Striatus โครงสร้างสะพานคอนกรีต 3D – Printed เป็นผลงานความร่วมมือของ Zaha Hadid, ETH Zurich และ Design Group ที่จับมือกันสร้างสะพานคอนกรีต โดยผ่านกระบวนการขึ้นรูปโครงสร้างด้วย 3D – Printed แห่งแรกในโลก ที่เมืองเวนิส
สะพานคอนกรีต 3D – Printed มีการดีไซน์ให้มีลักษณะโครงสร้างสะพานยาว 16 เมตร ที่ไม่ได้ใช้ปูนหรือเหล็กเสริมแต่อย่างใด แต่ทว่าสร้างมาจากบล็อกกลวงจำนวน 53 บล็อก
ตัวสะพานเน้นใช้วัสดุหลักเป็น หมึกคอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตโดยบริษัท Holcim ผ่านเทคนิคการสร้างคอนกรีต 3D-printed หลังคาโค้งแบบดั้งเดิมกับกระบวนการผลิตคอนกรีตแบบดิจิทัล ที่เน้นใช้วัสดุเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเชิงโครงสร้างและไม่ทำให้เกิดวัสดุเหลือใช้โดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการลดปัญหาฝุ่นละอองในอากาศจากการก่อสร้าง
โครงสร้างของสะพานที่ยึดคอนกรีตเข้าด้วยกันทั้งหมดเรียกว่า Striatus ผ่านการคำนวณแบบดิจิทัล ผสานเทคโนโลยีการผลิตทางวิศวกรรมและหุ่นยนต์ เพื่อความแม่นยำและความถูกต้องในการขึ้นรูปโครงสร้างของสะพาน
นอกจากนี้โครงสร้างสะพานคอนกรีต 3D – Printed อย่าง Striatus ยังแฝงไปด้วยความพิเศษที่สามารถรื้อถอนออกมาแล้วทำการประกอบขึ้นมาใหม่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งตอนนี้สะพานมีการจัดแสดงอยู่ที่ Giardini della Marinaressa ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2021 นี้
สะพาน Striatus นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3D-printed อย่างแท้จริง เพราะสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ปูนหรือเหล็กเสริมแต่อย่างใดและยังเป็นส่วนช่วยลดฝุ่นละอองทางอากาศจากวัสดุก่อสร้างที่เหลืออีกด้วย
Source