ถ้าบอกเตียงนอนไม่ได้นอน หลายคนอาจจะพาลคิดไปถึงกิจกรรมทางเพศหรืออาการ Insomnia และไม่รู้ว่าจะซื้อไปทำไม เพราะทุกวันนี้นอนเตียงเดิมก็หลับยากอยู่แล้ว แต่ตัวนี้ต่างออกไปเนื่องจากมันคือนวัตกรรมเตียงที่ดีทุกอย่าง น่านอน น่าพัก แต่เพราะมาพร้อมเทคโนโลยีสุดล้ำที่ทำให้มันกลายเป็นเตียงอัจฉริยะ เราเลยรู้สึกว่าถ้าทิ้งตัวลงบนนี้แล้วอยากทำทุกอย่างเลยยกเว้นนอนหลับ
Hibed คือนวัตกรรมจากแบรนด์ Hi-Interior ประเทศอิตาลีที่ได้สถาปนิกฝีมือดีอย่าง Fabio Vinella คิดค้นขึ้นเพื่อให้เป็น Smart Bed ที่สั่งการและควบคุมได้จากมือถือผ่านแอปพลิเคชันได้ มองจากภายนอกโครงสร้างที่แข็งแรงของโครงเหล็กที่นำมาผสานกับผิวไม้สร้างสไตล์ที่อบอุ่น คุมโทนน่านอนคงทำให้หลายคนอิจฉาและคิดว่านอนฝันดี แต่จากฟังก์ชันเหล่านี้บอกเลยว่ายังไงก็ไม่ได้หลับสบายกันง่าย ๆ
FUCNTIONS FOR BED
ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ ทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ผลิตคิดค้นมาเพื่อตอบสนองและมอบประสบการณ์ใหม่เพื่อการนอน ลองมาดูไปพร้อมกันว่ามันจำเป็นหรือสิ้นเปลืองกันแน่ เพราะข่าวลือว่ากันว่าเตียงหลังนี้น่าจะมาพร้อมราคาหลักล้าน
1. Built In Light โคมไฟหัวเตียงไม่ต้องแยก แต่ติดมาพร้อมโครงของเตียง เรื่องนี้หลายคนอาจจะมองว่าสิ้นเปลือง แต่ในความเป็นจริง เวลาที่เรานอนไม่หลับแสงที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมอื่น อย่าง อ่านหนังสือ เล่นเกม หรือท่องโลกโซเชียลก็เป็นเรื่องสำคัญไม่นอน ยิ่งตำแหน่งระดับแสงพอดี ไม่สูงหรือต่ำ ใกล้ตาหรือไกลตาจนเกินไปยิ่งทำให้คนใช้งานรู้สึกดียิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่คนนอนบนเตียงทุกคนรู้สึกตอบโจทย์คือ เราไม่ชอบเดินไปปิดไฟก่อนนอน แต่ชอบปิดก่อนแล้วเปิดแสงปลายเตียง หรือเวลานอนดึก ๆ แม้จะไม่หลับเราก็ไม่อยากลุกจากที่นอนไปเปิด ดังนั้นการมีหลอดไฟเหนือหัวที่สามารถควบคุมหรือเปิดใช้งานได้ใกล้มือแบบนี้ถือว่าดีสุด ๆ
2. Full Entertainment ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แทบจะเรียกได้ว่าเราไม่เคยเห็นใครลงมือทำเลยก็ได้ แต่นักออกแบบเขาจับเตียงมาฟิวชั่นกับจอโปรเจกเตอร์ที่สามารถสั่งการเพื่อใช้งานตามต้องการและพับเก็บคิดตั้งไว้บริเวณปลายเท้า เราจึงสามารถดูซีรีส์ Netflix หรือรายการอื่นที่ชอบได้ตั้งแต่ลืมตายันหลับตา แถมมันยังเป็นคุณภาพการชมภาพแบบ 4K คมชัด พร้อมลำโพงขนาด 70 นิ้วให้ได้เสียงรอบทิศทาง ดังนั้น เราจึงมีความสุขกับมันได้อย่างเต็มที่ทุกเวลา แค่มีป๊อปคอร์นกับน้ำก็นอนได้ยาว ๆ ข้ามวันข้ามคืนช่วงวันหยุดเลยทีเดียว
3. Health Bed ด้วยความที่มันเป็นเตียงอัจฉริยะ ระบบการสั่งการ รวมทั้งการประมวลผลที่ติดตั้งมาเพิ่มสมราคาจึงต้องมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เจ้า Hi-Bed จึงมีฟังก์ชันติดตามและวิเคราะห์รูปแบบการนอนของเรา พร้อมทั้งสามารถแนะนำตารางการนอนที่เหมาะสมให้เราด้วย ข้อมูลทั้งหมดนี้คือระบบ Biometric Parameters ที่ช่วยให้เราสามารถปรับแก้ไขพฤติกรรมจนนำไปสู่การนอนที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นได้ โดยการวิเคราะห์ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
- ตั้งปลุกได้ตามต้องการ
- ตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้อง
- ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในห้อง
- เสียงที่เกิดขึ้นภายในห้อง (ระดับเสียงรบกวนต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการนอน)
- น้ำหนักตัวของผู้ใช้ (อันนี้นอนแล้วอาจจะรู้สึกเหมือนนอนบนเครื่องชั่งกิโล แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์)
มองจากการใช้งานทั้งหมดนี้ เชื่อว่าถ้าตั้งอยู่ในบ้านเราคงจ่อดู Netflix หรือติดตามโซเชียลมากกว่าการนอน และไม่รู้สึกอยากนอนเพราะเตียงที่มีมันเอื้อต่อการรบกวนที่เราพอใจเสียเหลือเกิน งานนี้คงอธิบายให้เข้าใจได้ว่าเตียงนอนคุณภาพดี แต่ไม่ส่งเสริมการนอนของเราเท่าไหร่ (ส่งเสริมด้านความบันเทิงมากกว่า) นั้นเป็นอย่างไร
คุณภาพการนอนและความบันเทิงที่เลือกได้ รวมถึงไม่ทิ้งเรื่องราวด้านสุขภาพซึ่งกำลังเป็นเทรนด์สำคัญโลกแบบนี้ คงต้องบอกว่า Fibio เขากวาดครบทุกเรื่องมาไว้รวมกันได้ดีทีเดียว แต่สำหรับแง่การใช้งานของผู้บริโภค เรื่องนี้อาจจะต้องคิดหนักหน่อย เพราะราคาที่สูงเหล่านี้ เมื่อนำมาแลกกับการแยกชิ้นนำเทคโนโลยีที่มอบฟีเจอร์การใช้งานแบบนี้อาจจะไม่คุ้มกันเท่าไหร่
- จอ? ถ้าต้องการจอแบบ Wide Screen ตอบโจทย์ความบันเทิง ทุกวันนี้ Smart TV ขนาดราว 50 นิ้วหลักหมื่นก็มีเยอะมาก ขณะที่ชุดเครื่องเสียงดี ๆ ราคาหลายหลักบางชิ้นก็ยังไต่ไปไม่ถึงหลักล้าน
- เตียง? คุณภาพเตียงที่ดีมีระดับราคาให้เลือกจับจ่ายตั้งแต่หมื่นถึงแสนตามความพอใจ ต่อให้บวกชุดเครื่องนอนนุ่มหลับสบายก็ถือว่าถูกกว่าหลักล้านมาก
- อุณหภูมิห้อง สามารถติดเทอร์โมมิเตอร์ได้
- คุณภาพอากาศ ติดเครื่องกรองอากาศได้
อย่างไรก็ตาม BuilderNews คิดว่านี่ก็เป็นสีสันของการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการออกแบบที่น่าสนใจ เพราะวันหนึ่งสิ่งนี้น่าจะเข้ามาส่วนหนึ่งของกระแสการออกแบบบ้านแห่งอนาคตได้ (ถ้าราคาลดลงกว่านี้) เนื่องจากปัจจุบันคนก็อยากซื้ออะไรเพียงชิ้นเดียวแล้วได้จบครบทุกอย่าง ไม่ต้องการเสียเวลากับการค้นหาเพื่อเสี่ยงดวงแล้ว
ชาว BuilderNews ล่ะคิดเห็นอย่างไรเห็นแบบนี้แล้วอยากได้กันบ้างไหม?
อ้างอิงข้อมูลจาก