ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการก่อสร้างอาจเห็นการโต้เถียงที่เกิดจากภาพ 2 ภาพนี้ เกี่ยวกับความหนาแน่นของเหล็กในการก่อสร้างทางคอนกรีตที่ทั้งสองภาพแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยที่ภาพแรกคือประเทศไทย ส่วนภาพที่สองคือเยอรมนี

ภาพจาก https://www.facebook.com/groups/304371594831964/posts/367952595140530/

อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุของความแตกต่างด้านการก่อสร้างในทั้งสองภาพไม่ได้เกิดจากความแตกต่างของประเทศ

แต่เกิดจากความแตกต่างของประเภทงานก่อสร้างต่างหาก เพราะเป็นการนำภาพการก่อสร้างถนนมาเปรียบเทียบกับการก่อสร้างสะพาน

นี่คือภาพของการก่อสร้างถนนคอนกรีตที่โรงเรียนนานาชาติรักบี้ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

ภาพจาก https://app.builk.com/P2Nconstructor/projects/2023774?lang=TH&fbclid=IwAR2xmW5TGzDXM91bBp8l5K-SeIb1-EF6g_6ZQwYh1OdiibscxwtTLMOMpa8

แต่นี่ก็คือภาพของการก่อสร้างในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

สิ่งที่ภาพที่สองแตกต่างไปจากภาพแรก นอกจากปริมาณของเหล็กที่ใช้ก่อสร้าง คือภาพที่สองเป็นการปรับปรุงก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือคุณสมบัติสำหรับการใช้งานคนละประเภทกัน จึงต้องการการออกแบบที่แตกต่างกันด้วย

เหล็กในการก่อสร้างถนนคอนกรีต

เหตุผลที่ต้องมีการใช้เหล็กในถนนคอนกรีตคือเพื่อเลือกค่าความแข็งแรงได้ตามที่ต้องการ

ในกระบวนการสร้างถนนคอนกรีตทั้งหมด การวางตะแกรงเหล็กเป็นขั้นตอนแรกของการเทพื้นคอนกรีต ตามที่ สุพจน์ เพชรศักดิ์วงศ์ ได้อธิบายเอาไว้

สำหรับตะแกรงเหล็กที่ใช้ก็อาจเป็นตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป (Wire Mesh) แทนการผูกเหล็กแบบเดิมก็ได้ โดยประโยชน์ของ Wire Mesh คือ

  • ช่วยลดเวลาการทำงาน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำหนัก
  • ทำให้คอนกรีตเกาะตัวได้ง่าย
  • ช่องตารางมีความสม่ำเสมอ
  • ขนส่งได้สะดวก
  • และยังสามารถผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งานได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามถนนคอนกรีตมีต้นทุนค่าก่อสร้างสูง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับถนนลาดยางที่ไม่ใช้ทั้งคอนกรีตและเหล็ก การประเมินความคุ้มค่าในการสร้างจึงต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น ปริมาณการจราจรต่อวันบนถนนเส้นนั้น หรือประเภทการใช้งานของถนนนั้น

เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งาน

จะเห็นได้ว่า ความคุ้มค่าคือการออกแบบให้ได้ความแข็งแกร่งตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งสามารถแตกต่างกันออกไปได้ โดยคำนึงถึงบริบทของแต่ละโครงการด้วย

Previous articleเจาะลึก! นวัตกรรมเด็ดจาก Rinnai พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค ในงานสถาปนิก’65
Next articleProject In-Site : Chapter 3 – Red Door Heritage Hotel