In-short Content

  • ลอฟท์ (Loft) แท้จริงแล้วมีความหมายว่า “พื้นที่ใต้หลังคา” นอกจากนี้ยังสามารถแปลได้ว่าเป็นชั้นที่ไม่ได้แบ่งสัดส่วนในโรงงาน คลังสินค้า หรือแม้แต่พื้นที่เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รวมไปถึงที่อยู่อาศัยอีกด้วย
  • การตกแต่งสไตล์ Industrial Loft ถึงจุดพีคในช่วงยุค 60s เพราะเหล่าศิลปิน ดีไซเนอร์ และสถาปนิกในยุคนั้นต่างก็หลงใหลในห้องโล่งกว้างและอิสระในการใช้สอยพื้นที่
  • วัสดุปิดผิวโลหะ Formica คอลเลกชัน DecoMetal® ช่วยสร้างพื้นที่ให้กลายเป็นสไตล์ Industrial Loft ด้วยความหลากหลายจากผลิตภัณฑ์ใหม่ 69 รุ่น รวมเป็น 117 ดีไซน์ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเปิดผิวจริงของวัสดุ เช่น พื้นผิวเหล็กที่เป็นสนิม ซึ่งเกิดข้อจำกัดเรื่องฝุ่นผง การผุกร่อน และการดูแลรักษาที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ

มองไปทางไหนก็เห็นแต่คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์ Industrial Loft ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสไตล์เฉพาะตัว ดิบเท่ ทว่าผ่อนคลาย ท่ามกลางยุคที่การตกแต่งแบบ Modern เป็นที่เกลื่อนกลาดและดูจำเจ ผู้คนจึงมองหาอะไรที่ไม่ซ้ำใครและเริ่มนำการตกแต่งสมัยก่อนมาประยุกต์กับการตกแต่งสมัยใหม่ตามสไตล์ของตนเองอย่างอิสระ

Quick Knowledge

History of Industrial Loft Style

“Industrial Loft Style” มีต้นกำเนิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร โกดังหลายแห่งปิดตัวลง บ้างก็ถูกทิ้งร้าง แต่โครงสร้างของอาคารยังคงอยู่ในสภาพที่ดีอยู่ ประกอบกับการที่ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มคนที่ไม่มีกำลังทรัพย์มากพอจะซื้อที่อยู่อาศัยเหล่านั้นได้จึงมีแนวคิดที่จะนำอาคารที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นที่พักอาศัย

การตกแต่งแนวนี้เน้นแสดงผิวจริงของวัสดุ เช่น เหล็ก อิฐและปูนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเพียงโรงงาน การก่อสร้างจึงไม่ได้มีการฉาบเรียบไม่ได้เน้นความสวยงามและความเรียบร้อยมากนัก โดยคำว่าลอฟท์ (Loft) แท้จริงแล้วมีความหมายว่า “พื้นที่ใต้หลังคา” นอกจากนี้ยังสามารถแปลได้ว่าเป็นชั้นที่ไม่ได้แบ่งสัดส่วนในโรงงาน คลังสินค้า หรือแม้แต่พื้นที่เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม และหลายครั้งก็ได้ใช้ส่วนขยายนี้เพื่ออยู่อาศัย ซึ่งจริง ๆ แล้วการตกแต่งสไตล์นี้เรียกเต็ม ๆ ได้ว่า “Industrial Loft Style” นั่นเอง

การตกแต่งสไตล์ Industrial Loft ถึงจุดพีคในช่วงยุค 60s เพราะเหล่าศิลปิน ดีไซเนอร์ และสถาปนิกในยุคนั้นต่างก็หลงใหลในห้องโล่งกว้างและอิสระในการใช้สอยพื้นที่ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสตูดิโอสร้างสรรค์ผลงาน ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นบ้านสำหรับอยู่อาศัยได้จริง และการออกแบบสไตล์นี้ก็ได้รับความนิยมต่อมาเรื่อย ๆ ในความดิบเถื่อน ทว่าให้กลิ่นอายของความสบายด้วยโถงที่โล่งจากเพดานสูงของโครงสร้างโรงงานอีกด้วย

5 คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์ Industrial Loft สำหรับนั่งชิลล์รอบกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนบ้าง ตาม BuilderNews ไปกันเลย!

1.Labyrinth Café

เริ่มที่แรกจากละแวกศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ “Labyrinth Cafe” คือ คาเฟ่สไตล์ Industrial Loft ตั้งอยู่บนชั้น 1 ใน Shophouse 1527 อาคารเก่าแก่อายุกว่า 80 ปีแห่งสามย่าน

ด้วยประตูเหล็กสีดำสะดุดตา ท่ามกลางพื้นที่แสดงผลงานศิลปะสุดชิค คงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมเดิมผ่านร่องรอยขีดเขียน รอยถลอกที่บ่งบอกถึงอายุการใช้งานของตึก นับว่าเป็นสถานที่ที่ผู้หลงใหลในงานสถาปัตยกรรมและเสพติดกลิ่นอายของสไตล์ Industrial Loft ไม่ควรพลาด

2.The Never Ending Summer

ร้านอาหารไทยติดแม่น้ำเจ้าพระยากับการตกแต่งสไตล์ Industrial Loft ย่านเจริญนคร ซอยติดกับตลาดท่าน้ำคลองสาน ในโครงการ Jam Factory ติดร้านหนังสือ Candide ร้านกาแฟ Library เน้นการตกแต่งที่สบาย ๆ ให้ความรู้สึกว่าเป็นฤดูร้อนตลอดทั้งปี  หรือ ฤดูร้อนที่ไม่มีวันจบ ตามชื่อร้านนั่นเอง

The Never Ending Summer ได้เนรมิตโกดังของโรงงานเก่าเป็นคาเฟ่สไตล์ Industrial Loft ซึ่งพยายามรักษาพื้นผิวเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง เช่น ไม้หรือกำแพงเก่า จนได้ลุคเท่มีสไตล์เหลือกลิ่นอายโรงงานเก่าทว่ากลมกลืนไปกับยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว

3.The Shaker Café

The Shaker Café ตั้งอยู่ที่ถนนกาญจนาภิเษก ซอยเพชรเกษม 49 โดยที่มาของชื่อ The Shaker Café คือการที่ร้านใช้เครื่อง Shaker ในการชงกาแฟนั่นเอง พร้อมบรรยากาศภายในร้านสุดชิลล์ เหมาะแก่การผ่อนคลาย นั่งจิบอเมริกาโน่สูตรเฉพาะ ประกอบกับฟังเพลง Jazz เพลิน ๆ ทั้งนี้ยังเปิด Workshop ทำกระเป๋าหนังให้ลูกค้าได้มีกิจกรรมสนุก ๆ นอกจากการดื่มกาแฟอีกด้วย

4.ONEDAY at a time

ภาพจาก Fb: I Magazine

ร้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ONEDAY ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนเพื่อเป็นหุ้นส่วนกันภายใต้คอนเซปต์การสร้างสถานที่ที่ผู้คนสามารถเที่ยวได้ครบใน 1 วัน โดยคาเฟ่นี้อยู่ที่สุขุมวิท 26 (BTS พร้อมพงษ์) ในใจกลางเมืองท่ามกลางบรรยากาศสุดผ่อนคลาย ด้วยการตกแต่งสไตล์ Industrial Loft โดยแสงไฟสลัว ๆ สีส้มที่ช่วยสร้างความชิลล์เหมาะแก่การพักผ่อน โครงการนี้แบ่งเป็นโซนคาเฟ่ (ชื่อว่า Casa Lupin) ร้านอาหาร Co-working Space รวมไปถึง Hostel อีกด้วย

ภาพจาก Fb: I Magazine

5.The Third Pig

The Third Pig ร้านอาหารสุดครีเอทที่ได้คอนเซปต์การตกแต่งร้านมาจากนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว โดยเปลี่ยนพื้นที่ของธนาคารและร้านอาหารเก่าย่านห้าแยกลาดพร้าวให้กลายเป็นบ้านของลูกหมูตัวที่สามซึ่งแข็งแรงที่สุด

ภายในร้านได้ออกแบบเตาผิงและผนังด้วยการก่ออิฐสีส้ม บางส่วนเผยให้เห็นผนังปูนเปลือยเพื่อเพิ่มความดิบสไตล์ Industrial Loft ใช้กิ่งไม้และถังสังกะสีสำหรับโคมไฟ นอกจากนี้ยังตกแต่งด้วยเครื่องครัวไม้ ช่อดอกไม้แห้งและหนังสือนิทานเก่าเพื่อเพิ่มกลิ่นอายที่อยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น

Formica: ทางเลือกการออกแบบสไตล์ Industrial Loft ที่ก้าวผ่านข้อจำกัดของการใช้วัสดุจริง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการเปิดผิววัสดุจริงตามสไตล์ Industrial Loft นั้นมีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการดูแลรักษา หรือการทำความสะอาดนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น พื้นผิวโลหะซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องของฝุ่นผง การผุกร่อน ฯลฯ

ฟอร์ไมก้าจึงได้ต่อยอดคอลเลกชัน DecoMetal® พร้อมเปิดตัววัสดุปิดผิวโลหะเพื่อการตกแต่งที่โดดเด่น ส่งมอบความแวววาวและเปล่งประกายด้วยผิวสัมผัสที่สะท้อนชีวิตชีวา ความทันสมัย และความชื่นชมที่มีต่องานหัตถศิลป์อย่างลึกซึ้งประกอบเข้ากับการตกแต่งสไตล์ Industrial Loft ได้อย่างลงตัว

คอลเลกชัน DecoMetal® ชุดล่าสุดนี้ได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 69 รุ่น รวมเป็น 117 ดีไซน์สำหรับการตกแต่งที่ครอบคลุมทุกสไตล์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบคลาสสิกไปจนถึงสมัยใหม่ หรือสไตล์งานทำมือไปจนถึงงานดีไซน์จัดจ้าน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์รุ่นเด่นบางส่วนจากคอลเลกชันนี้ ได้แก่ Moon, Diamond Antique และ New Crisp

Moon
Moon
Moon

“Moon” มาพร้อมสีสันของทองแดงและทองเหลือง ทั้งแบบสีธรรมชาติและแบบมันวาว รวมทั้งการผสมผสานของทองแดงและเทอร์ควอยส์ภายใต้พื้นผิวกัดกร่อน ราวกับรอยฝีเกรียงของช่างปูนที่ถากลงบนผิวหิน เกิดเป็น “ร่องรอยการใช้งาน” ที่ส่งผ่านชีวิตชีวาสู่งานออกแบบภายใน ผลลัพธ์ที่ได้ครอบคลุมตั้งแต่บรรยากาศในแบบโรงงานดิบ ๆ ไปจนถึงงานลอฟท์ที่ดูทันสมัย ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่จากซีรีส์ Moon ประกอบด้วย Moon Light Copper, Moon Turquoise Copper, Moon Dark Copper และ Moon Brass

Diamond Antique
Diamond Antique

การเกลี่ยสีทองแดงและทองเหลืองอย่างนุ่มนวล ตัดกับเส้นทแยงและลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอันคมชัด เกิดเป็นปฏิกิริยาระหว่างสีสันและเส้นสายบนพื้นผิวของ “Diamond Antique” เคลือบผิวโลหะทั้ง 2 ชั้น ต่างเล่นล้อไปกับแสง รูปทรง และสีสันของสภาพแวดล้อมได้อย่างลงตัว พื้นผิวใหม่จากผลิตภัณฑ์ชุดนี้ประกอบไปด้วย Diamond Antique Brass, Diamond Antique Copper และ Diamond Antique Bronzetone

New Crisp
New Crisp

เส้นร่องเล็ก ๆ ในชุดผลิตภัณฑ์ “New Crisp” สร้างเอกลักษณ์บนพื้นผิวที่ไม่เหมือนใคร พร้อมด้วยสีสันหลากหลาย รองรับทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Crisp Rose, Crisp Oxygreen, Crisp Gold หรือ Crisp Anthracite ที่ขับเน้นให้เห็นเส้นสายแร่อันโดดเด่น หรือจะเป็นโทนสีเข้มอย่าง Crisp Antique Copper ที่เส้นสายแตกแขนงแฝงตัวอยู่บนพื้นผิวอย่างกลมกลืน

คอลเลกชัน DecoMetal® เหมาะสำหรับงานเบาทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ไม่ว่าจะเป็นผืนผนัง ท็อปโต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ แท่นวางผลิตภัณฑ์ ป้าย งานนิทรรศการและจัดแสดงสินค้า ลองสัมผัสคุณสมบัติการใช้งานที่หลากหลายของลามิเนตที่ก้าวล้ำเกินกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ตกแต่ง สำหรับผู้ที่ต้องการตกแต่งพื้นที่อยู่อาศัย เปิดร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ ตามสไตล์ Industrial Loft หรือออกแบบได้อย่างอิสระตามแต่ใจปรารถนา

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์ไมก้า และผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุดได้ที่ http://bit.ly/3b7BLMl

เปิดแฟ้มประวัติอายุ 108 ปี กับ ฟอร์ไมก้า แบรนด์ลามิเนตเจ้าแรกของโลก

 

อ้างอิงข้อมูล

https://www.houzz.com.au/magazine/living-the-high-life-the-evolution-and-features-of-loft-apartments-stsetivw-vs~52021612

https://thinkofliving.com/

https://www.bkkmenu.com/eat/we-recommend/labyrinth-cafe.html?fbclid=IwAR10vxgJUXYPryloviUBG3x5Kqipvoovq0Mtn6ck0NVd4TEjzDmvlwxtEJ4

https://www.bkkmenu.com/eat/we-recommend/the-never-ending-summer.html

https://www.chillpainai.com/eat/1234/

https://www.bkkmenu.com/eat/we-recommend/the-third-pig.html

https://sistacafe.com/summaries/27686

Previous articleหนุ่มดวงตก เหยียบฝาหล่นตกทั้งตัว เคราะห์ดีเจ็บเล็กน้อย
Next articleเปิดภาพ “ทางลอดหน้า ม. พะเยา” แก้รถติด ลดอุบัติเหตุ
Porntiwa
สาวรัฐศาสตร์หน้าใส หัวใจรักการเขียน ผู้ผันตัวจากสายการเมือง มุ่งหน้าสู่สถาปัตยกรรมเต็มตัว