ปัจจุบันมนุษย์เราได้คิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน เครื่องปรับอากาศที่ใช้ผลิตความเย็น ก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่นับว่าสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์เรา เพื่อทำให้เราอยู่ในสภาพอากาศน่าสบาย แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการออกแบบพื้นที่ใช้สอย รวมไปถึงการเลือกใช้ขนาดเครื่องปรับอากาศนั้นเพื่อตอบสนองกับสภาวะน่าสบายสำหรับบุคคลทั่วไป
ASHRAE Handbook และ ASHRAE Standard 55 ได้ระบุถึงสภาวะน่าสบายไว้ว่าภายในพื้นที่ใปรับอากาศจะต้องมีอุณหภูมิและความชื้นที่พอเหมาะ รวมถึงจะต้องคำนึงในเรื่องของกิจกรรมและเครื่องนุ่งห่มของผู้ใช้สอยพื้นที่นั้นๆ ความเร็วลมที่ไหลผ่านร่างกายผู้ใช้งานในพื้นที่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลในเรื่องการถ่ายเทความร้อนระหว่างร่างกายและอากาศ ซึ่งการที่จะระบุว่าผู้ใช้งานพื้นที่นั้นอยู่ในสภาวะน่าสบายหรือไม่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ใช้งานคนใดคนหนึ่ง หากแต่จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานทั่วไปตามสากลมาตรฐานดังกล่าวได้กำหนดวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะประเมินสภาวะน่าสบายเอาไว้ดังนี้:
Graphical Method for Typical Environmental
วิธีการนี้จะเหมาะสมสำหรับในพื้นที่ใช้สอยที่มีกิจกรรมอยู่ระหว่าง 1-3 met และค่าความเป็นฉนวนจากเสื้อผ้าของผู้ใช้พื้นที่อยู่ระหว่าง 0.5-1 clo
ตามรูปภาพที่ 1 ด้านบนจะมีพื้นที่แรเงาอยู่ 2 ส่วนสำหรับความเป็นฉนวนแต่ละค่าพื้นที่และเราสามารถเลื่อนขึ้นได้ ถ้าหากภายในพื้นที่ใช้สอยมีกระแสขึ้นกว่า 0.2 m/s นั่นก็หมายความว่า Operative Temperature จะสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อภาระทำความเย็นจากเครื่องปรับอากาศที่น้อยลง
รูปภาพที่ 1 Acceptable range of operative temperature and humidity for spaces
รูปภาพที่ 2 Predicted percentages dissatisfied (PPD) as function of predicted mean vote (PMV)
Computer Model Method for General Indoor Application
วิธีการนี้เหมาะสำหรับการประเมินสภาวะน่าสบายในพื้นที่ที่มีกิจกรรมอยู่ระหว่าง 1 และ 2 met และมีค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าต่ำกว่า 1.5 clo
ตามรูปภาพที่ 2 ค่าในแนวแกนนอนจะสื่อถึงระดับสภาวะน่าสบายของบุคคลทั่วไป (Predicted Mean Vote, PMV) โดยเรียงจาก -3 ไปถึง +3 ค่าติดลบนั้นหมายถึงพื้นที่นั้นอยู่สภาวะที่ร้อนเกินไป ซึ่งสำหรับวิธีการนี้ได้มีการกำหนดสภาวะน่าสบายอยู่ในช่วง -0.5 ถึง +0.5
ทั้งนี้ Center for the Built Environment (CBE) ได้จัดทำเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือในการประเมินสภาวะน่าสบาย ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปใช้เครื่องมือนี้ได้ฟรีทางเว็บไซต์ http://comfort.cbe.berkeley.edu
นิตยสาร Builder Vol.24 Issue OCTOBER 2015
เรื่อง: ผศ.ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์, LEED AP, TREES Founder
และ คุณอภินันท์ ปานสาย, วศ.ม. TREES-A