ไต้หวัน นับเป็นประเทศแห่งวัฒนธรรมออสโตรนีเซียน ทั้งยังเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือ พื้นที่ส่วนมากเป็นพื้นที่ที่มีเรื่องราวทางวัฒนธรรมให้ค้นหามากที่สุด รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบออสโตรนีเซียนค่อนข้างมีเอกลักษณ์ โดยถูกกำหนดมาจากสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ อย่างเช่น มหาสมุทร หรือป่าไม้ ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดคอนเซ็ปต์การออกแบบแกลเลอรี่นี้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งโปรเจคการสร้างแกลเลอรี่นี้ มีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมออสโตรนีเซียน การออกแบบจะใช้หลังคาขนาดใหญ่ สร้างให้เกิดบริเวณพื้นที่ร่มสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ มีการออกแบบโครงสร้างให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับให้แสงอาทิตย์สาดส่องไปยังต้นไม้หลากหลายชนิด สร้างบรรยากาศของแกลเลอรี่ให้ถูกรายล้อมไปด้วยป่าฝน
ในส่วนของร้านขายสินค้างานฝีมือแบบดั้งเดิมนั้น จะใช้ตู้คอนเทนเนอร์นำมารีไซเคิล โดยจะจัดวางในทิศทางที่ต่างกัน และจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีประเทศไต้หวันมีตู้คอนเทนเนอร์มากถึงประมาณ 10,000 ตู้ที่ได้มาจากมหาสมุทร โดยคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 15,000 ตารางเมตรของร้านค้าแห่งนี้ ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งโปรเจคนี้จะต่างจากโปรเจคของอาคารทั่วไปตรงที่ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 2 ส่วนต่างกัน ได้แก่ ส่วนที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและส่วนที่เปิดโล่ง รับลมจากภายนอก ซึ่งสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในไถตงแล้ว การติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะช่วยลดปริมาณตันที่ได้จากการทำความเย็นได้ถึง 50% และลดอัตราการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 60%
ลักษณะของหลังคา ถูกสร้างขึ้นให้ตอบโจทย์สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา โดยผิวหน้าของหลังคาจะเชื่อมต่อกับพื้นที่ทางรถไฟและโรงแรม ทั้งยังช่วยกักเก็บน้ำฝนโดยแบ่งน้ำฝนที่เก็บไว้ใส่ในบ่อจำนวนทั้งหมด 5 บ่อด้วยกัน
กล่าวได้ว่า ศิลปะแบบโบราณ ดั้งเดิม จะใช้เครื่องรางเป็นตัวบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเรื่องลี้ลับต่าง ๆ โดยโครงสร้างเหล็กที่ใช้เป็นวัสดุประกอบหลังคานี้ ไม่ได้ทำจากเหล็กเพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบด้วยโครงสร้างที่ทำจากเพชร ที่นับเป็นสัญลักษณ์ของดวงตาวิญญาณบรรพบุรุษด้วยเช่นกัน
Source: architectmagazine