เกาะฮอมุซแห่งประเทศอิหร่านถือเป็นท่าเศรษฐกิจที่สำคัญมาเนิ่นนาน ทว่าปัญหาภายในแล้ว น้อยคนนักที่จะล่วงรู้ว่าต้องการการแก้ไขปัญหาอีกมากมาย ทั้งนี้ เราจะพาทุกคนไปชมการออกแบบ “Majara” สถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ดำรงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นในฐานะสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย
พื้นที่พักอาศัยเชิงวัฒนธรรมทรงโดมอเนกประสงค์หลากสีได้รับการออกแบบโดย ZAV Architects เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเกาะฮอมุซของอิหร่าน “ฮอมุซเป็นท่าเรือประวัติศาสตร์ที่เคยรุ่งโรจน์ในช่องแคบฮอมุซทางยุทธศาสตร์ในอ่าวเปอร์เซียซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอิหร่าน โดยท่าเรือนี้มีเพื่อควบคุมการขนส่งปิโตรเลียมจากตะวันออกกลาง” สถาปนิกอธิบาย “เกาะนี้มีภูมิทัศน์ที่มีสีสันโดษเด่น แต่แปลกที่ชาวท้องถิ่นของเกาะที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยว เป็นเกาะยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ซึ่งผิดกฎหมายโดยการใช้เรือของพวกเขาเอง”
“การที่มีพื้นที่พักอาศัยทรงโดมอยู่ในฮอมุซคือการพัฒนาสมัยใหม่โดย ZAV Architects ที่ต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้สู่ชุมชนนี้ โดยใช้โปรเจกต์ทางวัฒนธรรมที่มีมาก่อนหน้า นำไปสู่การพัฒนาขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นอาคารอเนกประสงค์นามว่า “Majara” ที่ช่วยเชื่อมโยงชีวิตของผู้คนท้องถิ่นและผู้เยี่ยมชมอยู่ด้วยกันทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ” สถาปนิกกล่าวต่อ “ในประเทศที่รัฐพยายามขจัดปัญหาด้านความขัดแย้งทางการเมืองภายนอกเขตแดน โปรเจกต์เชิงสถาปัตยกรรมทุกชิ้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอสำหรับทางเลือกของรัฐบาลภายใน ซึ่งเราจะต้องตอบคำถามง่าย ๆ ให้ได้ว่าข้อจำกัดของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้คืออะไรและมันจะช่วยเสนอทางเลือกเชิงการเมืองให้แก่ชีวิตทางสังคมได้อย่างไร และมันจะบรรลุเป้าหมายในฐานะองค์กรทางสังคมได้อย่างไร”
ZAV อธิบายต่อว่าโปรเจกต์นี้คือกระบวนการต่อเนื่องที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความไว้ใจมากกว่าเป็นวัตถุเชิงสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว โดยโครงการนี้ประกอบด้วยโดมขนาดเล็กจำนวนมากที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิค “Superadobe” ที่พัฒนาจากสถาปนิกชาวอิหร่านนามว่า Nader Khalili โดยขนาดที่เล็กของโดมจะเข้าได้ดีกับความสามารถของช่างฝีมือท้องถิ่นและแรงงานไร้ฝีมือ ทีมออกแบบกล่าวว่า “วันนี้พวกเขาได้รับการฝึกฝนให้เป็นช่างก่ออิฐระดับปรมาจารย์ราวกับว่าเป็น Nader Khalili คูณด้วยความสามารถแบบเลขชี้กำลัง”
ธรรมชาติของสีสันในโปรเจกต์แสดงถึงภูมิประเทศของเกาะฮอมุซ “ในโปรเจกต์นี้ พรมทอด้วยนอตเม็ดเล็กที่ได้รับแรงบันดาลใจจากส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่ตกแต่งภูมิทัศน์ของเกาะ” ZAV อธิบายต่อ “กระสอบทรายที่สร้างเขตแดน (Aka Domes) ถูกเติมเต็มด้วยทรายที่มาจากการขุดลอกท่าเรือ ราวกับว่าโลกได้บวมเป่งออกมาเพื่อสร้างที่พักอาศัย”
โดมนี้สามารถอำนวยความสะดวกด้านการอยู่อาศัยได้หลากหลาย เนื่องจากว่าหน้าที่หลักของมันคือมีไว้สำหรับเป็นที่พักอาศัย ในขณะที่โดมอื่น ๆ ประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับชุมชนและมีพื้นที่สำหรับซักผ้าหรือรับประทานอาหารในคาเฟ่ภายในโดม นอกจากนี้ยังมีห้องที่สร้างเพื่อเก็บงานหัตถกรรม เป็นห้องสวดมนต์ หรือแม้กระทั่งเป็นห้องประชาสัมพันธ์สำหรับให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว
จากความคิดเห็นของสถาปนิก การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีความหมายนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีการหลัก 4 อย่าง ได้แก่ 1.สร้างฐานเศรษฐกิจเพื่อยังผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า 2. จัดสรรรายได้ให้แก่ค่าแรงงานท้องถิ่นมากกว่านำเข้าวัสดุราคาแพง (และนี่ยังเป็นประโยชน์แก่ประชากรพื้นเมืองด้วยการเสริมสร้างให้พวกเขาพัฒนาทักษะด้านการก่อสร้างอีกด้วย) 3. ภูมิทัศน์โดยรอบที่ปรับเปลี่ยนได้และรองรับต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตและความต้องการที่คาดเดาไม่ได้ เพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าและเกาะ และ 4. ใช้แหล่งวัสดุและผู้คนจากอิหร่านเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างและการขนส่ง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม GDP เพื่อผลประโยชน์ของทั้งประเทศต่อไป
“สถาปัตยกรรมมีความสามารถที่จะเป็นสื่อกลางในระดับกลางที่ทำให้ผลประโยชน์จากหลากหลายฝ่ายมาบรรจบกัน จากรัฐและนักลงทุนไปสู่ผู้คนจากหลากหลายกลุ่มและฐานะทางสังคม” ทีมนักออกแบบสรุป “Majara สามารถทำให้เกิดสิ่งดังกล่าวได้ด้วยการนำเจ้าของพื้นที่จากท่าเรือละแวกใกล้เคียงอย่าง Bannder Abbas ผู้ซึ่งดูแลที่ดินในฮอมุซ นักลงทุนจากเมืองหลวงอย่างเตหะราน และชาวท้องถิ่นในฮอมุซเพื่อเป็นพาร์ทเนอร์ในโปรเจกต์นี้”
จะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมและสภาพสังคมไม่สามารถแยกออกจากกันได้ถาวร มันต่างเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน และทำให้ทั้งสองอย่างนี้ต่างมันความสำคัญไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลย โดยสถาปนิกเองก็เป็นหนึ่งในผู้สร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดความร่วมมือนี้ขึ้นจากหลากหลายภาคส่วนที่ร่วมพัฒนาความเป็นอยู่ของสังคมต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก