เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างในวงการก่อสร้างปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและคำนวณชิ้นงาน ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมหรือสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น ล้ำสมัย และที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ดังจะเห็นได้จาก 7 ผลงานต่อไปนี้

Untitled

Hy-Fi ผลงานของ The Living
Hy-Fi เป็นโครงสร้างที่ชนะการแข่งขัน Young Architects Program ที่จัดขึ้นโดย MoMa เป็นโครงสร้างหอคอยสูง 40 ฟุต ประกอบด้วยอิฐที่ทำมาจากก้านข้าวโพดและเห็ดซึ่งสามารถย่อยสลายได้ โดยการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการย่อส่วนวัสดุให้ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบ

2

The Programmed Wall ผลงานของ ETH Zurich
The Programmed Wall เป็นโปรเจคการพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการก่อกำแพงอิฐแทนแรงงานคน ที่สามารถวางตำแหน่งอิฐแต่ละก้อนในลักษณะที่แตกต่างกันได้ แบบไม่ต้องอาศัยการวัดและการอ้างอิงใด ๆ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ส่งผลให้ช่างก่ออิฐมีเวลาใส่ใจรายละเอียดในส่วนอื่น ๆ มากขึ้น

4

Labrys Frisae Pavilion ผลงานของ THEEVERYMANY
พาวิลเลียน ‘Labrys’ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์คำนวณโครงสร้างแบบ Self-supporting ที่สร้างจากแผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ ประกอบกันเป็นพาวิลเลียนที่มีรูปทรงซับซ้อน เต็มไปด้วยรายละเอียด ดูโดดเด่นสะดุดตา

5

Moss Voltaics ผลงานของ Institute for Advanced Architecture of Catalonia
‘Moss Voltaics’ เป็นโปรเจคการสร้างผนังอาคารสีเขียวที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้จากหญ้ามอส โดยอาศัยเทคโนโลยีสุริยะชีวภาพ หรือกระบวนการสังเคราะห์แสงที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า (Biophotovoltaic หรือ BPV) ซึ่งนับว่าเป็นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6666666

Arabesque Wall ผลงานของ Michael Hansmeyer และ Benjamin Dillenburger
Arabesque Wall เป็นกำแพงสูง 3 เมตร ขนาดใหญ่ ที่มีพื้นผิวเต็มไปด้วยรายละเอียดขนาดเล็กมากมาย สร้างขึ้นโดยใช้ algorithmic design และพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ โปรเจคนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานที่น่าทึ่ง เหนือความสามารถของมนุษย์

555

Grotto Sauna ผลงานของ Partisans
ห้องอบซาวน่าบนชายฝั่งของ Lake Huron เนื่องจากการตกแต่งภายในถูกออกแบบโดยการผสมผสานกันระหว่างการสร้างโมเดลแบบดิจิตอลและโมเดลแบบเขียนด้วยมือ รวมถึงการสเก็ตแบบและ CNC milling ในส่วนของกระบวนการออกแบบ ก็ใช้ทั้งแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อกร่วมกัน เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ในด้านงานฝีมือ

 

9

Eco-BLAC Brick ผลงานของ MIT Research Lab
‘Eco-BLAC’ เป็นอิฐทางเลือกแทนการใช้อิฐดินเผาแบบเดิม เนื่องจากกระบวนการผลิตอิฐนั้นมีผลเสียต่อหน้าดินที่ใช้เป็นพื้นที่ในการเผาอิฐ ทั้งยังใช้ความร้อนในการเผาไหม้สูง สร้างมลภาวะทางอากาศ ‘Eco-BLAC’ ผลิตจากขยะอุตสาหกรรม โดยใช้ประโยชน์จากเถ้าหนักและเทคโนโลยีอัลคาไล (alkali-activation technology) ทำให้ได้อิฐที่มีความแข็งแรงทนทานใช้พลังงานในกระบวนการผลิตน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดการฝังกลบขยะมูลฝอยและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอีกด้วย

Previous articleBack to Basic ย้อนอดีตสู่อนาคตของสถาปนิกไทย
Next articleคริสตัล ลากูนส์ ขยายความสำเร็จสู่รัฐเท็กซัส หลังการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในประเทศไทยและอินโดนีเซีย
หนึ่งฤทัย คาทุสเซฟสกี้
นักเขียนนิตยสาร Builder สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทจากคณะการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง อดีตนัก Marketing ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นนักเขียน และนักแปลอิสระ ให้กับนิตยสารและบริษัทต่าง ๆ