สถาปัตยกรรมหลากหลายแห่ง ไม่สามารถแยกออกจากวัฒนธรรมและประเพณี รวมไปถึงบริบทโดยรอบได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นทำให้เกิดเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแห่งนั้นที่สะท้อนกลิ่นอายของสภาพแวดล้อมออกมา โดยแหล่งที่สะท้อนถึงมรดกทางวัฒนธรรมได้อย่างดีอีกแห่งหนึ่งนั้น ได้แก่ “พิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln” ในฐานะพื้นที่ที่ดึงอดีตให้มาตั้งอยู่ท่ามกลางปัจจุบันได้อย่างลงตัว
สตูดิโอ Zhu Pei ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln ในพื้นที่ประวัติศาสตร์จิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เมืองหลวงเครื่องปั้นดินเผา” ของโลก ภูมิภาคนี้ซึ่งเคยผลิตและส่งออกเครื่องปั้นดินเผามานานกว่า 1,700 ปี ตอนนี้เป็นที่รู้จักด้วยลักษณะเฉพาะด้วยรูปแบบของเตาเผาโบราณที่ปรักหักพัง
โดยพิพิธภัณฑ์ใหม่แห่งนี้ออกแบบครั้งแรกเมื่อปี 2016 ให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของบริบทโดยรอบ มันประกอบด้วยห้องใต้ดินที่สร้างจากอิฐมากกว่าครึ่งโหลที่ตั้งอยู่บนเตาเผาแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผามานานหลายศตวรรษ ห้องใต้ดินแต่ละห้องมีขนาดความโค้งและความยาวที่แตกต่างกันถูกรวมเข้ากับซากปรักหักพังที่มีอยู่จำนวนมากซึ่งบางส่วนถูกค้นพบในระหว่างการก่อสร้างโครงการนี้
ท่ามกลางซากปรักหักพังของหลักฐานทางราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง สตูดิโอได้สร้างพิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln ตามแนวถนนของเมืองโบราณจิ่งเต๋อเจิ้น โปรเจกต์นี้ทำให้ผู้เยี่ยมชมจากอุทยาน Imperial Kiln ที่มีป่าเป็นหลังคาสีเขียวซึ่งไหลลงสู่ห้องโถงเปิดของพิพิธภัณฑ์
ซึ่งห้องใต้ดินจำนวนมากเหล่านั้นจำลองซากปรักหักพังตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับถนน ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับเข้ากับพื้นที่ที่ซับซ้อนได้อย่างลงตัว ในขณะเดียวกันก็ประสานไปกับการตกแต่งภายใน โดย “การแทรก” พิพิธภัณฑ์นี้สู่ระดับใต้ถนนทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะบนพื้นถนนได้ไปในตัว
การออกแบบพิพิธภัณฑ์ Imperial Kiln ใช้วิธีการที่ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีการออกแบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมในท้องถิ่น รูปทรงโค้งถูกสร้างขึ้นโดยการเทคอนกรีตระหว่างผนังอิฐและก่ออิฐสองชั้น ทีมผู้ออกแบบใช้อิฐรีไซเคิลซึ่งเป็นวิธีการของภูมิภาคและเป็นลักษณะที่สำคัญของโครงสร้างของจิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งการที่ต้องใช้อิฐรีไซเคิลนั้นเป็นผลมาจากความจำเป็นที่ต้องรื้อถอนเตาเผาอิฐแบบร่วมสมัยทุก ๆ สองปีหรือสามปีเพื่อรักษาประสิทธิภาพความร้อนของเตาเผานั่นเอง
พิพิธภัณฑ์นี้มีหลังคาสกายไลท์ที่มีแรงบันดาลใจมาจากรูควันของเตาเผาอิฐโบราณเพื่อเปิดรับแสงจากธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคาร โดยสกายไลท์ทรงกระบอกกลวงจะอยู่ด้านบนของห้องนิรภัยแต่ละห้องเพื่อให้แสงธรรมชาติในเวลากลางวันเล็ดลอดเข้ามา และสร้างแสงจากหลอดไฟในเวลากลางคืน
สถานที่ทุกแห่งล้วนมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ น่าค้นหา ซึ่งสถาปัตยกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นที่สะท้อนบางสิ่งบางอย่างของพื้นที่ออกมา ดังเช่นพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผานี้ที่ส่งเสริมพื้นที่แห่ง “เมืองหลวงเครื่องปั้นดินเผา” ได้อย่างงดงาม
อ้างอิงข้อมูลจาก