บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ประกาศเข้าร่วมหุ้นส่วนปฏิบัติการขยะพลาสติกโลก หรือ จีพีเอพี (Global Plastic Action Partnership: GPAP) จัดตั้งโดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) โดยภาคีความร่วมมือระดับโลกนี้ประกอบด้วยสมาชิกจากหลายภาคส่วน มุ่งลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่ประกาศไว้ในปี 2562 ในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลเป็นอย่างน้อย 750,000 ตันต่อปี พร้อมลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2568

นายยาโชวาดัน โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน Global Plastic Action Partnership ของสภาเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเป้าหมายที่มีร่วมกัน คือการลดขยะพลาสติก จากความพยายามหาแนวร่วมของ World Economic Forum ทำให้จีพีเอพีได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ในการผลักดันแนวทางจัดการที่ครอบคลุมทั้งระดับประเทศและระดับโลก โดยโรงงานรีไซเคิลของไอวีแอลที่ดำเนินงานทั่วโลกสามารถเติมเต็มวงจรการรีไซเคิลให้สมบูรณ์ และส่งมอบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์ PET”

“เราผลิตพลาสติก PET ที่มีลักษณะเฉพาะและสามารถรีไซเคิล PET เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม และเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกเก็บรวบรวมและรีไซเคิลมากที่สุดในโลก ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราในการส่งมอบคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่ยั่งยืน

“ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไอวีแอลได้รีไซเคิลขวด PET ไปแล้วกว่า 50,000 ล้านขวด นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจรีไซเคิลในปี 2554 และเรายังคงดำเนินการต่อ เนื่องจาก PET เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เต็มรูปแบบ โดยเราตั้งเป้าที่จะเพิ่มการรีไซเคิลให้ได้เป็น 50,000 ล้านขวดต่อปี ภายในปี 2568 เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลที่โลกต้องการ ทั้งนี้จีพีเอพี จะร่วมกันนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน และช่วยให้คนทั่วโลกเข้าใจถึงประโยชน์ของการดำเนินการรีไซเคิลแบบครบวงจร”

“การเข้าร่วม Global Plastic Action Partnership นับเป็นการแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์สด้านความยั่งยืน และเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” นาย Kristin Hughes ผู้อำนวยการจีพีเอพี และสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสภาเศรษฐกิจโลกกล่าว “การดำเนินธุรกิจทั่วโลก โมเดลธุรกิจที่มีการบูรณาการและองค์ความรู้ด้านการรีไซเคิลที่มีมากกว่าทศวรรษ แสดงถึง ความเป็นเอกลักษณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการรีไซเคิล PET แบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น”

“เราคาดหวังที่จะได้ทำงานร่วมกันและเรียนรู้จากประสบการณ์ของอินโดรามา เวนเจอร์สในด้านระบบการรวบรวมจัดเก็บที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อขับเคลื่อนโซลูชั่นที่จะช่วยปรับปรุงการเก็บรวบรวมร่วมกัน และสร้างความมั่นใจว่าพลาสติกจะไม่ได้เป็นเพียงขยะหลังการใช้งาน”

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • PET (ย่อมาจาก พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีการเก็บรวบรวมและนำมารีไซเคิลมากที่สุดในโลก
  • PET เป็นพลาสติกที่นิยมนำไปผลิตขวดเครื่องดื่มมากที่สุด โดยสามารถรีไซเคิลได้ 100%
  • อินโดรามา เวนเจอร์ส มีโรงงานรีไซเคิลในประเทศแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปร์แลนด์ ประเทศไทย และกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ในประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2564
  • ในปี 2563 อินโดรามา เวนเจอร์ส ประกาศความมุ่งมั่นในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิล PET เป็น 750,000 ตัน ภายในปี 2568 พร้อมลงทุนถึง 5 พันล้านเหรีญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

………………

เกี่ยวกับ Global Plastic Action Partnership

Global Plastic Action Partnership เป็นโครงการภาคีความร่วมมือ จัดตั้งโดยสภาเศรษฐกิจโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อขจัดมลพิษจากขยะพลาสติก ประกอบด้วยสมาชิกจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้นำภาคประชาสังคม เพื่อเปลี่ยนคำมั่นสัญญาในการจัดการขยะพลาสติกและมลพิษให้เป็นการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศ โดยจีพีเอพีได้จัดตั้งความร่วมมือระดับชาติกับรัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย กานาและเวียดนาม

เกี่ยวกับ อินโดรามา เวนเจอร์ส

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Bloomberg ticker IVL.TB) เป็นหนึ่งในธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการในการนำวัสดุ PET และโพลิเอสเตอร์ที่ใช้งานแล้ว กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกในอนาคต ในฐานะผู้ผลิต PET วัสดุซึ่งสามารถรีไซเคิลได้ 100% รายใหญ่ที่สุดในโลก อินโดรามา เวนเจอร์ส ตั้งใจพัฒนาทุกแง่มุมให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลลัพทธ์ที่ชัดเจน ลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นสมาชิกดัชนีดาวโจนส์ (DJSI) ) และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยและมีโรงงานทั่วโลก อันได้แก่

ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี เดนมาร์ก ลิทัวเนีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ลักเซมเบิร์ก สเปน ตุรกี ไนจีเรีย กานา โปรตุเกส อิสราเอล อียิปต์ รัสเซีย สโลวาเกีย ออสเตรีย บัลกาเรีย
อเมริกา: สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แคนาดา บราซิล
เอเชีย: ไทย อินโดนีเซีย จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ ออสเตรเลีย

 

Previous articleปิโตรเลียม-พลังงาน-ชาวเหมืองได้เฮ คปก.ผ่อนคลายค่าเช่าที่ดินเขตปฏิรูป
Next articleหัวเวยแบตเตอรี่ ลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินกับ WHA เร่งขยายฐานการผลิตสอดรับนโยบาย “One Belt One Road”
Ton Suwat
คอลัมนิสต์หนุ่ม ผู้หลงไหลในสถาปัตยกรรมไทยอีสาน และความง่ายงามตามวิถีชนบท