ทุกครั้งที่มีสร้างอาคารจะเกิดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากถึง 39% เทียบแล้วยังมากกว่าอุตสาหกรรมด้านการบินถึง 4 เท่า เรื่องนี้จะเรียกว่าเป้นฝันร้ายของชาวสถาปนิกทุกคนก็ได้ เพราะเรารู้ดีว่าอาคารที่เราพยายามสร้างขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไร้ที่อยู่ระยะยาวเพราะโลกกำลังพังลง

ภาพที่แสดงให้เห็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้าง

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Topic รักษ์โลกกระจายสู่ทุกอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแวดวงแฟชั่น การออกแบบ ฯลฯ และหลายคนตอบสนองเรื่องการดูแแลโลก รื้อไอเดียและรูปแบบเดิมในการทำงานให้กระทบต่อโลกน้อยที่สุด ซึ่งหนึ่งในงานศูนย์รวมไอเดียเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นในงานนิทรรศการเมือง Somerset ที่เพิ่งผ่านมา

“The Remarkable Mushroom” หรือหอคอยที่สูงกว่า 42 ฟุตคือไฮไลต์ชิ้นหนึ่งของงานครั้งนี้ เพราะ “หอคอยเห็ด” หลังนี้ทำขึ้นจากเส้นใยเห็ดนำมาผลิตอัดก้อนให้คล้ายอิฐแล้วติดตั้ง และสามารถลดกระบวนการผลิตคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้จริง ๆ

The Living กลุ่มสถาปนิกเจ้าของผลงานหอคอยเห็ด 42 นิ้วที่ตั้งตระหง่านแห่งนี้ มีเอกลักษณ์การสร้างงานด้วยวิธีผสมผสานงานวิจัยและการสำรวจเทคโลยีใหม่มาคำนวณเสมอ ดังนั้นเราจะมีโอกาสเห็น Prototype เจ๋ง ๆ นอกกรอบได้จากพวกเขา เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่เขาพิสูจน์ว่า “เห็ด” สามารถนำมาสร้างเป็นบ้านได้

มองเผิน ๆ เราเองก็แทบไม่รู้ว่าสร้างขึ้นจากเห็ดเพราะหน้าตามันค่อนข้างคล้ายอิฐอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าเราได้ลองเข้าไปด้านในจะเห็นความแข็งแรงและประโยชน์ของมันมากมายในฐานะวัสดุก่อสร้าง

คุณสมบัติของเส้นใยเห็ดที่นำมาสร้างบ้านไม่มีไม้ตายเรื่องการย่อยสลายได้จากการเป็นวัสดุ Biodegradable เท่านั้น แต่ด้านอื่น ๆ ทั้งเรื่องราคาต้นทุนยังต่ำกว่าวัสดุแบบเดิม ๆ ที่เราใช้งาน พ่วงมากับความทนทานเพราะมันมีคุณสมบัติของฉนวนกันไฟและยังดูดซับเสียงได้ ซึ่งเป็นมิติสำคัญของการเลือกใช้วัสดุเพื่อสร้างบ้านทุกวันนี้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องการสร้างบ้านจากเห็ดราจะเป็นข่าวใหม่สุดว้าวของเรา แต่บางคนอาจจะคุ้น ๆ ว่าเคยเห็นการพูดถึงวัสดุนี้มาแล้วจากข่าวของ Nasa เรื่องการตั้งอาณานิคมบนดาวอื่นช่วงต้นปี 63 ที่ผ่านมาได้ The remarkable mushroom หลังนี้คือผลงานต่อยอดที่นำมาจัดแสดงจากคอนเซ็ปต์เดียวกัน

ทว่าจุดประสงค์ของการเลือกใช้วัสดุประเภท “เห็ดรา” เกิดขึ้นด้วยความต้องการที่ต่างกัน เพราะ Nasa จุดประสงค์เลือกใช้วัสดุเห็ด Mycelliam เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขนย้ายและการซ่อมแซม เดินทางเพื่อย้ายวัสดุเพื่อสร้างอาณานิคมไม่เพียงแค่กินระยะเวลานานเท่านั้น แต่มันยังพ่วงเรื่องค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลตามมา การใช้เห็ดราที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เพื่อสร้างบ้านในอวกาศจึงเป็นทางเลือกที่นักวิจัยเห็นพ้องกันว่าเหมาะสมกว่า

ใครที่อยากติดตามผลงานของเขาชิ้นอื่น ๆ ต่อ เพื่ออัปเดตข้อมูลสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://www.thelivingnewyork.com/

อ้อ! สำหรับเรื่องที่เราคิดว่าหลายคนน่าจะสงสัยเหมือนเราว่าการสร้างบ้านจากวัสดุชิ้นนี้ ที่เกี่ยวพันกับ เชื้อราจะปลอดภัยกับระบบหายใจ เพียงพอให้เราอยู่ไปในระยะยาวหรือไม่ ตอนนี้เราเองก็ยังพบข้อมูลเหมือนกัน แต่ถ้ามีเมื่อไหร่ BuilderNews จะนำมาอัปเดตอีกครั้งค่ะ

 

อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล:

  1. https://www.yankodesign.com/2020/02/19/nasa-plans-to-use-mushrooms-to-build-sustainable-housing-on-mars-like-this-one/
  2. https://go.nasa.gov/2ReYkEw?fbclid=IwAR28Fc04_h9AOmJYkFGy4C0bN7cRkBfQPOtKCMGcBULQ-cdMiFzyMkIgLw8
Previous articleสะท้อนวิถีชีวิตพื้นเมืองและภูมิทัศน์แห่งหุบเขาโซโนมา
ไปกับ “บ้านโรงนา” ที่แคลิฟอร์เนีย
Next article“บ้านแฝด + สวน + ฟาซาด” การรวมตัวกันของพื้นที่สีเขียว
และความโมเดิร์นของเปลือกอาคารสุดแสนลงตัว