พลิกโฉมวงการเครื่องพิมพ์รุ่นเก่า ด้วยเครื่องปริ้น Paper ขนาดพกพา
พร้อมฟังก์ชั่นครบครัน

1198
คุณเคยพบความยุ่งยากในการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ที่มักตั้งไว้ในสำนักงานรึเปล่า และหากซื้อมันมาตั้งไว้ที่บ้าน ทำไมบ้านของคุณถึงกลายเป็นเหมือนออฟฟิตไปโดยปริยาย ข้อสงสัยทั้งหมดมาจากความคิดของนักออกแบบผลิตภัณฑ์รุ่นเยาว์ Ludwig Rensch ผู้หลงไหลการออกแบบสไตล์ Interactive Design (การออกแบบสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์กับคน) และเชิง Digital Innovation (นวัตกรรมดิจิทัล) ขณะที่เขากำลังทำทีสิสอนุปริญญา หัวข้อ “Interacting with things : การมีปฏิสัมพันธ์กันของหลาย ๆ สิ่ง”

img_2_1466867397_f5e01b52cf9d86a6143bcf7d8aef4609

จากหัวข้อการทำทีสิส Interacting with things ทำให้ Ludwig Rensch เริ่มตั้งข้อสงสัยถึงลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องปริ้น และคนจะมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องปริ้นได้อย่างไร จนกำเนิดมาเป็นนวัตกรรมเครื่องปริ้นขนาดพกพา ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่าเครื่องปริ้น Paper การทำงานของ Paper ครบถ้วนทุกวงจร ทั้งปริ้น สแกน และก๊อปปี้ได้ โดยใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ (Physical Controls) ที่จะส่งสัญญาณไฟเมื่อเชื่อมต่อกับไดร์เวอร์เรียบร้อยแล้ว

เครื่องปริ้น Paper

เครื่องปริ้น Paper มีลักษณะเหมือนกระเป๋าพกพาใบเล็กทรงสี่เหลี่ยม มีแกนใส่กระดาษม้วนอยู่ด้านข้าง ออกแบบในสไตล์มินิมอล มีความกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ และเคลื่อนย้ายได้ง่าย ความโดดเด่นของมันคือ สามารถปฏิบัติงานผ่านแอ๊ปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ ก่อให้เกิดการทำงานแบบผสมผสานระหว่างอนาล๊อคกับดิจิตอล และการถ่ายโอนข้อมูลรูปภาพจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

เครื่องปริ้น Paper

Rensch กำหนดปุ่มฟังก์ชั่นที่จำเป็นบนเครื่องปริ้น ซึ่งจะคอยวิเคราะห์กระบวนการคำสั่งที่ผู้ใช้กำหนด ไม่ว่าเป็น สแกน หรือ ก๊อปปี้ โดยยึดหลักการออกแบบตามกฎของ วิลเฟรโด พาเรโต ที่กล่าวไว้ว่า “เวลา 80% ที่คุณใช้ไป ให้คุณค่าหรือผลงานเพียง 20%” ทั้งหมดนี้ทำให้ทุกขั้นตอนมีความง่าย สะดวกสบาย ตั้งแต่เริ่มใช้จนกระทั่งได้ผลลัพธ์อันเป็นที่น่าพอใจ

5442b533984286.577278eecd6ad

เครื่องปริ้น Paper

 

Source: Designboom, Ludwigrensch

 

 

 

 

Previous articleไอดีโอ โมบิ วงศ์สว่าง อินเตอร์เชนจ์ ชูคอนเซ็ปต์ ‘1 STEP AHEAD – เชื่อมต่อทุกมิติ’
Next article“น้ำ” วาระแห่งชาติ และ กทม.
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม