Gregory Quinn สร้าง ‘sheltair’ แหล่งหลบภัยรูปเปลือกหอยขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ทำจากโครงเหล็กแบบเดียวกับโครงเต้นท์ พร้อมการขึ้นรูปด้วยวิธีแบบนิวเมติก มีความยืดหยุ่นยืดหยุ่น อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
นี่เป็นโปรเจ็กต์ที่อยู่ในวิทยานิพลระดับปริญญาเอกของ Gregory Quinn จาก Berlin University of the Arts ประเทศเยอรมนี เขาอธิบายว่าตาข่ายหลบภัยยืดหยุ่นชิ้นนี้เป็นโครงสร้างที่มีศักยภาพมาก ซึ่งมันสามารถใช้ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ด้วยวัสดุเพียงไม่กี่ชิ้นและใช้พลังงานในการก่อตั้งไม่มากนัก โครงสร้างง่าย ๆ ที่ก่อเกิดเป็นรูปร่างโค้งมนเหมือนเปลือกหอย ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องคิดว่าถ้ามันยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ วิธีการสร้างมันก็จะยิ่งซับซ้อนและต้องใช้เงินและเวลามากขึ้น
นอกจากนี้ Gregory Quinn ยังรับประกันว่าที่หลบภัยขนาดใหญ่ของเขานี้จะเป็นพื้นที่สำคัญในการรักษาทางการแพทย์ ที่พักพิงของสังคม รวมไปถึงเป็นศูนย์รวบรวมผู้ลี้ภัยและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติที่ขาดการติดต่อจากโลกภายนอกได้ นี่เป็นเพียงแค่ความจำเป็นสำหรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องราคา เวลา ความซับซ้อน และพลังงานที่ใช้ในการสร้างแหล่งลี้ภัยนี้
แต่สำหรับ ‘sheltair’ มีวิธีการสร้างโดยใช้ตัวโครงร่างนิวเมติกที่สามารถถ่ายอากาศเข้าไปได้ และมีศักยภาพที่เพิ่มความเร็วในการก่อสร้างแหล่งหลบภัยรูปเปลือกหอยขนาดใหญ่ได้ (100 เมตรภายในเวลาไม่กี่วัน) ซึ่งจะมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพให้งานก่อสร้างรวดเร็วมากขึ้น
แหล่งหลบภัยขนาด 13 เมตรที่อยู่ในสวน Aedes Metropolitan Laboratory ในเบอร์ลินถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบและตรวจสอบเครื่องมือวิจัย และก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางสถาปัตยกรรมด้วยเช่นกัน การเลือกใช้รูปร่างโค้งงอแบบเปลือกหอยและการใช้รูปแบบของตาข่ายช่วยเสริมให้โครงสร้างมีมุมมองที่แตกต่างจากโครงสร้างแบบอื่น
การลงแรงทำงานและสิ่งก่อสร้าง ‘sheltair’ ของ Gregory Quinn เป็นผลงานที่ค่อนข้างโลว-เทค แต่อย่างไรก็ตาม การทำปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพระหว่างเส้นโค้งยืดหยุ่นของคานและรูปแบบนิวเมติกที่มีความสัมพันธ์ต่อรูปทรงทางสถาปัตยกรรมถือเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง
Source: designboom