามารถออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการได้ เช่น กลุ่มธนาคาร หมู่บ้าน สามารถ paint ทุกอย่างที่ต้องการลงไปได้ ซึ่งตัวแผงจะเป็นกระจกด้าน หรือลายหิน ทั้งนี้มาจากแนวคิดความ “เนียน” ว่าจะทำยังไงให้ผนังจากเดิมที่มีสวิตช์ติดแล้วขวางหูขวางตา แต่พอใช้อันนี้แล้วกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งอย่างสวยงาม

ทั้งนี้ ไม่ว่าของที่เคยใช้กันมาจะใช้มานานเท่าใด ใช่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้คุณค่าดั้งเดิมของมันลดลง ซึ่งบางครั้งอาจใช้ไม่ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ซึ่งนอกจากจะดีไซน์สวยงามแล้ว มันยังทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นกว่าเดิมอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย

แค่ภาพและตัวอักษรอาจจะไม่พอ คุณศุภวัฒน์ยังเชิญชวนให้ทุกคนไปสัมผัสเทคโนโลยี ดีไซน์ที่ทันสมัย ทั้ง LED Panel ปลั๊กไฟ และนวัตกรรมการใช้งานสวิตช์ไฟสั่งงานผ่านแอปพลิเคชัน รวมไปถึงแผงไฟซีรีส์ใหม่กับการออกแบบที่สวยงามเข้ากับบ้านของคุณอย่างลงตัวได้ด้วยตนเองที่บูธ F812 ในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2563 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี

Previous articleอาบน้ำรวมไหม? รู้จัก “Kagoneyu” โรงอาบน้ำสาธารณะญี่ปุ่นปรับโฉมใหม่ในวันปรับตัว
Next articleConsumer Unit LS series จาก Nano Electric Product
Porntiwa
สาวรัฐศาสตร์หน้าใส หัวใจรักการเขียน ผู้ผันตัวจากสายการเมือง มุ่งหน้าสู่สถาปัตยกรรมเต็มตัว