ใครข้าวของกองเต็มบ้านฟังทางนี้ คุณอาจมีเพื่อนประเภทเดียวกันอีกมาก เพราะสำหรับสไตล์การตกแต่งแบบโบฮีเมียน (Bohemian) แล้ว ความงามคือความรุงรัง ไม่ใช่ความโล่งใสไร้ลวดลายประดับแบบมินิมอล
โบฮีเมียนไม่ได้เป็นแค่สไตล์การออกแบบตกแต่งภายใน แต่คือคอนเซ็ปต์ความงามที่พบได้ในงานออกแบบอื่น ๆ ด้วย เช่นแฟชั่นสไตล์โบฮีเมียนหรือโบโฮ (Boho) ที่เคยได้รับความนิยมอย่างมากสมัยก่อน ซึ่งล้วนมีองค์ประกอบหลายอย่างสอดคล้องกัน อย่างเช่นความ “เยอะ” ของการประดับตกแต่งจนละลานตา

ตรงกันข้ามกับสไตล์มินิมอล สแกนดิเนเวียน หรือโมเดิร์นที่เน้นความน้อยและเรียบสบายตา หัวใจของสไตล์โบฮีเมียนไม่ว่าจะในอินทีเรียหรือแฟชั่นคือความเยอะ ไม่ว่าจะสีเยอะ ลวดลาย-พื้นผิวเยอะ หรือของประดับตกแต่งเยอะ ที่ก็ไม่จำเป็นต้อง “เข้ากัน” เพื่อแสดงออกถึงตัวตนปัจเจกของผู้อยู่อาศัยในฐานะผู้คัดเลือกความเยอะเหล่านั้นเข้ามาสะสม

การเรียกสไตล์เช่นนี้ว่ารก แม้จะไม่ผิดนักแต่ก็คงไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะความรกนี้คือความงามหากมองตามสไตล์โบฮีเมีย แต่ในทางกลับกัน จะไปเรียกห้องรก ๆ ทุกห้องว่าเป็นการตกแต่งสไตล์โบฮีเมียก็คงจะยิ่งไม่ใช่เช่นเดียวกัน
หากสนใจลงลึกกับการออกแบบตกแต่งแบบโบโฮให้จริงจังกว่านี้ ลองดูตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก่อสร้างอย่างกระเบื้อง ECO-TERRA BOHO จาก COTTO ที่เป็นลวดลายกราฟิกแนวทแยงผสานกับลวดลายโบราณ สามารถปูได้หลายแบบ

Source