เป็นที่ทราบกันดีว่า เหล่าประเทศอาเซียนน่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่รับเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมของตนได้ช้ากว่าประเทศในแถบอื่น ระบบโครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ ก็เป็นระบบที่ดำเนินการได้ช้า อีกทั้งเงินเดิมพันในการรับเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้ามาก็ค่อนข้างสูง จึงทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มประเทศอาเซียนตัดสินใจรับเอาเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาทดลองใช้ได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเหตุเกิดจากการถูกจำกัดบทบาทของสถาปนิกในกระบวนการพัฒนาโครงการ การแก้ไขปัญหาในเรื่องนวัตกรรมการออกแบบและการทดลองด้วยเทคนิคทางอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงการศึกษาและสถาบันวิจัย

อย่างไรก็ตาม บริษัทสถาปนิกบางแห่งกลับประสบความสำเร็จ ก้าวหน้าในต่างแดน จนส่งผลให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่มากความสามารถ ต่างพากันมาริเริ่มโครงการวิจัยภายในองค์กร ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นในอุตสาหกรรมประเทศอาเซียน

ซึ่ง 5 บริษัทที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นบริษัทที่ช่วยส่งเสริมให้งานสถาปัตยกรรมสามารถผสมผสานเข้ากันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว


1. BIG หรือ Bjarke Ingels Group

1_AMF_Image_by_BIG___MIR

BIG เป็นหนึ่งในบริษัทสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เป็นตัวอย่างของการที่เหล่าสถาปนิกนำเอาวัฒนธรรมร่วมสมัย (pop culture) และเทรนด์ใหม่ ๆ ทางธุรกิจ เข้ามาผสมผสานกับงานออกแบบ โดยจะเห็นได้ว่า แนวทางการออกแบบและวัฒนธรรมของ BIG นั้น เผยให้เห็นถึงความชอบในการทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการสำรวจลู่ทางใหม่ ๆ สำหรับงานสถาปัตยกรรม

Bjarke Ingels ผู้ก่อตั้งบริษัท BIG เป็นตัวอย่างของผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกซึ่งก้าวทันต่อเทรนด์การใช้สื่อในยุคปัจจุบัน ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานของตนได้เป็นอย่างดี มีการใช้กลยุทธ์ดำเนินธุรกิจ ใช้โซเชียลมีเดีย ลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และรู้จักนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้ในโครงการต่าง ๆ ของบริษัท

เมื่อไม่นานมานี้ BIG ร่วมมือกับองค์กรและศิลปินริเริ่มแคมเปญออกแบบโรงไฟฟ้าจากวงแหวนไอน้ำ (steam-ring generator) ซึ่งจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าที่สะอาดที่สุดในโลก โดยการริเริ่มในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการประดิษฐ์คิดค้นและเห็นถึงความสัมพันธ์ของการก่อสร้างกับศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม นอกจากนี้ ในปี 2014 เกิดการวมมือกันอีกครั้ง ภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘BIG Ideas’ เพื่อร่วมกันสร้างแล็บวิจัยและพัฒนา ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นทีออกแบบสินค้าและวัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ

ปัจจุบัน BIG มีโครงการหลากหลายโครงการที่กำลังเดินหน้าอยู่ ซึ่งส่วนมากจะเน้นไปที่การหาข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรม เพื่อจะนำไปรวบรวมเข้ากับโปรเจคต่าง ๆ ของ BIG ต่อไป

2. ShoP Architects

domino_birds-eye-view_reduced

บริษัทสถาปนิก และการก่อสร้าง ShoP หรือ SC เป็นบริษัทสถาปนิก 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในนิวยอร์ก สิ่งที่ทำให้ ShoP มีความโดดเด่นกว่าบริษัทอื่น คือการให้ความสนใจในข้อแตกต่างระหว่างการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม รูปแบบของธุรกิจทั้ง 3 อย่างนี้ เมื่อนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ทำให้ธุรกิจเพียงธุรกิจเดียวทำหน้าที่เหมือนเป็นทั้งบริษัทพัฒนาอสังหาฯ หน่วยงานวิจัย รวมทั้งเป็นช็อปที่รวบรวมสินค้าหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า

บริษัทเกิดขึ้นจากการก่อตั้งของหุ้นส่วนทั้งหมด 5 คน ซึ่งมีความถนัดต่างกันในแต่ละด้าน อาทิ การออกแบบ ก่อสร้าง ธุรกิจ การตลาด ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยมี Gregg Pasquarelli ที่เคยมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุน ซื้อขายหลักทรัพย์มาก่อน ทั้งนี้ พวกเขาทั้ง 5 ได้ร่วมมือกันสร้างงานในหลายโปรเจค และยังร่วมงานกับสถาปนิกท่านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

SHoP เป็นผู้ริเริ่มแนวทางการเรียนรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม เป็นผู้คิดค้นบทบาทใหม่ของสถาปนิกในการพัฒนาโปรเจคต่าง ๆ และยังหาหนทางให้สถาปนิกสร้างงานได้อย่างอิสระมากขึ้น ใช้จ่ายน้อยลง รวมทั้ง เป็นผู้ริเริ่มโปรเจคนวัตกรรมการออกแบบอีกด้วย

3. Perkins + Will

Shanghai Natural History Museum, Fishermans Wharf, Huang Xing

Perkins + Will เป็นหนึ่งในบริษัทสถาปนิกชั้นนำในอเมริกา ที่ออกแบบสถานพยาบาล ออกแบบอาคารที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยตำนึงถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย โปรแกรม Innovation Incubator ของทางบริษัทมีเป้าหมายในการสนับสนุนทางด้านสาธารณสุขผ่านเงินช่วยเหลือและเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ผ่านวัฒนธรรมนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการทดลอง โดยให้การสนับสนุนโครงการวิจัยของเอกชน

นอกจากนี้ บริษัท Perkins + Will ยังสร้างอาคารที่ชื่อ ‘Perkins + Will Building Technology Laboratory’ ซึ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดประกวดออกแบบประจำปีที่ทางบริษัทจัดขึ้น ยังเป็นการสนับสนุนดีไซเนอร์ที่มีความสามารถให้ได้ทดสอบฝีมือของตน โดยวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการออกแบบของดีไซเนอร์แต่ละท่านที่ถูกนำเสนอผ่านการแข่งขันจะถูกนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป

4. NBBJ

night_4

NBBJ เป็นหนึ่งในบริษัทสถาปนิกที่ให้ความสำคัญในเรื่อง Virtual Reality (VR) โดยออกแบบ Visual Vocal ที่นำเอาเทคโนโลยี VR เข้ามาผสมผสานกับกระบวนการออกแบบของบริษัท

โดย NBBJ หวังว่า การใช้เทคโนโลยี VR จะช่วยเพิ่มความร่วมมือระหว่างเหล่าดีไซเนอร์ในการประสานงานซึ่งกันและกัน จนสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยดูจากผลตอบรับของลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์ชิ้นใหม่ซึ่ง NBBJ คิดค้นขึ้น ยังช่วยให้สถาปนิกสามารถสร้างโมเดลสามมิติในเวอร์ชั่น VR ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน

ในอนาคต เทคโนโลยี VR อาจก้าวล้ำไปไกล ถูกนำมาแทนที่การสื่อสารสุดคลาสสิก อย่างอีเมลที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ซึ่งทีมงานผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด นำโดย John San Giovanni และ Sean House ได้เพิ่มเงินลงขันกว่า 500,000 ดอลลาร์ สำหรับต่อยอด Visual Vocal ให้กลายเป็นไอเท็มที่ไม่เพียงใช้กับงานสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมอวกาศ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, และเทคโนโลีชีวภาพ

5. HOK

Capture1

HOK จับมอกBiomimicry Guild เพ่อสนับสนุนนวัตกรรมที่ไรงบันดาจชีวทยาในเชิงสถาปัตยกรรม โดยความร่วมมือระหว่าง 2 บริษัท เริ่มขึ้นเมื่อปี 2004 และต่อมา ได้ร่วมมือกันในอีกหลายโปรเจค

HOK เป็นตัวอย่างของบริษัทสถาปนิกที่ดี ซึ่งจับเอาสื่อหรือโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานทางสถาปัตยกรรม โดยได้สร้าง blog ของบริษัท ที่ชื่อว่า ‘Life at HOK’ ขึ้นในปี 2008 ไว้สำหรับเป็น blog ที่ให้พนักงานเขียนบอกเล่าขั้นตอนการสร้างผลงานในแต่ละโปรเจค รวมถึงบอกเล่าวัฒนธรรมภายในออฟฟิศ ซึ่งจะโพสต์เนื้อหาแตกต่างกันตามสไตล์ของแต่ละคน เช่น โพสต์ลิ้งค์ไปยังคลิปวิดีโอของเว็บไซต์ YouTube หรือลิ้งค์ไปยังโพรไฟล์เฟซบุ๊ก และวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย

ทั้ง 5 บริษัทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการรับเอาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้กับการดำเนินงานของแต่ละบริษัทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ได้แก่ เครื่องมือในการสื่อสารและเครื่องมือออกแบบ, กลยุทธ์การออกแบบ และแบบจำลองทางธุรกิจ (business model) ที่เป็นปัจจัยหลัก ทำให้บริษัททั้ง 5 มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน และยังสามารถรับเอาการเปลี่นแปลงทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้ามาใช้แทนการวิ่งไล่ตามการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

 

Source: archdaily

Previous articleสมาคมสถาปนิกสยามฯ ประสงค์ว่าจ้าง
พัฒนาแบบและก่อสร้างนิทรรศการ ในงานสถาปนิก’60
Next articleE-Newsletter Vol.16
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม