ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และสารต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อโลกของเราทั้งนั้น และเป็นเช่นนี้มายาวนานจนเกิดผลเสียมากมายกว่าที่เราจะรู้ตัวว่าควรต้องปกป้องโลกกันเพื่ออนาคตของลูกหลานเราต่อไป
รอยเท้าคาร์บอน (Carbon footprint) คืออะไร?
รอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตลอดจนวัฏจักรชีวิตในกระบวนการย่อยสลาย ซึ่งแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การก่อสร้าง กระบวนการในภาคอุตสาหกรรมหรือกสิกรรม เป็นต้น
รอยเท้าคาร์บอนเป็นการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ตัวบ่งชี้คือโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential; GWP) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามันมีส่วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกัน ดังนั้นการซื้อหรือร่วมใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดรอยเท้าคาร์บอนได้ก็ถือว่าเป็นการช่วยลดโลกร้อนอีกแรงหนึ่ง
สตูดิโอคาร์บอนต่ำจากฝีมือทีมพัฒนาในกรุงลอนดอน
กลุ่มนักศึกษาจากสถาบันสถาปัตยกรรมในกรุงลอนดอนได้ออกแบบบ้านต้นแบบ “คาร์บอนต่ำ” เพื่อทดลองติดตั้งในชนบทของอังกฤษ ภายใต้คำแนะนำของผู้นำทีมออกแบบอย่าง Paloma Gormley และ David Grandorge ทำให้ทีมประสบความสำเร็จในการสร้างสตูดิโอกรอบไม้ขนาด 30 ตารางเมตรสำหรับฟาร์มป่านอุตสาหกรรมใน Huntingdon โดยใช้งบ 10,000 ยูโร และสามารถสร้างสตูดิโอนี้ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 12 วัน
บ้านหลังนี้ถูกสร้างเพื่อใช้งานหลักเป็นสตูดิโอ แต่ก็สามารถปรับรูปแบบการใช้งานได้ เนื่องจากมันง่ายต่อการติดตั้งแม้ในพื้นที่หรือการใช้งานที่แตกต่างกันก็ตาม ซึ่งตึกนี้สร้างจากโครงสร้างไม้ซุงตั้งแต่ชั้นพื้นดิน และ Hempcrete (อิฐที่มีส่วนผสมจากใบกัญชง เพื่อลดรอยเท้าคาร์บอน) พร้อมติดตั้ง โดยภายนอกถูกสร้างด้วยแผ่นเส้นใยจากใบกัญชงซึ่งเป็นทางเลือกแทนการใช้เหล็กหรือแผ่น PVC ตามอุตสาหกรรมแบบเดิม
ไม่มีใครรู้ว่าโลกของเราบอบช้ำมามากแค่ไหน และจะอยู่ไปได้อีกนานเท่าไหร่ เพราะเราไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทันทีทันใด แต่โลกค่อย ๆ สะสมบาดแผลและเสื่อมโทรมลงทุกวันอย่างเชื่องช้า ถ้าหากเราไม่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสภาพแวดล้อมตั้งแต่ตอนนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่านี้ก็เป็นได้
อ้างอิงข้อมูลจาก