สัมผัสบรรยากาศญี่ปุ่นแบบที่คนญี่ปุ่นสัมผัสได้ไม่ต้องไปไหนไกลแล้ว เพราะศาลเจ้าชินโต ศรีราชา (Sriracha Shinto Shrine / 真楽茶神社 / シラチャ神社) ใช้วัสดุก่อสร้างนำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด รวมทั้งช่างก่อสร้างที่ก็มาจากญี่ปุ่นด้วย พร้อมสำหรับประกอบพิธีและเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่น สมกับที่ดำเนินการโดยสมาคมศาลเจ้าชินโตศรีราชาและหลายความร่วมมือจากองค์กรในประเทศญี่ปุ่น

ศาลเจ้าชินโต ศรีราชา เพิ่งมีพิธีเปิดโดยนักบวชชินโตจากญี่ปุ่นวันที่ 21 และ 22 ก.ค. 2565 โดยมีขบวนขนย้ายเกี้ยวมิโคชิ 2 หลังไปตามทางอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการรองรับชาวญี่ปุ่นมากมายในประเทศไทยโดยฝีมือของชาวญี่ปุ่นจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชือกชิเมนาวะโดยช่างมืออาชีพที่หน้าศาลเจ้า ประตูโถงสักการบูชาและมิโดชิสำหรับเด็กจากการสนับสนุนของ ท่านกูจิคานิเอะ (เจ้าอาวาสวัดคานิเอะ) ที่ศาลเจ้าซูวะโอโตะโกะนุชิ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจมากมาย

⛩ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจในศาลเจ้าชินโต ศรีราชา ⛩

 

ภาพจาก 真楽茶神社 / シラチャ神社 / ศาลเจ้าชินโตศรีราชา

 

โถงสักการบูชา (ไฮเด็น)

ก่อสร้างด้วยไม้จากต้นฮิโนกิ (ต้นไซเปรส) จากจังหวัดอิบาริกิในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน และยังปล่อยสารไฟทอนไซด์ที่สามารถบรรเทาความเครียดและต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีอีกด้วย

ภาพจาก 真楽茶神社 / シラチャ神社 / ศาลเจ้าชินโตศรีราชา

ภาพจาก 真楽茶神社 / シラチャ神社 / ศาลเจ้าชินโตศรีราชา

เชือกศักดิ์สิทธิ์ชิเมะนะวะ

ที่มีน้ำหนักถึง 130 กก. กับความยาว 3.8 เมตรและความหนา 60 ซม. จัดทำโดยสมาคมธุรกิจเมืองอินันชิเมนาวะในจังหวัดชิมาเนะ ก่อนจะขนส่งมาแขวนไว้ที่หน้าศาลเจ้า เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งหลายไม้ให้เข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

 

Source

Previous articleสร้างภาวะเย็นสบาย ด้วย 3 ไอเดียคลายร้อนจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย
Next articleสรุปประเด็น การติดตั้งเครื่อง AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะ เพื่อผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น