คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องมือไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัดส่วนของเครื่องมือมีสายต่อเครื่องมือไร้สายในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมนั้นมีมากถึงครึ่ง ๆ กันเลยทีเดียว
ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเอง เทียบกับเมื่อสิบปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายได้เติบโตขึ้นมาก สาเหตุก็เพราะเครื่องมือไร้สายให้ความสะดวกในการทำงานมากกว่า และสามารถนำไปใช้ได้เกือบทุกที่แม้จะไม่มีแหล่งจ่ายไฟ แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่แพง และกำลังน้อยกว่าเครื่องมือมีสาย
จนเมื่อมอเตอร์ไร้แปรงถ่านและแบตเตอรี่ Li-Ion เข้ามาแทนที่มอเตอร์แบบมีแปรงถ่านและแบตเตอรี่ Ni-Cd ซึ่งเปรียบเสมือนการปฏิวัติของเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายเลยทีเดียว โดยเฉพาะในด้านของกำลังที่ใกล้เคียงเครื่องมือมีสาย หรือระยะเวลาการใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากแบตเตอรี่ Li-Ion
Milwaukee ได้เริ่มตั้งเป้าเพื่อเป็นผู้นำของกลุ่มเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายมาตั้งแต่ปี 2008 เป้าหมายหลักก็คือเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายต้องสามารถนำมาใช้ทดแทนและเหนือกว่าเครื่องมือมีสาย, เครื่องมือลม หรือแม้กระทั่งเครื่องมือระบบเครื่องยนต์
โดยเริ่มพัฒนาจากส่วนที่เป็นหัวใจของเครื่องมือฯ ซึ่งประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ แบตเตอรี่ มอเตอร์ และวงจรควบคุม
ในส่วนของแบตเตอรี่ เลือกใช้เซลล์แบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานและให้ความสำคัญกับอัตราการปลดปล่อยพลังต่ออายุการใช้งาน (จำนวนครั้งในการชาร์จซ้ำ) เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ที่ให้พลังงานเต็มที่และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าอีกทั้งการคำนึงถึงสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมก่อนเวลาอันควรซึ่งก็ได้แก่การตกกระแทก, น้ำ/ความชื้น และความร้อน
เรื่องของความทนทานต่อการกระแทก ได้ออกแบบให้เสื้อของแบตเตอรี่มีความทนทานด้วยการเลือกใช้วัสดุที่แข็งแรงและเสริมยางด้านล่างเพื่อรับแรงกระแทก โดยมีเสื้อยึดเซลล์แบตเตอรี่ภายในที่สร้างมาเป็นชิ้นเดียวและเสริมยางรับแรงกระแทกระหว่างเซลล์เพื่อการปกป้องแบตเตอรี่จากการตกกระแทก
สำหรับน้ำและความชื้น ได้สร้างเสื้อแบตเตอรี่ให้มีช่องเปิดน้อยที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเข้า ซึ่งถ้าน้ำเข้าไปได้ ทั้งยังสร้างทางระบายน้ำเพื่อให้หลีกเลี่ยงส่วนสำคัญ และไหลออกที่เสื้อแบตเตอรี่ด้านล่างได้ทันที และยังทำการเคลือบวงจรภายในแบตเตอรี่ด้วยสารกันน้ำอีกขั้นตอนด้วย
ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่สามารถควบคุมได้ด้วยวงจรภายในแบตเตอรี่ ซึ่งทำงานประสานกับวงจรภายในตัวเครื่องเพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่ร้อนจนเกินไป
มอเตอร์เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนที่ Milwaukee ทุ่มพัฒนาและวิจัยจนทำให้มีมอเตอร์ 18V ที่ต่างกันถึง 10 ขนาด และออกแบบสำหรับเครื่องมือแต่ละประเภทอีกมากกว่า 60 แบบ เพราะเครื่องมือแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น บล็อกกระแทก เป็นเครื่องมือที่ต้องการแรงบิดสูง แต่สำหรับเครื่องเจียร กลับต้องการความเร็วรอบ การออกแบบมอเตอร์ของเครื่องสองชนิดนี้จึงแตกต่างกัน ถึงแม้จะมีขนาดใกล้เคียงกันก็ตาม
แน่นอนว่ามอเตอร์ไร้แปรงถ่านสามารถสร้างพลังให้กับเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายได้มากกว่ามอเตอร์แบบใช้แปรงถ่าน แต่ไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์ไร้แปรงถ่านจะเหมือนกัน
Milwaukee คัดเลือกแม่เหล็กเกรด Rare Earth Magnet และลวดทองแดงคุณภาพสูง เพื่อให้ได้มอเตอร์ไร้แปรงถ่านที่ให้กำลังมากที่สุดและขนาดเล็กที่สุด
ชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำให้เครื่อง, แบตเตอรี่ และแท่นชาร์จสามารถสื่อสารกันได้ ถูกพัฒนาขึ้นโดย Milwaukee ตั้งแต่ปี 2008 ในกลุ่มเครื่องมือ M18 หรือเครื่องมือที่ใช้แบตเตอรี่ 18V แนวคิดเรื่องการสื่อสารกันของเครื่องมือไฟฟ้าและแบตเตอรี่นั้น มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นการดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ หรือการลดความสูญเสียพลังงานในระบบจะผ่านการคำนวณและสั่งการจากชุดวงจรนี้
นอกจากนั้นชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังทำหน้าที่ปกป้องเครื่องและแบตเตอรี่จากการใช้งานเกินกำลัง โดยการตรวจสอบการทำงาน สถานะของมอเตอร์และแบตเตอรี่ตลอดเวลาที่เครื่องถูกใช้งาน ในกรณีที่พบความผิดปกติทั้งที่ตัวมอเตอร์หรือแบตเตอรี่ เครื่องจะหยุดการทำงาน ซึ่งเป็นการป้องกันของระบบ ทำให้เครื่องมือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย
FUEL คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่ครอบคลุมถึงหัวใจทั้ง 3 ส่วนของเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายของ Milwaukee ซึ่งประกอบด้วย
- มอเตอร์ไร้แปรงถ่าน (POWERSTATEtm Brushless Motor)
- แบตเตอรี่ (REDLITHIUMtm ION battery pack)
- ชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (REDLINK PLUStm)
ซึ่งสัญลักษณ์ FUEL นี้ จะมีเฉพาะเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายที่เป็นตัวที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของ Milwaukee เท่านั้น FUEL จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ผู้ใช้สามารถไว้วางใจได้ไม่ว่าในด้านประสิทธิภาพ, ระยะเวลาการใช้งาน และอายุการใช้งานที่ดีที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีของเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายในปัจจุบันจะมอบให้ได้
อย่างไรก็ตามที่อธิบายมาอาจจะไม่เห็นภาพ เท่ากับได้ไปทดลองสัมผัสและใช้งานจริง ที่บูธหมายเลข B102 ในงาน ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2563 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี