Globe Theater โรงละครของกวีชื่อดังระดับโลก วิลเลียม เชคสเปียร์ ถูกนำมารีโนเวทใหม่ให้กลายเป็นพื้นที่จัดแสดงดนตรีในคราบของตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า แทนที่จะใช้ไม้ Nicholas Leachy สถาปนิกผู้ออกแบบ จากบริษัท Perkins Eastman และ Michael Ludvik วิศวกรโครงสร้าง กลับเลือกใช้เหล็กในการก่อสร้าง โดยโครงสร้างของตัวอาคารได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวดนตรีพังค์ร็อค สร้างเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่คาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ชมวัยรุ่นอย่างแน่นอน

โครงสร้างใหม่หลังการปรับปรุงนั้น มีการออกแบบเหมือนกับโครงสร้างของ Globe Theater เดิม แต่เปลี่ยนจากไม้มาใช้ตาข่ายก่อสร้างซึ่งช่วยกรองแสงแดดในช่วงกลางวัน และยังช่วยให้อาคารดูมีสีสันขึ้นในช่วงกลางคืน โดยผู้นำโปรเจคนี้คือสถาปนิก Nicholas Leachy และวิศวกรโครงสร้าง Michael Ludvik ที่เคยจับมือกันสร้างผลงาน London Globe Project เมื่อปี 1980 มาแล้ว ก่อนจะกลับมาร่วมมือกันอีกครั้งในผลงานการปรับปรุง Globe Theater ของเชคสเปียร์ครั้งนี้

Container-Globe-by-Nicholas-Leahy-1-1020x610

แผ่นเหล็กไม่ใช่วัสดุสำคัญในการสร้างพื้นที่หรือเวทีจัดแสดงอีกต่อไป เนื่องจากดีไซเนอร์ค้นพบว่า การที่ตู้คอนเทนเนอร์มีพื้นผิวเป็นลูกฟูกส่งผลต่อการกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชมขณะชมการแสดง คอนเทนเนอร์จึงถูกนำมาวางเรียงซ้อนกัน

สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบปรับปรุงโรงละครในครั้งนี้ คือ วงดนตรีแนวพังค์ร็อคอย่าง Sex Pistols และผลงานโศกนาฏกรรมโดยเชคสเปียร์ เรื่อง King Lear ซึ่งการผสมผสานระหว่างละครคลาสสิคและ pop culture ของวงดนตรีและผลงานดังกล่าวถูกสะท้อนให้เห็นผ่านการออกแบบ และจะทำให้โรงละครแห่งนี้กลายเป็นสถานที่จัดแสดงเพื่อความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังจะกลายเป็นสถานที่จัดแสดงที่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับคุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์อีกด้วย

Container-Globe-by-Nicholas-Leahy-2-1020x610

Container-Globe-by-Nicholas-Leahy-8-1020x610

Container-Globe-by-Nicholas-Leahy-9-1020x610


Source: inhabitat 

Previous articleการออกแบบ 5 สไตล์ ที่จะแปลงสถานีรถบัส Port Authority
ให้เป็นศูนย์การขนส่งที่สวยงาม
Next articleE-Newsletter Vol.13
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม