ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีบ้านหลาย ๆ หลัง คาเฟ่หลาย ๆ ร้าน เลือกใช้ “ของเทียม” หรือวัสดุตกแต่งบ้านที่มีลักษณะลวดลายเหมือนกับของจริง ซึ่งดีไซเนอร์นิยมนำมาใช้ในการออกแบบ งานอินทีเรียแทนของจริงที่มีราคาสูง
วันนี้ BuilderNews จะพาไปรู้จักกับ “ของเทียม” ที่มีหลากหลายแบบให้เลือก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “ของเทียม”
“ของเทียม” วัสดุที่ใช้ตกแต่งบ้านมีลักษณะลวดลายคล้ายกับของจริง ถูกผลิตขึ้นมาด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้บางครั้งต้องใช้ของเทียมบ้าง เนื่องจากของเทียมมีลวดลายดูเหมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นตาไม้หรือลายหิน
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ บางครั้งก็ต้องใช้ของเทียมในการตกแต่งร่วมกับของจริง โดยใช้อัตราส่วน 5:5 และ 6:4 หรืออาจจะใช้ของเทียมมากกว่าของจริง เนื่องจากของเทียมทุกชิ้น เมื่อนำมาออกแบบหรือจัดวางจะดูกลมกลืนจนเหมือนกับของจริง
ลักษณะเด่น “ของเทียม” ที่ใช้ออกแบบงานอินทีเรีย ให้ดูสมจริง มีสไตล์
ผิวสัมผัส ลวดลายดูเป็นธรรมชาติและดูสมจริง ซึ่งมีรอยต่อต่างจากของจริง
อุณหภูมิ ความร้อนที่แผ่ออกมาจากวัสดุ ไม่เหมือนกับของจริง
ความแข็ง ความแข็งและเสียง เมื่อสัมผัสหรือเคาะจะมีเสียงที่ฟังดูโปร่งกว่าวัสดุของจริง
ความหนา สังเกตตรงรอยตัด เห็นได้ชัดว่ามีความหนาที่แตกต่างจากวัสดุของจริง
วัสดุของเทียมที่นิยมนำมาใช้ในงานอินทีเรีย
ต้นไม้ปลอม
ต้นไม้ปลอมหรือต้นไม้ประดิษฐ์ ของตกแต่งของเทียม ทำมาจากพลาสติกสังเคราะห์และนำมาดัดขึ้นรูปบนแม่พิมพ์ตามรูปร่างที่ต้องการ มีความหลากหลายของดอกไม้ให้เลือก ทำให้ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้การออกแบบงานอินทีเรีย เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และตอบโจทย์ในจุดที่แสงเข้าไม่ถึงหรือไม่สะดวก ต่อการรดน้ำต้นไม้
ข้อดีของการเลือกใช้ต้นไม้ปลอม
- ไม่ต้องรดน้ำเหมือนต้นไม้จริง
- สามารถวางในที่แสงเข้าไม่ถึงได้
- ทำความสะอาดง่าย
- มีแบบให้เลือกหลากหลาย ไม่มีข้อจำกัดด้านอากาศ และสภาพแวดล้อมในการปลูก
ข้อเสียของการเลือกใช้ต้นไม้ปลอม
- อาจไม่เหมือนจริง 100%
- ขาดความสดชื่นจากการปล่อยโอโซนตามธรรมชาติ
- ต้นไม้ปลอมเป็นแหล่งสะสมฝุ่น ทำให้ต้องทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา
แผ่นไม้ระแนงเทียม
แผ่นไม้ระแนงเทียม วัสดุของเทียมทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์และเส้นใยต่าง ๆ ผ่านกระบวนการอบไอน้ำที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูง มีคุณสมบัติช่วยดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นด้วยลวดลายเส้นตรงที่เรียงกันอย่างมีระเบียบ ทำให้ดูมีมิติ โดดเด่น นอกจากนี้ยังให้ความรู้สึกเหมือนลวดลายธรรมชาติ เหมาะกับการใช้งานอินทีเรีย
ข้อดี : สามารถป้องกันการดูดซึมได้อย่างสมบูรณ์ มีน้ำหนักเบา สามารถยึดติดเกาะได้กับผนังทุกประเภท
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากมีพื้นผิวขรุขระ มีรายละเอียดของลวดลายบนผิวหินที่สร้างเลียนแบบหินแต่ละประเภทตามธรรมชาติ
กระเบื้องยางลายไม้
กระเบื้องยางลายไม้ วัสดุของเทียมผลิตจากโพลิเมอร์เคลือบด้วยเมลามีน และลอกเลียนแบบลวดลายไม้ของธรรมชาติ ผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ นิยมใช้ในการปูพื้น เนื่องจากมีความทนทานและสวยงาม
ข้อดี : สามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่เกิดรอยขีดข่วนหากมีการเคลื่อนย้ายวัตถุต่าง ๆ ทนความชื้นและการบวมน้ำของไม้ และไม่มีปัญหาปลวกเหมือนไม้จริง
ข้อเสีย : กระเบื้องยางลายไม้มักจะหดตัว เมื่ออุณหภูมิไม่คงที่รวมถึงการเสื่อมสภาพ เมื่อผ่านการใช้งานเป็นระยะเวลานาน
วัสดุปิดผิว ทนทาน ลายธรรมชาติ คล้ายไม้จริง
วัสดุปิดผิว วัสดุที่มีลวดลายธรรมชาติเหมือนไม้จริง แต่น้ำหนักเบากว่า มีสารเคลือบผิวด้านบนที่กันรอยขีดข่วนได้ดีกว่าไม้ ทนต่อความร้อน พื้นผิวเรียบ ราคาถูก ติดตั้งง่าย สามารถปูทับพื้นไม้จริง พื้นกระเบื้อง หรือพื้นปาร์เก้ได้ โดยวัสดุมีให้เลือกหลากหลายแบบ หลากหลายสไตล์ แบ่งได้ดังนี้
แผ่นไม้ลามิเนต
แผ่นไม้ลามิเนต วัสดุของเทียมทำมาจากกระดาษและเรซิน อัดเป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยความร้อนสูง มีขนาดมาตรฐาน 1.20 x 2.40 เมตร มีลวดลายไม้ให้เลือกหลากหลาย มีพื้นผิวเรียบและพื้นผิวสัมผัสนูน เหมาะกับการตกแต่งผนัง เฟอร์นิเจอร์ และการปูพื้น
ข้อดี : มีผิวสัมผัสที่สวยงามให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับไม้จริง สามารถเลือกสีและลายไม้ได้ มีความทนทานต่อการรับน้ำหนัก มีน้ำหนักเบาติดตั้งง่าย
ข้อเสีย : หากโดนน้ำขังจะทำให้เกิดการพองบวม และมีโอกาสปลวกกินถ้าเลือกใช้เกรดไม่ดี
ลามิเนตแผ่นหินเทียม
ลามิเนตแผ่นหินเทียม วัสดุของเทียมผลิตขึ้นจากดินผสมแร่หิน แล้วนำมาขึ้นบล็อก ทำลวดลายออกมาหลายแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ดูดซึมน้ำ และสามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาใช้ตกแต่งผนัง หรือทำพื้นผิวเคาน์เตอร์
ข้อดี : สามารถป้องกันการดูดซึมได้อย่างสมบูรณ์ มีน้ำหนักเบา สามารถยึดติดเกาะได้กับผนังทุกประเภท
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากมีพื้นผิวขรุขระ มีรายละเอียดของลวดลายบนผิวหินที่สร้างเลียนแบบหินแต่ละประเภทตามธรรมชาติ
Source
หนังสือ The Anatomical Chart Of Shop
https://www.wazzadu.com
Laminate Collection – EDL (edleuro.com)