ผู้เขียนเพิ่งกลับมาจากอังกฤษที่ขณะนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงเรื่อง ‘Brexit’ คืออังกฤษโหวตออกจากสังคม ‘EU European Countries’ ผลคือเป็นการแพ้โหวตของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีลาออกทั้งชุด ถือเป็นมารยาททางการเมืองของเมืองผู้ดี ซึ่งประเทศไทยเรายากนักที่จะเป็นเช่นนี้ได้ และต่อมาก็ได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนใหม่คือ Theresa Mary May ซึ่งในคณะรัฐบาลก็มีผู้หญิงเยอะมาก สามีของเธอก็ทำงานเป็น Government Relationship Lobbyist ในบริษัทการเงิน
เกี่ยวกับประกันที่ต้องติดต่อกับภาครัฐ และมือขวาของเธอที่เรียกว่า Chancellor ก็เป็นนักก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

การออกจาก EU ครั้งนี้เป็นการใช้มติประชาชนทั้งประเทศ ผลมิได้เป็นไปตามคาดหมายโดยแพ้นิดเดียว ประเทศไทยก็มีการโหวตรัฐธรรมนูญเช่นกันตามแบบฉบับประชาธิปไตยอังกฤษ แต่อเมริกาคงไม่ทำเช่นนี้ ถ้าไทยเราแพ้เหมือนอังกฤษ ก็ไม่รู้ว่าผู้นำจะลาออกทันทีเหมือนเขาหรือเปล่า

การออกจาก EU ครั้งนี้มีเวลาเจรจาอีก 2 เดือน ระหว่างอังกฤษกับ EU คงจะต้องมีบทถูกปรับ เพราะในอดีตมาใช้สิทธิการส่งออกและภาษีของ EU มานาน อังกฤษเองก็จะโดดเดี่ยวไม่มีพรรคพวกในยุโรปอีกแล้ว เหตุผลของการปรับแก้ก็มี 2 ประเด็นคือ 1. ไม่ต้องการให้ผู้อพยพเข้าประเทศมาแย่งงานในอังกฤษ 2. ไม่ต้องการรับภาระที่ EU ประเทศเล็ก ๆ มีหนี้อยู่มากมาย เช่น โปรตุเกส โปแลนด์ สเปน แล้วจะต้องไปร่วมชดใช้ด้วย

ผลกระทบก็เริ่มจะเห็นในระยะเวลาสั้น 1 เดือนแรกแล้ว คือ ค่าเงินปอนด์ตกลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก็ไม่แน่ชัด การค้าขายกับต่างประเทศก็ Wait and See ว่าสินค้าเข้าออกราคาเท่าไรกันแน่ ฝ่ายการเงินที่อังกฤษเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรปและของโลกก็กำลังจะหมดอิทธิพล กองทุนตลาดการเงินก็กำลังจะย้ายถิ่นไหลออกไปประเทศอื่น เช่น สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน เบลเยียม ที่ทำหน้าที่คล้ายเมืองหลวงของ EU ก็ทำต่อไป ผลกระทบระยะกลางยังเห็นไม่ชัด ต้องรออีก 2 เดือนข้างหน้า ส่วนระยะยาวอังกฤษถูกปล่อยเกาะจาก EU แน่นอน และจะถูกทำโทษอีกด้วย หันมาดูบ้านเราว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทั้งภาพรวมและ Sector เช่น อสังหาฯ ของเรา ภาพรวมส่งออกไปอังกฤษจะน้อยลงแน่นอน เพราะไม่มีความมั่นคงทั้งด้านการเมือง (เหมือนไทย) และการเงิน อย่างค่าของเงินและอัตราแลกเปลี่ยน การท่องเที่ยวจะกระทบนักท่องเที่ยวอังกฤษที่มาไทยจะน้อยลงเพราะค่าเงินจะแพงขึ้น Terrorist ที่เข้าออกยุโรปง่ายก็จะกระจายไปยุโรปในประเทศอื่น อาจจะแฝงตัวมาพักคอยที่เอเชียซึ่งเข้าออกง่ายมาก ผลกระทบรุนแรงก็คือตลาดทุนที่อาจย้ายเข้าออกจากไทย เพราะมีฐานอยู่ในอังกฤษก็มาก โดยเฉพาะ Temasek ของมาเลเซียที่ลงทุนไว้เยอะ รวมทั้งเป็นเจ้าใหญ่อสังหาฯ ในลอนดอนก็จะเสี่ยงมากขึ้น

ด้านอสังหาฯ ช่วงแรกมีผลเชิงบวก ค่าของอสังหาฯ อังกฤษโดยเฉพาะลอนดอนที่ขายของไฮเอนด์ให้เศรษฐีทั่วโลก ตั้งแต่อาหรับ มาเลเซีย ฮ่องกง รวมทั้งเศรษฐีไทยที่ซื้อคอนโดมิเนียมให้ลูกหลานเรียน และลงทุนด้านโรงแรมจะถูกลง ทุก Crisis จะมีโอกาสทั้งสิ้น ที่ท่านธนินท์แห่ง CP สอนไว้เรื่องเงินปอนด์ก็ถูก ว่าจะเป็นช่วง ‘Time to Shop &
Invest ในอสังหาฯ’ (อังกฤษเปิดให้ต่างชาติลงทุนมากกว่าไทย) สินค้าอสังหาฯ ที่หลายบริษัทยักษ์ในตลาดหุ้นไทยจ้องมองคือ ‘โรงแรม’ เพราะได้ราคาดีมาก ขณะนี้โรงแรมของไทยก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะลอนดอนมีโรงแรมตั้งแต่ถูกจนแพง ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ รองลงมาคือ ‘Residential’ บ้านและคอนโดมิเนียม ขณะนี้มีโบรกเกอร์จากไทยทำหน้าที่เปิดประตูให้แล้ว เช่น Knight Frank และ Coldwell Banker ก็เปิดตลาดอยู่ ก็คาดหวังกันว่าในระยะ 1-2 ปีนี้ จะมีนักลงทุนไทยบุกอสังหาฯ อังกฤษกันมากพอสมควร

รายได้หลักของอังกฤษขณะนี้ โดยเฉพาะในลอนดอนคือการ ‘ท่องเที่ยว’ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวกว่า 75 ล้านคน ถือได้ว่ามากที่สุดในโลกไปกระจุกตัวที่ลอนดอน และอีกหนึ่งรายได้หลักคือการศึกษา โดยมีนักเรียนต่างชาติทั้งใน Middle East และ Asia ทุกประเทศรวมกันปีหนึ่งประมาณ 3-5 แสนคน ที่เรียนทั้งแบบเต็มหลักสูตรและ Short Course มากขึ้น ขณะนี้อังกฤษก็เริ่มมีรัฐมนตรีการท่องเที่ยวแล้ว (ไทยเราก็เช่นกันการท่องเที่ยว การศึกษา การกีฬา น่าจะเป็นสาขาย่อยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้) อังกฤษก็ใช้กีฬาเป็น Keyword พัฒนาพื้นที่ เช่น กอล์ฟที่สกอตแลนด์ และฟุตบอลที่แมนเชสเตอร์ เหมือนทีมบุรีรัมย์ของคุณเนวินที่กำลังพัฒนาตอบกระแสนี้ได้อย่างน่าสนใจมาก เพราะกีฬา
ให้หลายอย่าง มิใช่แค่ความสนุกหรือการพนันอย่างเดียว แต่รวมถึงสุขภาพอนามัย ความเป็นระเบียบและการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ส่วนการพัฒนาในบ้านเราน่าจะลองเอาไปทำดูจังหวัดละกีฬา เช่น พัทยาและภูเก็ตก็ทำกีฬาทางน้ำ ขอนแก่นก็ทำแข่งรถแข่งจักรยานยนต์ หรือชลบุรีทำแข่งจักรยานยนต์และกรีฑาก็ไม่เลว คราวหน้าจะเขียน Brexit ต่อ
และคงต้องรอดู Donald Trump ของอเมริกาด้วย ถ้าได้เป็นประธานาธิบดีจริง บ้านเมืองคงปั่นป่วนเพราะเป็นฮาร์ดคอร์ที่ไม่ชอบ Midsection ต่างชาติจริง ๆ

นิตยสาร Builder Vol.35 SEPTEMBER 2016

 

Previous articleเชิญเสนองาน ด้านการอำนวยการ และประสานงานการจัดนิทรรศการ-การประชุม งานสถาปนิก’60
Next article10 ขั้นตอนที่ช่วยให้การปรับเปลี่ยนมาใช้ BIM เป็นเรื่องง่ายขึ้น
รศ.มานพ พงศทัศ
ที่ปรึกษานิตยสาร Builder อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย