ไม่รู้ว่าเป็นรสนิยมส่วนตัวของนักออกแบบสาวชาวเดนมาร์ก Kathrine Barbro Bendixen คนนี้ไหม ที่จู่ ๆ เกิดไอเดียสร้างโปรดักส์โคมไฟในมุมใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และไม่แน่ใจว่าจะมีใครอยากจะเหมือนไหม อย่างการเอา “ลำไส้วัว” มาใช้เป็นส่วนประกอบของการสร้างโคมไฟ
ขดแล้วขดเล่าของท่อลำไส้ที่มีความยาวถูกนำมาล้างทำความสะอาด เพื่อนำผสานเข้ากับหลอดไฟ LED จัดแต่งรูปร่างให้เป็นพวง มองไกล ๆ จะคิดว่าอารมณ์แชนเดอเลียร์ แต่ถ้าเข้ามาดูใกล้ ๆ ทั้ง Texture และรูปทรงตรงหน้าก็ชี้ชัดว่ามันเคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายสิ่งมีชีวิตมาก่อน
จุดเริ่มต้นของไอเดียการสร้างผลงานชิ้นนี้เริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่เธอยังเป็นนักเรียนในโรงเรียนดีไซน์ที่ Design Academy Eindhoven ช่วงนั้นได้เริ่มทำการทดลองและเกี่ยวข้องกับพวกลำไส้ แต่ครั้งนั้นเป็นลำไส้หมูเพราะตั้งใจจะทำเป็นไส้กรอกช่วงเทศกาลคริสต์มาสให้กับครอบครัว นั่นจึงเป็นก้าวแรกที่จุดประกายให้เธอใช้วัสดุอื่น
“ฉันทึ่งกับมันมาก มันเป็นวัสดุที่น่าทึ่ง ทั้งเรื่องสุนทรีศาสตร์และรูปแบบการทำงาน ช่วงที่ลำไส้ยังเปียก มันทั้งนุ่มและจัดแต่งไม่ได้ จัดการอะไรกับมันแทบไม่ได้เลย แต่พอกรอกน้ำเข้าไป น้ำวิ่งผ่านลำไส้แล้วคุณจะเห็นมันทั้งสัดส่วน ความยืดหยุ่นและความบริสุทธิ์ของมัน”
สิ่งที่น่าดึงดูดไม่ใช่แค่เสน่ห์ของวัสดุเพียงอย่างเดียว เธอหันมาหลงไหลมันจริงจังขึ้น เมื่อพบหลังจากวิจัยว่า เจ้าลำไส้พวกนี้เป็นของเสียหรือของไร้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารปริมาณมาก เพราะทุกวันนี้แม้กระทั่งพวกโรงงานผลิตไส้กรอกยังหันไปใช้งาน “ไส้เทียม” เพิ่มขึ้นแทน ทั้งที่ถ้าเทียบแล้วด้วยศักยภาพที่ธรรมชาติให้มา ไส้ธรรมชาติพวกนี้มีคุณสมบัติมากกว่า เช่น กันน้ำ และระบายอากาศได้ดี
นอกจากนี้ Barbro Bendixen ยังอธิบายเพิ่มว่า “ลำไส้” เป็นวัสดุที่มีความหมายกับการสร้างนวัตกรรมของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร ชาวเอสกิโมใช้ไส้แมวน้ำสร้างชุด anoraks เพราะด้านนอกสามารถช่วยกันน้ำได้ดีและด้านในยังระบายอากาศดีเยี่ยม แถมจุดเริ่มต้นจากวัสดุอย่าง GoreTex ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากไส้เหมือนกัน
สิ่งที่น่าดึงดูดไม่ใช่แค่เสน่ห์ของวัสดุเพียงอย่างเดียว เธอหันมาหลงไหลมันจริงจังขึ้น เมื่อพบหลังจากวิจัยว่า เจ้าลำไส้พวกนี้เป็นของเสียหรือของไร้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารปริมาณมาก เพราะทุกวันนี้แม้กระทั่งพวกโรงงานผลิตไส้กรอกยังหันไปใช้งาน “ไส้เทียม” เพิ่มขึ้นแทน ทั้งที่ถ้าเทียบแล้วด้วยศักยภาพที่ธรรมชาติให้มา ไส้ธรรมชาติพวกนี้มีคุณสมบัติมากกว่า เช่น กันน้ำ และระบายอากาศได้ดี
นอกจากนี้ Barbro Bendixen ยังอธิบายเพิ่มว่า “ลำไส้” เป็นวัสดุที่มีความหมายกับการสร้างนวัตกรรมของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร ชาวเอสกิโมใช้ไส้แมวน้ำสร้างชุด anoraks เพราะด้านนอกสามารถช่วยกันน้ำได้ดีและด้านในยังระบายอากาศดีเยี่ยม แถมจุดเริ่มต้นจากวัสดุอย่าง GoreTex ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากไส้เหมือนกัน
กระบวนการทำแต่ละขั้นตอน
จากลำไส้ที่เริ่มนิ่มจนสามารถดัดได้ พอทิ้งไว้ไม่กี่ชั่วโมงให้แห้งมันจะเริ่มคงรูปได้เองโดยไม่ต้องหาอะไรมาเคลือบผิวเพื่อให้คงตัว แต่ใช้วิธีทำให้มันคงรูปร่างไว้ผ่านการ “หายใจ”
อย่างที่บอกว่ามันระบายอากาศได้ วิธีนี้แหละที่เทียบเข้ากับการหายใจและทำให้มันเคลื่อนไหวได้เองดุจมีชีวิต ทันทีที่เป่าลมเข้าไป พวกมันจะค่อย ๆ ขยับเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ความชื้นและแสงที่มากระทบ จึงค่อนข้างยากจะควบคุม แต่นี่แหละคือความสวยงาม
การเอาไส้วัวมาใช้แม้จะดูง่ายแต่ก็ไม่หมูอย่างที่คิดเพราะมันเป็นวัสดุใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน เธอจึงต้องค่อย ๆ เรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงที่เจอและประยุกต์วิธีเพื่อแก้ปัญหา ตอบโจทย์ความท้าทายที่นักออกแบบมองหา
ถ้ามองในเชิงการออกแบบด้วยการใช้วัสดุเหลือใช้ที่น่าสนใจนำมาออกแบบ เราคิดว่านี่อาจจะไม่ได้สยดสยองขนาดนั้น มองดี ๆ ก็ยังเห็นความสวยงามแปลกตาจากมุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน และถ้าย้อนไปดูที่จุดเริ่มต้น เจตนารมณ์ที่ศึกษามาแล้วว่าของพวกนี้ต้องทิ้งไปปีต่อปีนับไม่ถ้วนจากรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง เราก็คิดว่าเป็นอีกทางออกที่สามารถทำได้ไม่ผิดนัก เผื่อใครเห็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุธรรมชาติชิ้นนี้แล้วคิดจะนำไปต่อยอดทำอย่างอื่นได้
ผลงานชิ้นนี้จะจัดแสดงที่นิทรรศการ Matters: Rethinking Materials ใน Design Museum ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างการจัดแสดงผลงานศิลปะและดีไซน์จนถึงเดือนมีนาคม 2020 ใครที่อยากไปเห็นของจริงก็ลองบินไปดูเองได้ แต่ถ้าจ่ายค่าตั๋วไม่ไหว ก็ดูได้ที่ BuilderNews เหมือนเคย
วัสดุมีนับล้าน อยู่ที่การเลือกหยิบจับมาพัฒนาและเจตนา หวังว่าทุกคนจะได้เปิดโลกใหม่จากสิ่งที่เรานำเสนอนะ
อ้างอิงข้อมูลจาก