มีคนเคยกล่าวไว้ว่า มนุษย์ เป็นหนึ่งในสัตว์ของสังคม ที่เกิดมาพร้อมกับความรู้สึกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือมีความสุข ล้วนมาจากความสัมพันธ์ทั้งสิ้น เพราะเราผูกพันตัวเองกับสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ไม่ว่าจะเป็น ผู้คน สิ่งของ หรือสถานที่ ความผูกพัน นำมาซึ่งความรัก เมื่อเรารักใครหรือรักสิ่งใดไปแล้วจะให้เลิกก็คงยากที่จะลืมเลือน

อย่างเช่นความผูกพันของชาวสยามสแควร์ที่มีความผูกพันกับสถานที่ที่ชื่อว่า สกาลา ชื่อที่ติดหูติดใจ ใครหลาย ๆ คน ที่มาครั้งใดก็ทำร่างกายและหัวใจของเราพองโตทุกครั้ง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นมากกว่าที่ดูหนัง แต่สำหรับที่นี่ไม่ว่าจะดูหนังจบกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ตัวและหัวใจของเราก็มักจะกลับมาที่นี่เสมอ

สกาลาโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนก่อนจากลา

อดีต โรงภาพยนตร์สกาลา หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า สกาลา เป็น 1 ใน 4 ของกลุ่มโรงภาพยนตร์ที่อยู่ภายใต้เครือเอเพ็กซ์ ก่อตั้งโดย พิสิฐ ตันสัจจา นักธุรกิจเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง จากการพัฒนาปรับปรุงโรงละครชื่อดังในอดีตอย่าง ศาลาเฉลิมไทย ให้กลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดประมาณ 1,500 ที่นั่ง

Credit photo by Apex Scala

สกาลา ตั้งอยู่ที่สยามสแควร์ ซอย 1 จนกลายเป็นที่ติดใจของคนรักหนังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งได้เปลี่ยนจากย่านวังบูรพาเป็นย่านโรงหนัง ร้านอาหาร มายังย่านสยามสแควร์ พร้อมกับการเปิดตัวโรงภาพยนตร์สยาม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2509 ตามมาด้วยโรงภาพยนตร์ลิโด ที่เปิดฉายครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 และโรงภาพยนตร์สกาลา ซึ่งเปิดฉายครั้งแรกวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2512

Credit photo by Apex Scala

สกาลาเป็น โรงภาพยนตร์โรงเดี่ยว หรือ สแตนด์อโลน และในยุคนั้นถือได้ว่าเป็นยุคทองของโรงภาพยนตร์สแตนด์ อโลน ที่มีคนรอดูหนังคนรอดูหนังรอบปฐมทัศน์กันจนล้นหน้าโรง ในช่วงหลังคงครามโลกเรื่อยมาจนปี พ.ศ. 2520 โรงหนังสแตนด์ อโลนแบบนี้กระจายอยู่แทบทุกชุมชนและทุกภาคของประเทศซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 700 โรงเลยทีเดียว

Credit photo by Apex Scala

โรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนที่เปลี่ยนไป

แต่เวลาต่อมาด้วยพฤติกรรมการดูหนังของคนที่เปลี่ยนแปลงไป สกาลาจึงเริ่มต้นดึงดูดคอหนังด้วยการใช้ธีมที่เป็นสถานที่พิเศษ สำหรับคนที่ต้องการบรรยากาศการรับชมมากกว่าแค่การรับรู้เรื่องราวของหนังผ่านการนั่งดูผ่านโทรทัศน์ที่บ้านหรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้ในช่วงหลังสกาลากลายเป็นโรงหนังสุดคลาสสิกที่เน้นหนังที่ไม่อิงกับ Box Office ไว้สำหรับคอหนังนอกกระแสหรือหนังเฉพาะกลุ่ม ต้องมาเช็คอินทุกครั้งที่มีเวลา

Credit photo by Apex Scala

ก็เพราะความพิเศษในการตีตั๋วหนังแบบเขียนใบต่อใบ โดยที่ไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในราคาหลักร้อยต้น ๆ พร้อมกับบรรยากาศที่แสนมีเสน่ห์ ทำให้ทุกครั้งไปสกาลาเสมือนได้นั่งไทม์แมชชีนมารำลึกความหลังทุกครั้งที่ก้าวเข้ามาในโรง โดยเฉพาะคนที่มีความทรงจำกับสกาลาในอดีต

แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 แน่นอนว่า สกาลา เองก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ต้องตัดสินใจหยุดกิจการดังกล่าวลง โดยวันสุดท้ายของการเปิดทำการ โรงหนังสกาลานำภาพยนตร์อิตาเลียน เรื่อง Cinema Paradiso ผลงานของ จูเซปเป ทอร์นาทอเร เป็นรอบสุดท้ายในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ก่อนปิดฉากอย่างถาวรเป็นดั่งบทส่งท้ายให้แก่สกาลาในฐานะบ้านของคนรักหนังหลายต่อหลายคน พร้อมคืนพื้นที่แก่สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงหนังสกาลาเองถือเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์แห่งสุดท้าย หลังจากโรงหนังร่วมเครือสามทหารเสือในสยามสแควร์อย่างโรงหนังสยาม ปิดตัวลงหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อปี พ.ศ.2553 ก่อนที่ลิโด้จะปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2561 และตัวอาคารเดิมถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ในชื่อ Lido Connect โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเลิฟ อิส เอ็นเตอร์เทนเมนต์

สกาลา ความทรงจำที่ผูกพัน แทนที่ด้วยโลกธุรกิจ

โรงภาพยนตร์สกาลา นอกเหนือจากนี้สกาลาที่เป็นบ้านหลังใหญ่ ๆ ของคนรักหนังแล้วที่มีความผูกพันทั้งในแง่ของความทรงจำที่ผู้คนหลากหลายรุ่นมีความทรงจำร่วมกับสถานที่แห่งนี้และในแง่ของฟังก์ชันการใช้งานกับการเป็นโรงหนังกลางเมืองราคาย่อมเยา รวมทั้งในแง่ของสถาปัตยกรรมที่ความสวยงามจนได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัวโรงภาพยนตร์ ออกแบบโดยพันเอก จิระ ศิลปะกนก สร้างโดยบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด นับถึงวันนี้มีอายุมากกว่า 50 ปี

Credit photo by Apex Scala

แต่ด้วยการขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี ประกอบกับเจอพิษโควิด -19 เจ้าของโรงภาพยนตร์สกาลาจึงตัดสินใจปิดกิจการ คืนพื้นที่แก่สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกประกาศ ขอเชิญชวนเอกชนผู้สนใจเข้าร่วมยื่นข้อเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ Block A เขตพาณิชย์สยามสแควร์ โดยเป็นสัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี

Credit photo by Apex Scala

ส่วนหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ในด้านการบริหาร การพัฒนาพื้นที่หรือประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ เพียงเพราะสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการให้พื้นที่เดิมของสกาลา ถูกพัฒนาเป็นโครงการพาณิชย์ เพราะเจ้าของพื้นที่ย่อมต้องการให้พื้นที่ของตนเป็นโครงการที่อยู่ได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องประกาศหาผู้เช่ารายใหม่ไปเรื่อย ๆ

ล่าสุดมีข่าวว่า ผู้คว้าดีลเช่าที่ดินผู้คว้าดีลเช่าที่ดินสยามสแควร์ Block A ทำเลทองนี้คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN หนึ่งในธุรกิจหลักของเซ็นทรัลกรุ๊ปนั่นเอง โดยจะปรับปรุงและรีโนเวทโครงสร้างเก่าให้เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็ก ๆ คล้ายคอมมูนิตี้มอลล์เจาะกลุ่มนักศึกษาและคนทำงาน ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ปีเศษ

สกาลา นับได้ว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่ดำเนินการกิจการมากว่าครึ่งศตวรรษและยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สยามสแควร์เติบโตเป็นทำเลทองและยังหนึ่งในสถานที่ที่เป็นพื้นที่แห่งความผูกพันที่เป็นหัวใจสำคัญของทุกคนเอาไว้อีกด้วย

Source

https://www.bbc.com/thai/thailand-53076305

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/general-knowledge/news_4400231

https://www.thansettakij.com/business/440934

https://plus.thairath.co.th/topic/money/100422

asaconsevationaward – Home (asaconservationaward.com)

‘ (matichon.co.th)

Previous article“Tapera Residence” บ้านไม้กลางสวน
ที่เชื่อมบ้านให้เข้าหากันด้วยหลังคาสี่เหลี่ยม
Next articleสู่ปรากฏการณ์ใหม่ของการซื้อ-ขายอสังหาฯ ด้วย whyborder แพลตฟอร์มการประมูลระบบดิจิทัล แบบไร้พรมแดน
จิตรกมล ขวัญแก้ว
สาวขี้อาย จบการศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่ชอบแสงแดดยามบ่าย ไอซ์ลาเต้ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม