ช่วงนี้เราได้มีการนำเอาไอเดียการรีโนเวท หรือการบูรณะ อาคารเก่าแก่มาให้ชมอยู่เป็นพัก ๆ ครั้งนี้จึงขอหยิบยกเอาการออกแบบร่วมสมัยของดีไซน์ดั้งเดิมมารวมกับดีไซน์สมัยใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือความแตกต่างอย่างลงตัว สวยงามในแบบฉบับที่มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

Horizontal Design สตูดิโอออกแบบจากประเทศจีน ได้ทำการรีโนเวทโครงสร้างอาคารเก่า ๆ ของบริเวณเมืองจางหยางในกลายเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจางหยาง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดกลาง โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ร่วมสมัย, ดั้งเดิม และอนาคต โดยการรวมกันของโครงสร้างอาคารเก่ามาต่อเติมอาคารส่วนใหม่ ซึ่งทีมออกแบบต้องการที่จะอนุรักษ์ความคลาสสิคของอาคารคงไว้เหมือนเดิมให้ได้มากที่สุด

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมแห่งนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจางหยาง เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมเซี่ยงไฮ้โบราณ และเป็นหนึ่งในตัวแทนของวัฒนธรรมภูเขาฟูชวนอีกด้วย โดยนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้สร้างขึ้นอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระทบกับภาพลักษณ์ของความเก่าแก่แต่เป็นการต่อเติมที่ทำออกมาได้ลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ

‘การเกิด, การเติบโต และการใช้ชีวิต’ เป็นคอนเซปต์ในการรีโนเวทในครั้งนี้ ที่เราใช้ปรับปรุง ต่อเติมและฟื้นฟูหมู่บ้านจางหยาง ให้เหมือนหมู่บ้านอื่น ๆ ในประเทศจีน มันไม่ใช่การลบอดีตภาพจำของอาคารในสมัยก่อน แต่เป็นการพัฒนาให้สอดรับกับประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านแห่งนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกและจัดระเบียบหมู่บ้าน รวมถึงปรับโครงสร้างระบบนิเวศเชิงพาณิชย์อีกด้วย” ทีมออกแบบกล่าว

เป็นการผสมผสานที่จัดรูปแบบแล้วลงตัวอย่างมาก ทั้งการต่อเติม จัดห้องนิทรรศการ ที่ทำออกมาแล้วไม่กระทบต่ออาคารเก่าแก่และกลมกลืนไปกับสถานที่ดั้งเดิม ในอนาคตเราคงจะได้เห็นการฟิวชันกันของการออกแบบลักษณะนี้ออกมาอีกไม่น้อยเลยทีเดียว

 

All Images by Su Shengliang / Schran Images

 

Project Info:

Name: Zhang Yan Cultural Museum

Architect: Horizontal Design

Area: 1064 Sqm

Location: Shanghai, China

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

old and new coexist in horizontal design’s zhang yan cultural museum in china

Previous articleบันไดสู่สวรรค์การอยู่อาศัย ‘Kaidannoie’
ไอเดียบ้านสุดแปลกของ Nendo Design Studio
Next articleลืมภาพจำของห้องใต้หลังคาแบบเก่า ๆ มาชมไอเดียดีไซน์ห้องใต้หลังคารูปไข่
โปร่ง โล่ง เพิ่มพื้นที่ใช้สอยในบ้าน
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ