การสร้างบ้านในพื้นที่แคบและรอบล้อมไปด้วยตึกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะเราอาจจะต้องเผชิญกับปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ การถ่ายเทของอากาศ และการหาวิธีเปิดรับแสงจากภายนอก วันนี้เราจะพามาชมกับ TH House ที่อยู่อาศัยสไตล์เวียดนามที่มาพร้อมกับความสวยงามและการออกแบบที่มีประสิทธิภาพช่วยในการรับแสงและลมจากภายนอกได้เป็นอย่างดี
TH House ตั้งอยู่ที่เมืองใหม่บริเวณรอบนอกของฮานอย การสร้างบ้านลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากในประเทศเวียดนาม เพราะโครงสร้างหลักได้รับการก่อสร้างโดยนักพัฒนาที่ปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด คนส่วนใหญ่ที่ซื้อบ้านลักษณะนี้ล้วนแล้วแต่ต้องการให้บ้านเสร็จก่อนที่พวกเขาจะย้ายเข้าไปอยู่ แต่ก็จะติดปัญหาเรื่องโครงสร้างของบ้านที่ไม่สามารถรับลมและแสงจากธรรมชาติได้ดีเท่าไหร่นัก ดังนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นกับสถาปนิกว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไรและจะทำให้มันแตกต่างในขณะที่ยังคงโครงสร้างเดิมที่รายล้อมไปด้วยบ้านหลังอื่น ๆ เอาไว้ได้ด้วยวิธีไหน
การแก้ปัญหาเริ่มต้นจากการตกแต่งภายใน สถาปนิกเสนอให้ตัดบางชั้นออกไปเพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อจากชั้นล่างไปสู่หลังคาชั้นบน วิธีนี้ช่วยเพิ่มช่องรับลมด้านในและเพิ่มแสงให้กับตัวบ้านมากขึ้น ผู้อยู่อาศัยสามารถพักผ่อนในพื้นที่เปิดนี้ได้อย่างอิสระ และเพื่อที่จะเชื่อมต่อชั้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน วัสดุกระเบื้องดอกไม้ถูกนำมาใช้ในการสานต่อผนังของช่องหนึ่งไปสู่ชั้นที่มีอีกช่องหนึ่ง ทำให้เกิดความสวยงามบริเวณกำแพงหน้าบ้าน ซึ่งการแก้ปัญโดยการใช้วัสดุนี้ทำให้เกิดพื้นที่ว่างทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เชื่อมต่อทุกชั้นให้เป็นไปได้ทั้งทางตรงและทางกายภาพ
แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องทำเลที่ตั้งของบ้านที่อยู่ไม่ไกลจากรางรถไฟและมีพื้นที่ยกระดับที่ด้านหน้าเป็นมุมที่รับแสงแดดเต็ม ๆ ในช่วงกลางวัน ดังนั้น พวกเขาจึงติดตั้งระเบียงระบบอลูมินัมในส่วนของพื้นที่หน้าตึก ที่ช่วยสร้างการป้องกันพื้นผิวแบบใหม่ที่ห่อหุ้มผนังด้านหน้าเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็มีส่วนเปิดที่รับแสงจากธรรมชาติเข้ามาภายในบ้านได้ และยังมีระเบียงพื้นที่เขียวที่ส่วนใหญ่แล้วนำต้นไม้จากบริเวณหน้าบ้านมาใช้
ในส่วนของพื้นที่บนชั้นสองระหว่างช่องรับแสงทั้งสองช่องนั้น จะมีห้องอ่านหนังสือแบบต่างระดับที่ผู้อยู่อาศัยสามารถอ่านหนังสือ ทำงาน พักผ่อน ดูหนัง และทำกิจกรรมกันได้แบบเป็นกลุ่ม ๆ นอกจากนี้ แพล็ตฟอร์มและชั้นต่าง ๆ ไม่ใช่แค่ใช้สำหรับเก็บของเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างกรอบให้ทุกคนได้ทำกิจกรรมที่แตกต่างกันไปได้อีกด้วย
Source: archdaily