เทรนด์การดูแลสุขภาพทุกวันนี้ไม่ได้ถูกตีกรอบจำกัดเฉพาะเรื่องอาหารการกินหรือการออกกำลังกายอีกต่อไป
แต่หลายคนยังใส่ใจไปถึงปัจจัยภายนอกอย่างสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมไปถึงที่พักอาศัยที่เราต้องอยู่ทุกวัน
ในงานสถาปนิก’65 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 34 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อไม่นานมากนี้ เราได้เห็นเทรนด์วัสดุก่อสร้างที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ซึ่งแบรนด์ที่ทำได้โดดเด่นแบรนด์หนึ่ง คือ จระเข้ จาก บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ได้คิดค้นนวัตกรรมสี “SEE JORAKAY” ที่นอกจากจะสวยและตกแต่งได้หลากหลายแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วย นับเป็นผลิตภัณฑ์อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจับตามองนอกเหนือไปจาก ผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องงานโครงสร้างพื้นฐาน ที่ครอบคลุมการใช้งานตั้งแต่งานโครงสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทางยกระดับ ไปจนถึงงานท่าเทียบเรือ และผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องบ้านทั้งหลัง ที่ทำให้บ้านแข็งแกร่ง ทนทาน ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลายคนอาจสงสัยว่า “สีทาบ้าน” จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร คำตอบอยู่ตรงนี้ เพราะ SEE JORAKAY เป็นสีที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ผลิตจาก Lime Stone ผสานกับเทคโนโลยี Graphene ที่ได้รับรางวัลโนเบล ทำให้มีคุณสมบัติในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี โดยสีขนาด 15 ลิตร 3 ถัง สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 14.4 กก. เทียบเท่ากับต้นไม้ใหญ่หนัก 250 กก. 1 ต้น และยังปราศจากสารประกอบอินทรียวัตถุระเหยง่าย (Non VOCs) ไร้กลิ่นฉุนและสารก่อมะเร็ง สามารถเข้าอยู่ได้ใน 24 ชั่วโมง
นอกจากจะนำ SEE JORAKAY มาให้ผู้ร่วมงานสถาปนิก’65 ได้สัมผัสกับคุณสมบัติอันโดดเด่นแล้ว จระเข้ ยังได้ชวน 2 ดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง สมชาย จงแสง และ จุลสมโณ พงษ์เสฐียร มาร่วมค้นหาแรงบันดาลใจในการออกแบบพื้นที่แห่งความสุขจากสีธรรมชาติ ที่ไม่จำเป็นต้องเรียบง่าย แต่สามารถดีไซน์ให้หลากหลายไอเดีย ผ่านกิจกรรมทอล์กในบรรยากาศสบาย ๆ
“สมชาย จงแสง” DESIGN DIRECTOR / DECA ATELIER CO., LTD. ดีไซเนอร์แถวหน้าของเมืองไทย ผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบมากว่า 30 ปี และเจ้าของรางวัลศิลปาธร ปี 2552 สาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ได้มาแบ่งปันประสบการณ์การทำงานในฐานะจิตอาสาและการออกแบบพื้นที่ทางจิตวิญญาณ เพื่อบอกเล่าถึงแนวคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ SEE JORAKAY เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ ซึ่งโปรเจกต์ที่ถือว่าโดดเด่นที่สมชายนำมาถ่ายทอดให้ผู้ร่วมงานฟัง คือ อาคารธรรมาศรม เสถียรธรรมสถาน
“ธรรมาศรมเป็นโปรเจกต์ที่แม่ชีศันสนีย์ให้โอกาสผมเข้ามาทำในฐานะจิตอาสา คุณแม่ต้องการให้ที่นี่ เป็นที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม โจทย์คือต้องเป็นอาคารที่เบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด ซึ่งคุณแม่ใช้คำว่า ‘สุขมากใช้น้อย’ เพราะฉะนั้น เราจึงเน้นเรื่องประหยัดพลังงาน การทำอาคารที่อาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่ท้าทายที่คุณแม่ยื่นโจทย์มาให้ อีกเรื่องหนึ่งคือเราอยากให้อาคารแห่งนี้สร้างมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมและเพื่อนบ้านให้น้อย ซึ่งปกติจะเห็นอาคารต่าง ๆ จะต้องมีคอมเพรสเซอร์ มีการตากผ้า สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะทางสายตาแบบไม่ได้ตั้งใจ เมื่อสรุปได้ดังนี้ เราจึงออกแบบเปลือกอาคารซึ่งเป็นหัวใจของอาคารให้ทำหน้าที่ 3 อย่าง คือ ป้องกันความร้อน, ระบายอากาศ และสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ที่มาพักโดยไม่สร้างมลภาวะทางสายตาให้กับคนอื่น”
สมชายเจาะลึกถึงการออกแบบเปลือกอาคารต่อว่า “ผมนึกถึงซีเมนต์บล็อก แล้วจึงเกิดไอเดียที่อยากจะให้นักออกแบบที่มีฝีมือและมีจิตอาสามาร่วมด้วย จึงชักชวนกันมาอีก 7 คน ช่วยกันออกแบบคนละดีไซน์ ซึ่งซีเมนต์บล็อกนี้ทำให้แสงที่ผ่านเข้ามาตกกระทบบนพื้นผิวและเกิดลวดลายที่ต่างกันออกไปตามช่วงเวลา ทำให้อาคารแห่งนี้มีชีวิตขึ้น การทำธรรมาศรมออกมาได้สวยงามแบบนี้ ต้องขอบคุณ SEE JORAKAY ด้วยที่เข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เราได้ทดลองเทคนิคการใช้สีสไตล์ใหม่ อาคารนี้มีพื้นผิวคอนกรีต แต่ปกติงานก่อสร้างคอนกรีตจะมี Deflect มาก จึงคิดกันว่าเราจะทำพื้นผิวคอนกรีตให้ต่อเนื่องโดยไม่เห็น Deflect ได้อย่างไร ทาง SEE JORAKAY ก็มีสี Color Cement เราจึงนำมาลองใช้ แล้วให้จระเข้ช่วยเรื่องเทคนิค เราให้โจทย์ว่าอยากให้พื้นผิวของผนังมีลักษณะคล้ายปูนซีเมนต์ จึงเกิดการทดลองปั่นสี ทำให้พื้นผิวเกิดเป็นลายและเกิดเอฟเฟคกับแสงที่ตกกระทบ ซึ่งคนที่มาเห็นต่างก็ประทับใจกัน ข้อดีอีกอย่างที่เราเลือกใช้ SEE JORAKAY คือเบสของสีเป็นธรรมชาติ เราห่วงเรื่องสารพิษในสี การใช้สีที่มีเบสเป็นธรรมชาติจึงตอบโจทย์ ถือเป็นตัวเลือกเดียวที่มี หาแบบนี้ไม่ได้จากสีอื่น“
ด้าน “จุลสมโณ พงษ์เสฐียร” สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Flat12x เจ้าของรางวัล Top Ten จาก World Architecture Festival ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ในอีกมุมหนึ่งเกี่ยวกับการออกแบบบ้านด้วยสีสันแบบนอกกรอบ
จุลสมโณเล่าถึงวิธีคิดและวิธีการทำงานก่อนที่จะได้แบบบ้านออกมา “บ้านคือสิ่งที่สะท้อนตัวตนของเจ้าของ ในการออกแบบแต่ละครั้ง เราต้องไปใช้เวลาอยู่กับเขา ชวนสมาชิกในบ้านพูดคุยถามถึงไลฟ์สไตล์ ความต้องการ ความชอบ เพื่อช่วยกลั่นความคิดให้ตกผลึกก่อนจะออกมาเป็นแบบบ้าน การออกแบบบ้านที่ดีต้องทำให้บ้านส่งเสริมสิ่งที่มีอยู่หรือส่งเสริมสิ่งที่อยากมีอยากเป็นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เพราะเมื่อเราปลูกบ้านแล้ว ต้องอยู่ไปอีกหลายปี และบ้านจะต้องเป็นแหล่งพลังงานให้คนอยู่ ฟังก์ชันไม่ติดขัด เมื่อได้บทสรุปกับลูกค้าแล้ว ผมจะใส่สไตล์ที่ชอบลงไปด้วย เป็นเหมือนคาแรคเตอร์ของคนออกแบบ นั่นก็คือ การทำบ้านให้สดชื่น และมีสีสัน
“ก่อนหน้านี้เวลานึกถึงสี ก็จะคิดว่ามันก็แค่สีที่เอามาทา เราก็แค่เลือกเบอร์สี แต่ตอนนี้สีมีลูกเล่นมากขึ้น แม้แต่เนื้อสีเองก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น SEE JORAKAY ซึ่งเป็นสีที่ทำจากธรรมชาติ นอกจากจะสร้างลวดลายและผิวสัมผัสให้บ้านมีความแปลกใหม่แล้ว ใครจะคิดว่าสีสามารถระบายอากาศได้ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ไร้กลิ่นฉุนของสารระเหยและสารก่อมะเร็ง ตอนนี้ทุกคนมุ่งไปหาเรื่องเดียวกันคือสุขภาพ ยิ่งช่วงโควิดทุกคนยิ่งใส่ใจสุขภาพมากขึ้น พอมีสีจากธรรมชาติก็ทำให้คนรักสุขภาพมีทางเลือกมากขึ้น”
จุลสมโณให้แนวคิดในการเลือกใช้สีว่า “การฉาบเรียบทาสีแล้วไม่ได้ฟินิชชิ่งก็เหมือนการทาครีมแต่ไม่ได้ใส่เสื้อ เราอาจพบว่าผนังแตกร้าวบ้าง สีหลุดล่อนบ้าง ก็ต้องมาทาใหม่ ถ้าเราไม่สามารถซื้อเสื้อมาใส่ให้บ้านได้ก็ต้องทาครีมอย่างดี เลือกสีที่ทาครั้งเดียวแล้วอยู่ได้นาน สำหรับสีในบ้านยิ่งต้องเลือก เพราะในบ้านต้องใช้งานหนัก โดนกระแทก เดินชน ของหกใส่ ต้องเป็นสีที่มีคุณภาพ และดีต่อสุขภาพของคนในบ้านด้วย บางคนไม่รู้ว่าทำไมอยู่ไปแล้วเป็นภูมิแพ้ ลองสังเกตว่าหัวเตียงเราอยู่ข้างผนังที่ทาสีที่ไม่สะอาดหรือเปล่า ผนังอาจจะเก็บฝุ่นมานาน หรือรับแดดสะสมความร้อนทุกวันจนส่งพิษมาถึงเราได้ จึงควรเลือกสีธรรมชาติดีต่อสุขภาพตั้งแต่ต้น”
ได้ฟังดีไซเนอร์ 2 เจนฯ มาแชร์ประสบการณ์การออกแบบด้วยการนำสีไปสร้างสรรค์พื้นผิว หลายคนเริ่มเกิดแรงบันดาลใจที่จะออกแบบพื้นที่ของตัวเองบ้าง ใครสนใจสีจากวัสดุธรรมชาติที่ให้ทั้งความสวยงามและดีต่อสุขภาพ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของจระเข้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.jorakay.co.th หรือ FB : jorakay สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-720-1112