จากประสบการณ์กว่า 12 ปี ในการคร่ำหวอดในบริการ ‘รับออกแบบสถาปัตยกรรม’ (Architectural Design Service) กับอาคารทุกประเภท ‘การรับออกแบบอาคารเรียน’ (Educational Facility Design) เป็นสิ่งที่ทาง ‘ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์’ (Pattana Suwansumrit, Ph.D.) ทำมาตลอด ผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา (สาธุประดิษฐ์) โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุราษฎร์ธานี (กาญจนดิษฐ์, สุราษฎร์ธานี) โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรปราการ (แพรกษา, สมุทรปราการ) และโรงเรียนวินิตศึกษา แห่งที่ 2 (โพธิ์เก้าต้น, ลพบุรี) และอีกหลายโครงการ
โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา ที่ทาง ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ คือ กลุ่มอาคารใหม่ ค.ส.ล. 7 ชั้น จำนวน 2 หลัง Dominic 1 และ Dominic 2 ที่ทำการรื้ออาคารเรียนเก่าออก จัดวางกลุ่ม อาคารเรียน 7 ชั้น เข้าไปใหม่ เปิดพื้นที่เป็นพลาซ่าด้านหน้าอาคาร ตาม พรบ.ควบคุมอาคารต้องมีพื้นที่ว่างด้านหน้าอาคาร 12 เมตร มีอาคารประกอบประเภทหลังคาโครงเหล็กคลุมเพื่อกันร้อนขณะเด็กเข้าแถว หรือทำกิจกรรมนันทนาการ ส่วนบริหารอยู่ที่อาคาร Dominic 1 ทื่อยู่ด้านใน อยู่อาคารเรียนทั้งสองอาคารรองรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำกิจกรรมใต้อาคาร บริเวณด้านหลัง รูปแบบห้องเรียนขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกห้องเพื่อสะดวกในการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน ในแต่ละชั้นมีห้องเรียนรวมประเภทต่างๆ อาทิ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องแลปทางวิทยาศาสตร์ ห้องแลปทางสังคมศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องกีฬา และอื่นๆ ตามชั้นต่างๆ ครบครัน เอกลักษณ์การออกแบบที่เด่นชัดคือโดมสีแดงของอาคาร Dominic 1 และหลังคาสีแดงของอาคาร Dominic 2 เพื่อความสัมพันธ์กันของบริบทกลุ่มอาคาร อาคารออกแบบ Façade ให้มี Shading Device สไตล์คลาสสิค แบบยุโรป คลุมรอบตัวอาคารเพื่อให้เกิดร่มเงา มีความต่อเนื่องทางด้าน Urban Design เป็นภาษาเดียวกันทั้ง 2 อาคาร ตัวอาคารเรียนมีรั้วกันตกแต่ละชั้นที่มีความปลอดภัยสูง
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุราษฎร์ธานี ที่ทาง ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ คือ กลุ่มอาคารทั้งหมดของผังโครงการ ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียน ค.ส.ล. 6 ชั้น 1 หลัง บ้านพักครู ค.ส.ล. 4 ชั้น 1 หลัง หอประชุม ค.ส.ล. 3 ชั้น 1 หลัง จอดรถยนต์ โครงเหล็กชั้นเดียว 2 หลัง ห้องน้ำ ค.ส.ล. ชั้นเดียว 3 หลัง ซุ้มประตู 1 ซุ้ม ลานเอนกประสงค์ โครงเหล็กชั้นเดียว 2 หลัง โรงอาหาร โครงเหล็กชั้นเดียว 1 หลัง โรงครัว ค.ส.ล. 2 ชั้น 1 หลัง ลานกีฬา ลานดนตรี โครงเหล็กชั้นเดียว 1 หลัง การออกแบบผังโครงการในพื้นที่แห่งนี้อยู่นอกตัวเมืองสุราษฎร์ธานี จำต้องมีบ้านพักครู เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางอาจารย์ เป็นเหมือน Satellite Town ขนาดย่อมๆ ส่วนองค์ประกอบหลักของผังโครงการคืออาคารเรียน หอประชุม โรงอาหาร โรงครัว อาคารประกอบประกอบเพื่อการกีฬาในร่ม สระว่ายน้ำ และดนตรี รวมทั้งสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานมีครบถ้วน เอกลักษณ์การออกแบบที่เด่นชัดคือโดมสีแดง และออกแบบ Façade ให้มี Shading Device สไตล์คลาสสิค แบบยุโรป ตัวอาคารเรียนมีรั้วกันตกแต่ละชั้นที่มีความปลอดภัยสูง
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรปราการ ที่ทาง ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ คือ กลุ่มอาคารทั้งหมดของผังโครงการ ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียน ค.ส.ล. 5 ชั้น 1 หลัง หอประชุม ค.ส.ล. 3 ชั้น 1 หลัง ซุ้มนั่งเล่น โครงเหล็ก 1 ชั้น 1 หลัง ลานกีฬา โครงเหล็กชั้นเดียว ขนาด 16.00 x 24.00 เมตร ลานกีฬา โครงเหล็กชั้นเดียว ขนาด 16.00 x 36.00 เมตร ลานกีฬา โครงเหล็กชั้นเดียว ขนาด 16.00 x 40.00 เมตร ลานกีฬาโครงเหล็กชั้นเดียว ขนาด 20.00 x 20.00 เมตร สระว่ายน้ำ โครงเหล็กชั้นเดียว ขนาด 20.00 x 20.00 เมตร โรงครัว/ห้องครัว โครงเหล็ก 2 ชั้น ซุ้มประตูโรงเรียน โครงเหล็กชั้นเดียว โรงอาหาร โครงเหล็กชั้นเดียว ห้องน้ำ ค.ส.ล. ชั้นเดียว ป้อมยาม ค.ส.ล. ชั้นเดียว และรั่ว ค.ส.ล. 1 รั้ว การออกแบบผังโครงการส่วนองค์ประกอบหลักของผังโครงการคืออาคารเรียน หอประชุม โรงอาหาร โรงครัว อาคารประกอบประกอบเพื่อ สระว่ายน้ำ และการกีฬาในร่ม ด้านหน้ายังมีพื้นที่พร้อมขยายในเฟสต่อไป เอกลักษณ์การออกแบบที่เด่นชัดคือโดมสีแดง และออกแบบ Façade ให้มี Shading Device สไตล์คลาสสิค แบบยุโรป ตัวอาคารเรียนมีรั้วกันตกแต่ละชั้นที่มีความปลอดภัยสูง
โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ แห่งที่ 2 ที่ทาง ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบคือ ออกแบบกลุ่มอาคารเรียนหลักของโรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ ค.ส.ล. 5 ชั้น 3 หลัง ที่แบ่งเป็นอาคารละ 3,333.00 ตารางเมตร ตึกซ้าย ตึกขวา และตึกกลาง ในผังรูปตัว H แบ่งตามเจ้าภาพ 3 เจ้าภาพ รวมเป็น 9,999.00 ตารางเมตร เพื่อเลี่ยงการขออนุญาตเป็นอาคารใหญ่พิเศษ รูปแบบห้องเรียนเป็นห้องขนาดมาตรฐาน และสามารถเชื่อมต่อห้องเรียนได้ในบางห้องที่ทำเป็นบานเฟี้ยมเชื่อมห้องเอาไว้ ตึกซ้าย และตึกขวา มีห้องรับรองบริเวณด้านหน้าอาคารด้านล่าง ต่อเนื่องเป็นห้องพักครูด้านบน ตึกกลางมีซุ้มทางเข้าที่สง่างาม รูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับการออกแบบสไตล์ไทยประเพณี ผังตัวอาคารตัว H โอบล้อมคอร์ทกลางทำให้เกิดพลาซ่าใหญ่ด้านหน้าอาคารที่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่ง ระเบียงมีที่นั่งพักสำหรับเด็กตลอดทางยาว
ในความหมายของ ‘NEW LEARNING OF NEW NORMAL’ คำจำกัดความนี้ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ ในบทบาทอาจารย์สอนทางด้านสถาปัตยกรรม ที่ทาง ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ รับผิดชอบสอนประจำอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเป็นอาจารย์พิเศษที่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบคู่ไปกับการทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในเทอมที่ผ่านมาให้ความเห็นว่าการสอนในยุค โควิด-19 จำต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างมากเป็นการสอน Online ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประชุมในภาควิชาก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการทำข้อสอบ และการวัดผลก็ปรับเปลี่ยนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ในสอน และการวัดผล แบบ Online นี้ นักศึกษาต้องมีระเบียบในตัวเองอย่างมากในการเรียน และการสอบ เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลการเข้าเรียนได้ดีทั้งการเช็คชื่อ และภาพตัวนักเรียนที่มีการจัดเก็บในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีข้อเสียคือนักศึกษาอาจ Online ด้วยภาพแทนตัว แล้วหายตัวไปขณะทำการเรียน จากการสอบนักศึกษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลังจากการเรียนด้วยระบบ Online ผลของการสอบทำให้ทราบว่าแม้นักศึกษาจะสามารถย้อนดู Lecture และสามารถ Download สไลด์ ที่ทำการสอนได้ ผลสอบของการทำข้อสอบได้ไม่ตรงเป้านัก อาจเป็นเพราะนักศึกษาอาจหายตัวไปในช่วงระหว่างการสอน ส่วนการวัดผลก็สามารถจับผิดนักศึกษาที่ลอกกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้นแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะยังคงอยู่ การเรียนการสอน และการวัดผลในระบบ Online ก็สามารถจัดได้แบบไม่มีปัญหา แต่จะยังรอประเมินว่านักศึกษาที่จบออกไปจะมีความสามารถเทียบเท่ากับระบบ Offline หรือไม่ การจัดการเรียนการสอนแบบ Online ข้อแนะนำ อาจารย์ และนักเรียนควรจัดแสงแบบสตูดิโอ มี Key Light, Fill Light และ Back Light เพื่อให้อาจารย์หน้าไม่ดำในขณะทำการสอน และนักเรียนหน้าสว่างขณะเรียนด้วย ดังนั้นรูปแบบอาคารเรียนในยุค NEW NORMAL ก็เป็นไปได้ที่อาจารย์จะทำการสอนในห้องพักที่บ้านของตน และนักเรียนจะเรียนที่ห้องพักที่บ้านของตน การจัดพื้นที่ใช้สอยในห้องพักก็ควรมีพื้นที่ส่วนกลางไว้สำหรับนั่งเรียน และนั่งสอนแบบสวยงาม และแสงสวย สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายมุม Interior Design ในยุค New Normal มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างยิ่ง สำหรับอาคารเรียนก็มีการป้องกันโดยการสแกนอุณหภูมิก่อนเข้าสู่ภายในอาคาร และทุกคนที่ใช้อาคารต้องใส่หน้ากากอนามัย ในเทอมใหม่หลังจากพฤศจิกายน 2563 นี้การเรียนการสอนแบบ Online คงถูกปรับเปลี่ยนกลับไปสู่การสอนแบบ Offline ถ้าไม่มีการระบาดรอบ 2 ตามนโยบายของสถานศึกษาบางแห่งอาจยังมีการสอน Online อยู่ แต่เชื่อไดว่าหากเชื้อไวรัสนี้ยังอยู่ การเรียนการสอนแบบ Online เต็มระบบแบบช่วงระบาดรอบแรกยังคงมีโอกาสได้สัมผัสอีกเป็นแน่แท้ ซึ่งไอเดียร์เหล่านี้เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบของอาคารเรียนในยุคโควิด-19 และหลังโควิด-19 ได้ ซึ่งคนยุค New Normal จะสามารถเรียนและสอนจากที่ไหนก็ได้ผ่านระบบ Online
หากท่านเป็นเจ้าของที่ดินมีความประสงค์ในการลงทุนพัฒนาที่ดินประเภทกลุ่มอาคารเรียน ทั้งโรงเรียนนานาชาติ หรือโรงเรียนทั่วไป รวมทั้งโรงเรียนอนุบาล ในที่ดินสามารถพบปะกับ ดร.พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ วุฒิสถาปนิก ได้ที่บูธ บริษัท พัฒน โปรเฟสชันแนล จำกัด ที่บูธ DH19 แถว 44 ตัดแถว Q ในงาน งาน ACT FORUM ’20 Design + Built ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ที่ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือปรึกษาโดยตรงได้ที่ โทร 086 610 5282 (ภายในประเทศ) หรือ +66 86 610 5282 (จากต่างประเทศ) และ [email protected]