โครงสร้างเมกะโปรเจคสำคัญของภาครัฐในภาคตะวันออก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะโครงการที่มีขนาดใหญ่ถึง 8 โครงการ ได้แก่

1. โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางภาคตะวันออก

โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ตอนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 2 วงเงินลงทุนโครงการ 11,348.35 ล้านบาท

2. โครงการรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก

แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก มี 2 ทางเลือก คือ ตามแนวรถไฟเดิม หรือเส้นทางใหม่ไม่ผ่านฉะเชิงเทรา โดยตัดเข้ามอเตอร์เวย์ชลบุรีสายใหม่แล้วมุ่งหน้าไปยังชลบุรี โดยตามแนวเส้นทางเดิมจะมี 7 สถานี และใช้สถานีรถไฟเดิมต่อจากสถานีบางซื่อเป็นสถานีมักกะสัน สุวรรณภูมิ/ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา ระยอง วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม./ชม. โดยจากช่วงสุวรรณภูมิ คาดว่าจะมีสถานี 6 สถานี คือ สถานีลาดกระบังสถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง และยังมีแผนสร้างไปถึงจังหวัดตราด

Map - 2
แผนที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก

3. โครงการขยายสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5 ล้านคน อันจะส่งผลให้การท่องเที่ยว การลงทุนในภาคตะวันออกขยายตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสามารถบินตรงมาลงที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา สนามบินแห่งนี้เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสนามบินนานาชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และจะทำให้นักทอ่ งเที่ยวหลัง่ ไหลมาท่องเที่ยว และมีการลงทุนในภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมจากการเดินทางที่สะดวกมาก

Picture 1 Au-ta-poa Airport
รูปภาพโครงการสนามบินอู่ตะเภา ที่มา: สนามบินอู่ตะเภา

การพิจารณาแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 และกำหนดแนวทางการปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง รวมทั้งแนวทางการเชื่อมโยงทางรถไฟ (Airport Link) ระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภากับกรุงเทพมหานคร เพื่อ รองรับการยายตัวของการคมนาคมขนส่งทางอากาศในอนาคต ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิง พาณิชย์แห่งที่ 3 ได้ข้อสรุปการดำเนินงานภายใต้แนวคิด One Airport Two Missions โดยกำหนดระยะที่ 1 (ปีพ.ศ. 2558-2560) การเพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสารเป็น 3 ล้านคนต่อปีและระยะที่ 2 (ปีพ.ศ. 2561- 2563) รองรับผู้โดยสารเป็น 5 ล้านคน


4. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

อุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างมาก ทางกระทรวงคมนาคมคาดว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นปีละ 5.5% ทำให้การเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น 34% ส่งผลให้ธรุกิจสายการบิน และจำนวนเครื่องบินขยายตัว รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ การซ่อมบำรุงอากาศยาน การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เป็นต้น ทำให้กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดในการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมการบิน” ของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

5. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2, 3, 4

ระยะที่ 2 (ปีพ.ศ. 2554-2560) การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่สองและอาคารผู้โดยสารหลังที่สองทางทิศใต้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมภายนอกแบบเดียวกันกับอาคารหลังที่หนึ่ง แต่ตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการก่อสร้างท่าอากาศยานต้องใช้เวลาอย่างต่ำถึง 5 ปี จึงทำให้แผนการรื้อฟื้นท่าอากาศยานดอนเมืองถูกนำมาใช้ชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบเต็มเฟสจะเสร็จสิ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี

Picture 2
รูปภาพที่ตั้งโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ 4 ที่มา : ท่าอากาศยานไทย (ทอท.)

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 3 ช่วงปีพ.ศ. 2559-2564 ตั้งเป้าหมายให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 75 ล้านคน โดยจะขยายอาคารผู้โดยสายด้านทิศตะวันตกก่อสร้างถนนด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 หลุมจอดอากาศยานประชิดอาคาร จำนวน 28 หลุมจอดการสร้างอุโมงค์และระบบขนส่งผู้โดยสาร การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อเตรียมการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4

โครงการพัฒนาท่าอากาศยาน ระยะที่ 4 ซึ่งจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ด้านทิศใต้หลุมจอดอากาศยานถนนเชื่อมต่อด้านหน้าอาคารผู้โดยสารอาคารที่จอดรถยนต์ อุโมงค์รองรับผู้โดยสาร 90 ล้านคนต่อปี ถึงปีพ.ศ. 2575

6. โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา ระยะทาง 68 กิโลเมตร

โครงการทางพิเศษสาย บูรพาวิถี-พัทยา เป็นโครงการที่ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทุกรูปแบบ ได้แก่ การขนส่งทางราง การขนส่งทางถนน และทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยาเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในอนาคต

7. โครงการมอเตอร์เวย์สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร

เป็นส่วนต่อขยายจากโครงการเดิม คือ มอเตอร์เวย์สายกรุงเทพฯ-พัทยา อยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง ระยะทาง 31.150 กิโลเมตร วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ เชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิท่าเรือแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย สถานะของโครงการในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559) กรมทางหลวงได้ทำการลงนามในสัญญาโครงการก่อสร้างแล้ว 5 สัญญา จากทั้งหมด 13 สัญญา ส่วนที่เหลืออีก 8 สัญญา อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาผู้รับจ้างและเจรจาต่อรองราคา โดยทุกสัญญาจะลงนามได้ภายในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปีพ.ศ. 2562

8. โครงการขยายท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3

โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 1 และ 2 พัฒนาเสร็จสิ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 มีการใช้บริการส่งออกหนาแน่น เริ่มใกล้ขีดความสามารถของท่าเรือ ดังนั้นการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงเตรียมดำเนินการขยายท่าเรือระยะที่ 3 ตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของ กนอ. เพื่อรองรับการขนส่งในอนาคต ทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่

โดยสรุปจากแผนงานในโครงการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน อันน่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในรอบต่อไปอย่างน่าตื่นเต้น เนื่องจากอุปสงค์ที่จะขยายตัวในอัตราที่น่าสนใจจากแหล่งงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวดังกล่าว ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปโดยเฉพาะความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ของภาครัฐ

ติดตามอ่านตอนแรกได้ที่ :  อนาคตอสังหาฯ ภาคตะวันออก หลังยุคต่อไป (ตอนที่ 1)

นิตยสาร Builder Vol.32 JUNE 2016

Previous articleAlvaro Siza ผู้สร้างสรรค์ผลงานเรียบง่ายที่ครบองค์ประกอบ
Next articleเน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ฯ
ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาฯ ในใจคุณ
วสันต์ คงจันทร์
นักเขียนนิตยสาร Builder กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด