โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลกลางทะเลทราบซาฮาราในสาธารณรัฐไนเจอร์ ประเทศในแอฟริกาตะวันตกที่ไร้ทางออกสู่ทะเล และมีสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่เขตกึ่งร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่ 35 องศาเซลเซียส มีฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ส่วนที่เหลือเป็นช่วงฤดูแล้งนั้น เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
รัฐบาลจีนและสาธารณรัฐไนเจอร์ พัฒนาโครงการนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ และปรับปรุงสถานพยาบาลในท้องถิ่นใน Niamey เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศ ที่มีประชากรอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

สถานที่ตั้ง
โครงการตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบ กว้างประมาณ 7 กิโลเมตร ทางตอนเหนือจากใจกลางเมือง Niamey ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยังล้าหลัง ทำให้คนในท้องที่คาดหวังว่าโรงพยาบาลแห่งใหม่นี้จะช่วยปรับสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้
อาคารผู้ป่วยนอก / อาคารฉุกเฉิน และห้องโถงสาธารณะ
ห้องโถงสาธารณะแห่งนี้เป็นพื้นที่ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่มาใช้บริการ ห้องโถงแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างดี เปิดอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการ อีกทั้งระบบระบายอากาศของที่นี้ถูกออกแบบมาไม่ให้ใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้สูง
Muslim Worship Hall
เนื่องจากอิสลามเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของ Niger นับถือ การออกแบบจึงได้พิจารณาให้มี Muslim Worship Hall กระจายออกไปภายในโรงพยาบาล โดยยังสามารถเปลี่ยนเป็นที่พักชั่วคราวของผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขาได้

อาคารผู้ป่วยใน
อาคารผู้ป่วยในแห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่สองชั้น โดยเชื่อมต่อกับทางลาดและหอระแนง นอกจากนี้ทางเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลยังไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อนอีกด้วย

อาคารเทคโนโลยีทางการแพทย์
อาคารเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นมีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และห้องสำหรับปฏิบัติการของแพทย์ในโรงพยาบาล โดยอาคารแห่งนี้ใช้หน้าต่างบานเล็ก ๆ ติดกับผนังด้านนอก เพื่อเป็นการระบายความร้อนจากด้านนอก
ฉนวนหลังคา
ฉนวนกันความร้อนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงในการลดอุณหภูมิภายในอาคาร ซึ่งหลังคาทั้งหมดของอาคารแห่งนี้ได้รับการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่นำมาใช้ เพื่อถ่ายเทความร้อนภายในอาคาร

ที่บังแดด
ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและแห้งแล้ง ที่บังแดดจึงมีความจำเป็นอย่างมากต่ออุณหภูมิภายในอาคาร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแสงแดดที่เข้ามาภายในอาคารโดยตรงจึงได้มีการออกแบบให้มีช่องว่างระหว่างแผ่นบังแดดและผนังให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งระบบบังแดดนี้เป็นเทคโนโลยีด้านสถาปัตยกรรมที่มีความทนทานสูงโดยมีส่วนประกอบจากคอนกรีต

การระบายอากาศตามแบบธรรมชาติ
อาคารได้รับการออกแบบให้มีระเบียงที่เปิดกว้างของทางเข้าทั้งสองด้าน เพื่อเป็นการสร้างการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติเป็นอย่างดี
การระบายน้ำจากหลังคา
แม้ตลอดทั้งปีจะมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างต่ำ แต่หากฝนตกหนัก ลมแรง และมีฝุ่นละอองที่พัดมากับลม อาจทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันได้ ระบบระบายน้ำจึงถูกออกแบบมาให้ทำความสะอาดให้สะดวก และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของส่วนหน้าของอาคาร
ระเบียงทางเดิน
ถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ได้ออกแบบเสาหลักของทางเดินให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้มีที่บังแดด

การประยุกต์และก่อสร้างผนังภายนอกแบบ “Tyrol”
เนื่องจากสาธารณรัฐไนเจอร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแอฟริกา การนำเข้าวัสดุประเภทผนังภายนอกจึงมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งนี้ภายใต้อุณหภูมิที่สูง และความเข้มของแสงที่ส่องสว่างอาจจะทำให้ผนังด้านนอกของอาคารเกิดการสึกกร่อนที่รุนแรงได้ ทำให้ผนังภายนอกของอาคารนั้นถูกออกแบบด้วย “Tyrol” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีส่วนประกอบบนพื้นผิวด้านนอก คือทรายจากแม่น้ำ, ปูนซีเมนต์ขาว และน้ำทีมีอัตราส่วนเฉพาะ  ทั้งนี้วัสดุประเภทนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ต้นทุนการก่อสร้างต่ำ แต่ยังทนทานต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัด และบำรุงรักษาได้ง่าย
ความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม
อาคารแห่งนี้ไม่เพียงแต่ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอีกด้วย

ขอบคุณ: https://www.archdaily.com/798313/general-hospital-of-niger-cadi
Previous articleEco Expo Asia
Next articleสร้างสรรค์ขวดพลาสติกให้มีคุณค่ามากขึ้น