ในปัจจุบันมีการเติบโตของชุมชนประชากรมากมาย ทำให้มีการบริโภคพลังงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็มีความเจริญก้าวหน้าเช่นกัน

อาคาร Kasikorn Business – Technology Group  ได้ŒถูกออกแบบและสรŒ้างขึ้นให้Œเป็šนอาคารเขียวตามขŒ้อกำหนด LEED ระดับ Platinum ซึ่งในมุมพลังงาน อาคารนี้ใช้Œระบบปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานและเป็šนมิตรต่‹อสิ่งแวดล้อม ผนวกร‹วมกับการใชŒเทคโนโลยีสมองกลประจำอาคารที่มีลักษณะการควบคุมโดยการป้‡อนขŒอมูลกลับ (Feedback Control) มาควบคุมการทำงานของระบบตั้งแต่‹การผลิตน้ำเย็น และการจ‹่ายความเย็นไปสู่แต่ละพื้นที่ทำให้Œสามารถควบคุมการผลิตได้อย่างแม่‹นยำ และยังช่‹วยแบ่งเบาการทำงานของมนุษย์ได้Œอีกด้วย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและลดความผิดพลาดจากมนุษย์

ในขั้นตอนการผลิตน้ำเย็นสำหรับอาคาร Kasikorn Business – Technology Group มีการใช้ระบบจัดการ Chiller (Chiller Manager) ที่ทำหนŒาที่ควบคุมระบบหัวใจทั้งสามในการทำความเย็นของอาคาร ซึ่งประกอบด้Œวย ระบบผลิตน้ำเย็นด้วย Chiller, ระบบระบายความรŒ้อนด้Œวย Cooling Tower และระบบสูบน้ำด้Œวย Pump ในการควบคุมระบบหัวใจทั้งสามนี้ Chiller Manager จะทำการรักษาผลต่างอุณภูมิน้ำเย็นในฝั่ง Evaporator ให้ได้ 15°F และรักษาผลต่างอุณหภูมิน้ำระบายความร้อนในฝั่ง Condenser ให้Œได้Œ 9°F โดย Chiller Manager จะคอยอ่านสัญญาณทั้งสองแล้วทำการคำนวณอัตราการไหลที่เหมาะสมก่อ‹นที่จะส่ง‹สัญญาณควบคุมไปสู่‹ VSD เพื่อทำการลดความเร็วรอบ
มอเตอร์ของ Pump ตามคำสั่ง เมื่อระบบต่าง ๆ สามารถรักษาผลต่‹างของอุณหภูมิได้แล้ว จะส่งผลทำให้ระบบสามารถลดภาระพลังงานที่ใช้ในการสูบน้ำ แต่ยังคงสามารถทำความเย็นได้ตามความต้องการของอาคารเหมือนเดิม

ka1

ka3ในฝั่งการจ‹ายลมเย็นในแต่‹ละพื้นที่ มีการใช้Œ AHU โดยมี VSD เปš็นตัวควบคุมและรับสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของความดันในท่อลม ผนวกเข้ากับหัวจ่ายลมเย็น VAV Box ซึ่งหัวจ่ายลมเย็นดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่จ่ายลมเย็นให้ได้ตามต้องการ ถ้าหากในพื้นที่ใดสามารถทำความเย็นได้ตามที่กำหนดที่ 25°F แล้ว VAV Box ก็จะทำการหรี่ลมเย็นที่ตัวมันเอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความดันที่ติดอยู่ในท่อลมที่เพิ่มมากขึ้น เซ็นเซอร์อ่านความดันที่ติดอยู่ในท่อลมนั้นก็จะส่งค่าไปที่ AHU เพื่อหรี่ความเร็วรอบด้วย VSD ทำให้ AHU ไม่ต้องแบกภาระการจ่‹ายลมเย็นโดยที่ไม่จำเป็นลงไปได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้ระบบการจ่ายลมเย็นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน

 

นิตยสาร Builder Vol.31 MAY 2016

Previous articleปลดล็อคความคิด…สู่ชีวิต (สถาปนิก) สดใส (ตอนที่ 2)
Next articleWOOD MOOD นวัตกรรมบ้านไม้สำเร็จรูปแนวใหม่
ผศ.ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์
LEED AP, TREES FA นักเขียนประจำนิตยสาร Builder อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียว และเกณฑ์การประเมิน LEED