จากสนามตีกอล์ฟที่ถูกทิ้งให้ร้าง ในดินแดนอาทิตย์อุทัย ใกล้เมืองเกียวโต กำลังจะถูกดัดแปลงให้เป็น พื้นที่โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

บนพื้นที่กว้างใหญ่ของสนามกอล์ฟเก่าแห่งนี้ก็เป็นอีกเหตุผลที่ว่าทำไม ที่นี่ถึงหมาะมากกับการแปรสภาพมาเป็นโรงผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งด้านภูมิทัศน์ที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ร่มน้อย แต่กลับเป็นพื้นที่สูงทำให้การแพร่รังสีของแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้เต็มที่ทำให้การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไปอย่างง่ายดาย พร้อมสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างยิ่ง

Kyocera ผู้พัฒนาโครงการดังกล่าวได้เปิดเผยว่า “จากการประเมินโรงงานนี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง26,312 เมกะวัตต์ ต่อชั่วโมง (MWh) ต่อปี เพียงพอที่จะแจกจ่ายพลังงาน ไปโดยรอบ ประมาณ 8,100 ครัวเรือน ในท้องถิ่นโดยรอบ ”

8a7b98fc
นอกจากนี้ภายใต้การก่อสร้างนั้น คล้ายกับใน เมือง Kagoshima ซึ่งก็ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เคยเป็นสนามกอล์ฟมาก่อนแต่ก็ยังอยู่ในการดำเนินการก่อสร้าง ที่สำคัญคือทางประเทศญี่ปุ่นอาจจะยังประสบกับปัญหาเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นใน Fukushima ดั้งนั้นโครงการเหล่านี้จึงจำเป็นต้องตระหนักเป็นอย่างมากถึงการใช้ที่ดินเพื่อการมาแปรสภาพใหม่อีกครั้ง

เมื่อหลายสิบปีก่อน สโมสรสนามกอล์ฟหลายๆแห่งในญี่ปุ่นถูกขายไปนับล้าน แต่อสังหาริมทรัพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟกลับมีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงปี 1990 และ 2000 และเมื่อเกิดการไม่ได้ใช้งานของมัน จึงมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนจุดประสงค์จากเดิมเป็นอย่างอื่นแทน

ซึ่งการที่ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่เก่ามาแปรเป็นพื้นที่ในการใช้งานใหม่ที่มีประโยชน์กว่าเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และน่ายกเป็นตัวอย่างอย่างยิ่งแก่ประเทศอื่นๆ สหรัฐอเมริการ่วมกับญี่ปุ่นที่จะช่วยให้ประเทศอื่นได้นำเรื่องนี้ไปเป็นแรงบันดาลใจในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของประเทศนั้นๆใหม่ เพื่อ ภูมิทัศน์ที่ปลอดภัย ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมต่อการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและใช้อย่างยั่งยืน

ed312a47

Previous article“วิ่งสร้างเมือง” Run for Better City
Next articleมองอนาคตประเทศไทย กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทางการเกษตรกรรม
Builder News
กองบรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News - ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มาพร้อมกับการรับข่าวสารในรูปแบบใหม่ ทั้งจากสื่อออนไลน์ และโซเชี่ยลมีเดีย เว็บไซต์ Builder News จึงถือกำเนิดขึ้น แตกย่อยออกมานอกเหนือจากนิตยสาร Builder โดยเน้นนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร ที่มุ่งถึงกลุ่มผู้อ่านออนไลน์มากยิ่งขึ้น