วันนี้ (9 มีนาคม 2562) เป็นวันแรกของการเปิดใช้อย่างเป็นทางการของทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี – อ.ปักธงชัย (ทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก) เส้นทางสายยุทธศาสตร์เชื่อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นเส้นทางสายหลักที่รองรับการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
ส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนี้อยู่ในพื้นที่รอยต่อของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จึงมีก่อสร้างทางเชื่อมผืนป่าที่ได้ออกแบบเป็นอุโมงค์และสะพานสำหรับสัตว์ข้าม
ทางเชื่อมแรกเป็นอุโมงค์ชนิดดินตัดและถมกลับ (Wildlife Overpass) ด้วยการถมดินด้านบนอุโมงค์ ปลูกต้นไม้ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบนิเวศ เพื่อจูงใจให้สัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์ และสามารถข้ามฝั่งไป-มาได้
นอกจากนี้ ยังได้ก่อสร้างสะพานทางยกระดับเพื่อเป็นทางลอดสัตว์ป่า (Wildlife Underpass) ซึ่งรถสามารถวิ่งบนสะพาน ขณะเดียวกันสัตว์ป่าสามารถลอดใต้สะพานไป-มาได้อย่างปลอดภัย
อย่างไรก็ดี สะพานสัตว์ข้ามมีความแตกต่างจากสะพานทั่วไปที่มีโครงสร้างครอบคลุมเลนจราจรระหว่าง 2-4 ช่อง ระยะทางค่อนข้างยาวเพื่อข้ามเขตถนนหรือแม่น้ำ โดยสะพานสัตว์ข้ามต้องคำนึงความกว้างและระยะเสาของสะพานที่ต้องมีระยะทางสั้นกว่า แต่ระยะระหว่างเสาโครงสร้างกว้างกว่า เพื่อรองรับปริมาณชั้นดินและการปลูกพืช (Landscaped Surface) และมีภูมิประเทศที่ถอดแบบมาจากพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
ในส่วนของต่างประเทศก็มีการก่อสร้างอุโมงค์และสะพานสัตว์ข้ามหลายแห่ง ซึ่งจะมีรูปแบบใดบ้าง ลองไปดูกัน
อ้างอิง:
www.boredpanda.com/bridges-for-animals-around-the-world/
www.prachachat.net/property/news-299253